Tag Archives: Zakat

นิศอบพิกัดทองคำ และโลหะเงินประจำเดือนสิงหาคม 2557

สามารถอ่านรายละเอียดการเลือกใช้นิศอบเพื่อเป็นพิกัดขั้นต่ำในการจ่ายซะกาตได้ในหัวข้อ นิศอบพิกัดทองคำและโลหะเงินในการจ่ายซะกาต สามารถดูนิศอบพิกัดทองคำย้อนหลังได้ มกราคม 2551 – สิงหาคม 2557 ได้ดังนี้ สามารถดูนิศอบพิกัดทองคำย้อนหลังได้ มกราคม 2551 – สิงหาคม 2557 ได้ดังนี้  

Read more

ตัวอย่างการคำนวณซะกาตจากความมั่งคั่ง(Zakat On wealth)

ตัวอย่างการคำนวณ ซะกาตจากความมั่งคั่ง หรือความร่ำรวยทางทรัพย์สิน(Zakat On wealth) คำอธิบาย รายการทรัพย์สิน รายการที่ 1 ,2 ,3 และ 9  บ้าน เฟอร์นิเจอร์ เครื่องประดับบ้าน และรถยนต์ ไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ต้องนำมาคำนวณซะกาต จนกว่าจะมีเจตนานำมาค้าขาย เนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่เอาไว้ใช้ประโยชน์ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม รายการที่ 4 ทองคำแท่ง ต้องนำมาคำนวณซะกาตเนื่องจากไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่นำาใช้ประโยชน์ แต่เป็นสินทรัพย์สำหรับการลงทุนและมีสภาพคล่อง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม รายการที่ 5 ทองรูปพรรณ เครื่องประดับ ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่เอาไว้ใช้ประโยชน์และไม่ได้มีมากเกินกว่าค่านิยมในสังคม ไม่ต้องนำมาคำนวณซะกาต อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม รายการที่ 6 เงินฝากธนาคาร ต้องนำมาคำนวณซะกาต โดยหากมีดอกเบี้ยรับจะต้องหักออกจากการคำนวณซะกาต ในกรณีที่มีดอกเบี้ยรวมอยู่ในยอดเงินฝากที่ผู้คำนวณซะกาตยังไม่ได้หักออก เนื่องจากเป็นทรัพย์ที่ไม่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม หรือเงินปาบ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม รายการที่ 7 หุ้นสามัญเพื่อค้า จะต้องนำคำนวณซะกาต ด้วยมูลค่าพอร์ตที่ต่ำสุดในรอบปี หากไม่สามารถหาได้ ให้ใช้มูลค่าตลาด ณ วันที่ คำนวณซะกาต อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม รายการที่ 8 กองทุน LTF และ RMF เป็นการลงทุนที่ควรนำมาคำนวณซะกาตหากผู้คำนวณซะกาตไม่มีความยากลำบากในการจ่ายซะกาตในช่วงเวลาการออมและลงทุน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

Read more

สินทรัพย์ที่ต้องนำมาคำนวณซะกาต (Zakat Assets) ตอนที่ 4 หุ้น กองทุน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ซะกาตหุ้น ซะกาตการลงทุนในหุ้นสามัญ(ซึ่งอาจจะอยู่ในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่ก็ตาม) นักวิชาการได้ให้ความเห็นว่า (Majma al-Fiqh al-Islami, in its Fourth Session held in Jeddah) กรณีที่ลงทุนในหุ้นสามัญ แบบระยะยาวเพื่อรับปันผลจากบริษัท ในทุกๆปี ไม่ต้องนำหุ้นสามัญที่ลงทุนระยะยาว มาคำนวณซะกาต เนื่องจากผู้ลงทุนไม่ได้ถือหุ้นเพื่อการขายเอากำไร (Trading) เสมือนการถือครองที่ดิน หรืออาคาร เพื่อเอาค่าเช่า ส่วนในเรื่องของเงินปันผลนั้น ก็คือเงินสด หากมีการเก็บไว้ครอบรอบ 1 ปี ก็ต้องนำมาคำนวณซะกาตตามปกติ ในเรื่องของเงินสดหรือเงินฝากนั้นเอง กรณีที่ลงทุนในหุ้นสามัญ เพื่อการค้าเอากำไรส่วนต่าง หรือ Capital gain หากสามารถหามูลค่าต่ำที่สุดลของพอร์ตการลงทุนในรอบปีได้ ให้นำมูลค่าต่ำสุดมาคำนวณซะกาต หรือหากไม่ได้มีการบันทึกไว้หรือไม่สามารถหาได้ ให้นำมาคำนวณซะกาตด้วยราคาตลาด (Market Value) ณ วันที่คำนวณซะกาต ยกเว้นการถือหุ้นที่ไม่ถูกหลักศาสนาเช่น สามารถดูรายละเอียดได้ที่ ธุรกิจต้องห้ามในศาสนาอิสลาม จะไม่สามารถนำมาคำนวณซะกาตได้เพราะถือว่าเป็นการ ลงทุนหรือถือหุ้น เป็นเจ้าของบริษัทที่ไม่ถูกตามหลักของศาสนาอิสลาม ซะกาตกองทุน กองทุนทั่วไป (Mutual Fund) นั้นเป็นการลงทุนสมัยใหม่ในอีกรูปแบบหนึ่ง การคำนวณซะกาตให้ใช้ราคาตลาด (Market Value) ณ วันที่คำนวณซะกาต มาคำนวณซะกาตรวมกับสินทรัพย์อื่นๆ

Read more

สินทรัพย์ที่ต้องนำมาคำนวณซะกาต(Zakat assets) ตอนที่ 3 ทองรูปพรรณ ทองคำแท่ง

    สินทรัพย์ที่ต้องนำมาคำนวณซะกาต(Zakat assets) ตอนที่ 3 ทองรูปพรรณ ทองคำแท่ง หรือทองคำในรูปแบบอื่น   การคำนวณซะกาต ทองรูปพรรณ หากทองรูปพรรณนั้นเป็นของผู้หญิงและมีการใช้สอยเป็นเครื่องประดับ กรณีนี้นักวิชาการมีความเห็นต่างกัน อยู่สอง ทัศนะคือ ทัศนะแรก มีความเห็นว่าจำเป็นต้องออกซะกาตตามเงื่อนไขที่ศาสนากำหนดไว้ คือ มีกรรมสิทธิครอบครองโดยสมบูรณ์ถึงพิกัดอัตรา(นิศอบ)และครบรอบปี และตีราคาเป็นเงินโดยคิดจากราคาตลาด(ราคาที่สามารถนำไปขายได้ในปัจจุบัน) ทัศนะที่สอง ถือว่าไม่วาญิบต้องออกซะกาตแต่อย่างใดถึงแม้ว่าจะมีมูลค่าเกินนิศอบ ในกรณีที่มีการใช้สอยเป็นเครื่องประดับอยู่เป็นประจำ ไม่ได้เก็บสะสมเอาไว้เพื่อทำกำไร และไม่ได้มีมากเกินความจำเป็น  ทัศนะของฝ่ายที่สองนี้มีน้ำหนักและเป็นทัศนะของมัซฮับอัช-ชาฟีอียฺ หากมีจำนวนมากเกินความจำเป็นและมากกว่าประเพณีนิยมในสังคม เช่น มีทองรูปพรรณอยู่ 100 บาท จะต้องคิดทองรูปพรรณที่มากกว่าประเพณีนิยมในสังคมมาคิดซะกาต เช่น หากในสังคมมีการถือครองทองคำรูปพรรณเครื่องประดับกันอยู่ในระดับ 20 บาท(การประเมินอาจจะค่อนข้างยาก และเปลี่ยนไปตามกาลเวลา อาจจะต้องสังเกตุเวลาออกงานกิญบุญต่างๆ)  ส่วนเกินทองคำรูปพรรณ 80 บาท จะต้องนำมาคำนวณซะกาต เป็นต้น ทองรูปพรรณหากผู้ชายเเป็นเจ้าของตามหลักศาสนาบัญญัติห้ามผู้ชายสวมใส่เครื่องประดับจำพวกทองรูปพรรณ ดังนั้นผู้ชายไม่สามารถนำมาใช้สอยได้ เมื่อมีจำนวนถึงอัตราพิกัด(นิศอบ) ก็ถือว่าวาญิบจำเป็นต้องออกซะกาตเมื่อครอบครองครบรอบปีอิสลาม   การคำนวณซะกาต ทองคำแท่ง ทองคำแท่ง หรือทองคำในรูปแบบอื่น เช่นเหรียญทองคำ ไม่ได้เข้าเงื่อนไข ที่จะสามารถนำมาใช้สอยเป็นเครื่องประดับได้ และเป็นทรัพย์ในลักษณะของการลงทุน ดังนั้นต้องนำมาเป็นสินทรัพย์ที่จะต้องคำนวณซะกาต คิดจากราคาตลาด(ราคาที่สามารถนำไปขายได้ในปัจจุบัน) จากคำสั่งของท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า

Read more

สินทรัพย์ที่ต้องนำมาคำนวณซะกาต(Zakat assets) ตอนที่ 2 เงินสด หรือ ธนบัตร เหรียญเงินสกุลต่างๆ

สินทรัพย์ที่ต้องนำมาคำนวณซะกาต(Zakat assets) ตอนที่ 2 เงินสด หรือ ธนบัตร เหรียญเงินสกุลต่างๆ เงินตราสกุลต่างๆ ในปัจจุบันเช่น ริยาล ดอลลาร์ บาท เป็นต้น หุก่มเหมือนกับทองคำและโลหะเงิน หากถึงพิกัดทองหรือเงิน ถือว่าต้องจ่ายซะกาตจำนวน 2.5 % เมื่อครบรอบปีปฏิทินอิสลาม เงินสด หรือ ธนบัตร หรือ เหรียญที่จะนำมาคำนวณซะกาตก็คือ เงินสดที่เก็บไว้ในรูปของเงินสกุลใดก็ตาม อาจจะเก็บไว้ที่ บ้าน หรือ ในตู้นิรภัย ถือว่าจะต้องนำมาคำนวณเพื่อออกซะกาต หากมีการเก็บสะสมเงินสดไว้ครบรอบ 1 ปีปฏิทินอิสลาม แต่ถ้าหากเงินสดมีการใช้จ่ายหมุนเวียน คือ มีการได้มาและเบิกจ่าย ให้ใช้ยอดต่ำที่สุด (Lowest Balance) ในรอบปี เป็นยอดที่นำมาคำนวณ เนื่องจากเป็นจำนวนที่แสดงถึงความมั่งคั่งของทรัพย์สินประเภทเงินสด (Wealth) ในรอบปีที่ผ่านมา จากตัวอย่างในรูปภาพให้นำยอด 3,000 บาท ไปคำนวณการออกซะกาต ในกรณีที่ไม่มีเงินฝากในสถาบันการเงินใดๆ   หากไม่ได้มีการเก็บเงินสดไว้ นอกบัญชีธนาคารจำนวนมาก กล่าวคือ มีการใช้หมดเบิกใหม่จากธนาคารหรือตู้ ATM  หมุนเวียน หมดไปตลอดทุกเดือนหรือในรอบปีที่ผ่านมา โดยเก็บสะสมเงินไว้ในบัญชีธนาคารเป็นหลัก จะถือว่าให้พิจารณายอดในบัญชีธนาคารหรือสถาบันการเงิน

Read more
« Older Entries