Tag Archives: Zakat

สินทรัพย์ที่ต้องนำมาคำนวณซะกาต(Zakat assets) ตอนที่ 1 เงินฝาก ธนาคาร สถาบันการเงิน สหกรณ์

สินทรัพย์ที่ต้องนำมาคำนวณซะกาต(Zakat assets) ตอนที่ 1 เงินฝาก ธนาคาร สถาบันการเงิน สหกรณ์ เงินฝากสถาบันการเงินต่างๆ เช่น ธนาคาร สหกรณ์ หรือสถาบันการเงินอื่นๆ หุก่มเหมือนกับทองคำและโลหะเงิน หากถึงพิกัดทองหรือเงิน ถือว่าต้องจ่ายซะกาตจำนวน 2.5 % เมื่อครบรอบปีปฏิทินอิสลาม เงินฝากที่ต้องนำมาคำนวณ ได้แก่ เงินฝากทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นบัญชรการออม บัญชีการลงทุนหรือบัญชีเงินเดือน คือ เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากประเภทลงทุน ฯลฯ ทั้งนี้หากฝากเงินกับสถาบันการเงินทั่วไป ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินอิสลาม ซึ่งได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเงินฝาก จะต้องไม่นำดอกเบี้ยมาคำนวณซะกาต เนื่องจากเป็นเงินบาป หรือรายได้ที่ฮารอมนั้นเอง วิธีการคำนวณ ซะกาต เงินฝาก  เปิดสมุดบัญชีธนาคาร โดยพิจารณาจากยอดเงินคงเหลือ (Balance) ตลอดปีที่ผ่านมาโดยไม่ต้องสนใจยอดการฝากหรือถอน ให้นำยอดคงเหลือที่ต่ำที่สุดในรอบปี ไปคำนวณซะกาต เนื่องจากเป็นจำนวนที่แสดงถึงความมั่งคั่งของทรัพย์สินประเภทเงินฝาก (Wealth) ในรอบปีที่ผ่านมา จากตัวอย่างข้างต้นยอดเงินฝากในรอบปีที่จะนำไปคำนวณซะกาต เท่ากับ 23,000บาท   หากมีเงินฝากอยู่หลายบัญชี ให้ทำการรวมยอดในแต่ละเดือน ให้พิจารณาจากยอดเงินคงเหลือ (Balance) ตลอดปีที่ผ่านมาโดยไม่ต้องสนใจยอดการฝากหรือถอน ให้นำยอดคงเหลือที่ต่ำที่สุดในรอบปี ไปคำนวณซะกาต เนื่องจากเป็นจำนวนที่แสดงถึงความมั่งคั่งของทรัพย์สินประเภทเงินฝาก (Wealth)

Read more

การคำนวณซะกาตจากความมั่งคั่งหรือร่ำรวยทางทรัพย์สิน(Zakat on Wealth)

  การคำนวณซะกาตจากความมั่งคั่งหรือร่ำรวยทางทรัพย์สิน(Zakat on Wealth)   ในซูเราะห์อัตเตาบะฮฺ อัลลอฮฺได้ทรงตรัสว่า: (โอ้มูฮำหมัด) เจ้าจงเอาจากทรัพย์สินของพวกเขาเป็นทานซะกาต ซึ่งจะทำให้พวกเขาสะอาด และจะทำให้พวกเขาบริสุทธิ์อีกด้วย (ซูเราะห์อัตเตาบะฮฺ 103) มีรายงานจากท่านนบี ว่าท่านนบีได้ส่งเศาะฮาบะฮฺไปยังหัวเมืองต่างๆเพื่อทำหน้าที่จัดเก็บและรวบรวมซะกาต ส่วนหนึ่งจากรายงานดังกล่าวคือ รายงานของท่านอิบนุอับบาส ได้รายงานว่าท่านนบีได้ส่งท่าน มุอ๊าซ อิบนุ ญะบัล ไปยังแค้วนเยเมน และท่านได้สั่งเสียมุอ๊าซไว้ตอนหนึ่งว่า: ความว่า: จงบอกพวกเขาว่าอัลลอฮฺได้ทรงกำหนดซะกาตเหนือพวกเขา โดยเก็บจากคนร่ำรวยของพวกเขา และจ่ายคืนให้แก่คนยากจนของพวกเขา (บุคอรีย์) เนื่องในปัจจุบันนั้นมีธุรกรรมและการลงทุนทางการเงิน มีชนิดและความซับซ้อนมากกว่าในสมัยของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) อันได้แก่ มีระบบธนาคาร มีการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ มีการลงทุนในกองทุน มีการลงทุนในศุกูก เป็นต้น ดังนั้นการคำนวณซะกาตนั้นจะต้องเป็นวิธีที่เหมาะสม ถูกต้อง และสอดคล้องกับธุรกรรมทางการเงินที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และจึงไม่ใช่ข้ออ้างของคนที่มีเงินทองมากเกินพิกัดขั้นต่ำ (นิศอบ)ที่นำเงินไปลงทุนแล้วไม่ยอมจ่ายซะกาต โดยอ้างว่าการจ่ายซะกาตเฉพาะเงินทองเท่านั้น เพราะความมั่งคั่งทางทรัพย์สิน (Wealth) ของบุคคล นั้นไม่ได้ลดลง เพียงแต่เปลี่ยนชนิดของสินทรัพย์เท่านั้น แต่ยังคงดำรงการเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนหรือสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงอยู่นั้นเอง ในทางตรงกันข้าม หนี้สินในปัจจุบันก็มีรูปแบบที่ซับซ้อน ขึ้นเช่นเดียวกัน และหนี้สินระยะสั้นและหนี้สินบางประเภท ก็มีผลทำให้ ความมั่งคั่งทางทรัพย์สิน(Wealth) ของบุคคลลดลงในรอบปีนั้นเช่นกัน ดังนั้นการคำนวณซะกาตจากความมั่งคั่งทางทรัพย์สิน(Zakat on Wealth) จึงเป็นรูปแบบที่เหมาะสมในการคำนวณซะกาตให้ถูกต้อง

Read more

นิศอบพิกัดทองคำและโลหะเงินในการจ่ายซะกาต

นิศอบพิกัดทองคำและโลหะเงินในการจ่ายซะกาต   จากคำสั่งของท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า “เมื่อท่านครอบครอง (โลหะเงิน) จำนวน 200 ดิรฺฮัม และครบรอบปี ในจำนวน ( โลหะเงิน ) นั้น จะต้องจ่าย (ซะกาต) 5 ดิรฺฮัม, และไม่ต้องจ่ายสิ่งใด (หมายถึงไม่ต้องจ่ายซะกาตทองคำ) จนกว่าท่านจะครอบครองทองคำจำนวน 20 ดีนารฺ ซึ่งหากท่านครอบครองทองคำ 20 ดีนารฺ พร้อมกับครบรอบปี เช่นนี้จะต้องจ่าย (ซะกาต) ครึ่งดีนารฺ และหากมีจำนวนมากกว่านั้นก็ให้คำนวณตามจำนวน (ที่เพิ่ม) นั้น” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอบูดาวูด เลขที่ 1575 หะดิษเศาะเฮียะฮฺ) จากหะดิษข้างต้นจะเห็นได้ว่ามุสลิมที่มีทองคำหรือโลหะเงิน ครอบตามจำนวนนั้นจะต้องออกซะกาตแก่บุคคล 8 จำพวกที่ศาสนากำหนดไว้ (5/200 หรือ 0.5/20) เท่ากับ 2.5 % เมื่อถือครองครบรอบปีปฏิทินอิสลาม ต้องครบนิศอบหรือพิกัดขั้นต่ำ ดังนี้ -พิกัดของทองคำ(Gold) ที่ต้องจ่ายซะกาตเมื่อครบจำนวน 20 ดีนารฺ หรือเท่ากับทองคำหนักประมาณ 85 กรัม หรือเท่ากับทองคำ

Read more

การทำให้รายได้บริสุทธิ์ตามหลักศาสนาอิสลาม (Islamic Income Purification)

การทำให้รายได้บริสุทธิ์ตามหลักศาสนาอิสลาม (Islamic Income Purification) การทำให้รายได้หรือทรัพย์สินของมุสลิมเรานั้น สะอาดหรือบริสุทธิ์(Income Purification) ตามหลักศาสนาอิสลามนั้น แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ การจ่ายซากาต (Zakat) และการบริจาคเงินที่ฮารอม (HARAM) ที่ไม่สามารถนำมาใช้จ่ายได้ซึ่งเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนที่จะต้องรักษารายได้หรือทรัพย์สินของเราให้สะอาดบริสุทธิ์เพื่อจะได้เกิด   บารอกัตหรือสิริมงคลกับการใช้ชีวิตและการทำอิบาดะห์นั้นจะได้รับการตอบรับและตอบแทนจากพระองค์อัลลอฮฺ หากรายได้หรือทรัพย์สินนั้นไม่บริสุทธิ์ มีรายได้หรือเงินที่ได้จากธุรกรรมที่ผิดหลักศาสนาหรือไม่ได้มีการจ่ายซะกาตแก่ผู้มีมีสิทธิได้รับซะกาต และหากนำเงินหรือทรัพย์สินที่สะอาดหรือบริสุทธิ์ไม่มาใช้อุปโภคบริโภค อันเป็นเหตุทำให้การทำอิบาดะห์ต่างๆไม่ถูกตอบรับจากพระผู้เป็นเจ้าดังพระมหาคำภีร์อัลกรุอ่าน ความว่า  “และ (นบีมุฮัมมัด) จะอนุมัติให้แก่พวกเขา (ประชาชาติ) สิ่งที่ดีๆทั้งหลาย และจะให้เป็นที่ต้องห้ามแก่พวกเขาซึ่งสิ่งที่เลวทั้งหลาย”อัลอะอฺรอฟ อายะห์ 157 การจ่ายซะกาตให้กับบุคคล 8 จำพวก  ซะกาต แปลว่า การทำให้สะอาดบริสุทธิ์ (Purification) และการเจริญเติบโตเรื่องซะกาตนั้นเป็นเรื่องเดียวในรุก่น 5 ประการ (หลักบัญญัติ) ของอิสลาม ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือการเงิน ดังนั้นการจ่ายซะกาต จะทำให้ทรัพย์สินของมุสลิมนั้นมีความบริสุทธิ์(Purification) เพราะซะกาตเป็นสิทธิ์ของบุคคลที่ถูกกำหนดให้มีสิทธิรับซะกาตได้เท่านั้น ไม่ได้เป็นสิทธิของเจ้าของทรัพย์ หากไม่มีการจ่ายซะกาตตามที่กำหนดถือว่าผู้ที่มีหน้าที่จ่ายซะกาตนั้นได้ยักยอกทรัพย์สินของอัลลอฮฺและของผู้ที่มีสิทธิ์รับซะกาตทั้งหมด ซึ่งคัมภีร์อัลกุรอานได้กำหนดไว้ซะกาตนั้นถือเป็นภาระหน้าที่สำหรับผู้มีทรัพย์สินครบตามเงื่อนไขซึ่งจำเป็นต้องจ่ายให้กับผู้ที่มีสิทธิและมีคุณสมบัติจะได้รับมัน อัลลอฮฺ ซ.บ. ได้ตรัสในอัลกุรอานว่า ความว่า “และบรรดาผู้ที่ในทรัพย์สินของพวกเขามีส่วนที่ถูกกำหนดไว้ สำหรับผู้ที่เอ่ยขอและผู้ที่ไม่เอ่ยขอ” (อัล-มะอาริจญ์ 24-25) ผู้มีสิทธิรับซะกาต 1.คนยากไร้ (ฟากีร) ได้แก่

Read more

CSR กับ ซะกาต(Zakat)

CSR กับ ซะกาต CSR กับ ซะกาต CSR คือ อะไร? ท่านผู้อ่านคงเคยได้ยินตามข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ หรือตามโทรทัศน์ ที่พูดฮิตติดปากกันมาก วันนี้เราจะมาทำความรู้จัก CSR กัน CSR หรือ Corporate Social Responsibility แปลตรงตัวคือ ความรับผิดชอบของกิจการที่มีต่อสังคม เป็นเครื่องมือการตลาดอย่างหนึ่งในปัจจุบัน ที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกิจการ เช่น การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคม การส่งเสริมด้านการศึกษา ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ฯลฯ ที่นอกเหนือไปจากการทำการตลาดโดยทั่วไป เช่น ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการขาย (4Ps) สมัยก่อนเจ้าของกิจการมองว่าการทำ CSR เป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น และฟุ่มเฟือย ถือเป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่งของกิจการ โดยมองว่ากิจการควรมุ่งเน้นการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ ภายใต้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด และขายให้ได้ราคาสูงที่สุด เจ้าของกิจการจึงมองว่าทุกอย่างคือต้นทุน โดยลืมมองไปว่าต้นทุนบางอย่างคือ “การลงทุน” CSR ถือเป็นการลงทุนในรูปแบบหนึ่ง เพราะเมื่อเสียเงินไปเพื่อจัดกิจกรรม CSR ในวันนี้ สิ่งที่ได้กลับมาไม่ใช่วันนี้ในทันทีเหมือนการขายสินค้า แต่เหมือนการเพาะปลูกซึ่งต้องใช้เวลาในการเก็บเกี่ยวดอกผลในอนาคต สิ่งที่ได้กลับมาคือ ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร ความจงรักภักดีต่อแบรนด์และสินค้านั้น ความภาคภูมิใจของพนักงานในองค์กร และอื่นๆ

Read more
Recent Entries »