การคำนวณซะกาตจากความมั่งคั่งหรือร่ำรวยทางทรัพย์สิน(Zakat on Wealth)

Zakat On wealth   การคำนวณซะกาตจากความมั่งคั่งหรือร่ำรวยทางทรัพย์สิน(Zakat on Wealth)   ในซูเราะห์อัตเตาบะฮฺ อัลลอฮฺได้ทรงตรัสว่า: (โอ้มูฮำหมัด) เจ้าจงเอาจากทรัพย์สินของพวกเขาเป็นทานซะกาต ซึ่งจะทำให้พวกเขาสะอาด และจะทำให้พวกเขาบริสุทธิ์อีกด้วย (ซูเราะห์อัตเตาบะฮฺ 103) มีรายงานจากท่านนบี ว่าท่านนบีได้ส่งเศาะฮาบะฮฺไปยังหัวเมืองต่างๆเพื่อทำหน้าที่จัดเก็บและรวบรวมซะกาต ส่วนหนึ่งจากรายงานดังกล่าวคือ รายงานของท่านอิบนุอับบาส ได้รายงานว่าท่านนบีได้ส่งท่าน มุอ๊าซ อิบนุ ญะบัล ไปยังแค้วนเยเมน และท่านได้สั่งเสียมุอ๊าซไว้ตอนหนึ่งว่า: ความว่า: จงบอกพวกเขาว่าอัลลอฮฺได้ทรงกำหนดซะกาตเหนือพวกเขา โดยเก็บจากคนร่ำรวยของพวกเขา และจ่ายคืนให้แก่คนยากจนของพวกเขา (บุคอรีย์) เนื่องในปัจจุบันนั้นมีธุรกรรมและการลงทุนทางการเงิน มีชนิดและความซับซ้อนมากกว่าในสมัยของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) อันได้แก่ มีระบบธนาคาร มีการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ มีการลงทุนในกองทุน มีการลงทุนในศุกูก เป็นต้น ดังนั้นการคำนวณซะกาตนั้นจะต้องเป็นวิธีที่เหมาะสม ถูกต้อง และสอดคล้องกับธุรกรรมทางการเงินที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และจึงไม่ใช่ข้ออ้างของคนที่มีเงินทองมากเกินพิกัดขั้นต่ำ (นิศอบ)ที่นำเงินไปลงทุนแล้วไม่ยอมจ่ายซะกาต โดยอ้างว่าการจ่ายซะกาตเฉพาะเงินทองเท่านั้น เพราะความมั่งคั่งทางทรัพย์สิน (Wealth) ของบุคคล นั้นไม่ได้ลดลง เพียงแต่เปลี่ยนชนิดของสินทรัพย์เท่านั้น แต่ยังคงดำรงการเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนหรือสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงอยู่นั้นเอง ในทางตรงกันข้าม หนี้สินในปัจจุบันก็มีรูปแบบที่ซับซ้อน ขึ้นเช่นเดียวกัน และหนี้สินระยะสั้นและหนี้สินบางประเภท ก็มีผลทำให้ ความมั่งคั่งทางทรัพย์สิน(Wealth) ของบุคคลลดลงในรอบปีนั้นเช่นกัน ดังนั้นการคำนวณซะกาตจากความมั่งคั่งทางทรัพย์สิน(Zakat on Wealth) จึงเป็นรูปแบบที่เหมาะสมในการคำนวณซะกาตให้ถูกต้อง เพื่อที่มุสลิมที่มีหน้าที่จะต้องจ่ายซะกาต จ่ายซะกาตได้อย่างถูกต้อง และเกิดความเป็นธรรมและยุติธรรม ทั้งผู้จ่ายซะกาตและผู้รับซะกาต และวิธีการคำนวณซะกาตจากความมั่งคั่งทางทรัพย์สิน(Zakat on Wealth) เป็นที่ได้รับการยอมรับจากนักวิชาการร่วมสมัย และ องค์กรการบัญชีและการตรวจสอบสำหรับสถาบันการเงินอิสลาม หรือ The Accounting and Auditing Organization for Islamic Financial Institutions (AAOIFI) และคณะกรรมการบริการทางการเงินอิสลาม หรือ The Islamic Financial Services Board (IFSB)   การคำนวณซะกาตจากความมั่งคั่งทางทรัพย์สิน(Zakat on wealth) จะจ่ายซะกาตเฉพาะความมั่งคั่งทางทรัพย์สิน(wealth)ที่ครอบครองไว้และเข้าเงื่อนไขที่ศาสนากำหนดไว้เท่านั้น กล่าวคือ มุสลิมที่ต้องจ่ายซะกาตจะต้องครอบครองความมั่งคั่งทางทรัพย์สินครบรอบปีปฏิทินอิสลามและเกินพิกัดขั้นต่ำหรือ นิศอบ(Nisaab) ที่ศาสนากำหนดไว้ ZAKAT POOL   ความมั่งคั่งทางทรัพย์สิน(Wealth) นั้นจะต้องคำนวณจากทรัพย์สินที่จะต้องทำการจ่ายซะกาต(Zakat assets) หักออกด้วยหนี้สินที่สามารถหักจากการจ่ายซะกาต(Zakat Liabilities) ในรอบปีปฏิทินอิสลาม เนื่องจากหนี้สินไปจะลดมูลค่าของความมั่งคั่งในรอบปีให้ลดลงจึงสามารถนำมาหักออกจากมูลค่าทรัพย์สินที่นำมาคำนวณซะกาตได้ Zakat pool nisaab ความมั่งคั่งทางทรัพย์สิน(Wealth) จะแสดงถึงความสามารถในการจ่ายซะกาต(Zakatability) ของมุสลิม ในรอบปีนั้นๆ และจะต้องจ่ายซะกาตหาก ความั่งคั่งสุทธิ มากเกินกว่าพิกัดขั้นต่ำหรือ นิศอบ(Nisaab) ที่ศาสนากำหนดไว้ บุคคลที่จะต้องจ่ายซะกาต

  •    เป็นมุสลิมที่บรรลุศาสนภาวะแล้ว
  •    เป็นอิสระ ไม่ใช่เป็นทาสในปัจจุบันไม่มีระบบทาสแล้ว
  •    มีสติสัมปชัญญะ ปกติ ไม่ได้เป็นคนวิกลจิริต หรือคนบ้า
  •    ครอบครองความมั่งคั่งของทรัพย์สินเกินพิกัดขั้นต่ำ หรือ นิศอบ(Nisaab) ที่ศาสนากำหนด ตลอดรอบปีปฏิทินอิสลามโดยความมั่งคั่งของทรัพย์สินเกินพิกัดขั้นต่ำ หรือ นิศอบ (Nisaab) คือทรัพย์สินส่วนที่เกินมาจากการใช้จ่ายหรือของใช้ส่วนตัวเช่น เสื้อผ้า อาหาร ที่พัก รถยนต์ เป็นต้น และหลังจากที่หักหนี้สินที่สามารถหักจากการจ่ายซะกาตได้ (Zakat Liabilities)

ทรัพย์สินที่จะต้องนำมาคำนวณซะกาตที่ระบุชัดเจนในหะดิษ ได้แก่ ทองคำ(Gold) โลหะเงิน (Silver)   จากคำสั่งของท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า 
“เมื่อท่านครอบครอง (โลหะเงิน) จำนวน 200 ดิรฺฮัม และครบรอบปี ในจำนวน (โลหะเงิน) นั้น จะต้องจ่าย (ซะกาต) 5 ดิรฺฮัม, และไม่ต้องจ่ายสิ่งใด (หมายถึงไม่ต้องจ่ายซะกาตทองคำ) จนกว่าท่านจะครอบครองทองคำจำนวน 20 ดีนารฺ ซึ่งหากท่านครอบครองทองคำ 20 ดีนารฺ พร้อมกับครบรอบปี เช่นนี้จะต้องจ่าย (ซะกาต) ครึ่งดีนารฺ และหากมีจำนวนมากกว่านั้นก็ให้คำนวณตามจำนวน (ที่เพิ่ม) นั้น” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอบูดาวูด เลขที่ 1575 หะดิษเศาะเฮียะฮฺ)   อย่างไรก็ตามปัจจุบันไม่ได้มีการใช้ดินาร และดิรฮัม เหมือนในสมัยของท่านศาสดามูฮัมหมัด ซ.ล. ในปัจจุบันแต่ละประเทศมีการใช้สกุลเงินเป็นของตนเอง ดังนั้นการครอบครองเงินสกุลต่างๆ จึงต้องนำมาจ่ายซะกาตด้วยเช่นกัน   สินทรัพย์ที่จะต้องจ่ายซะกาตตามหะดิษ นักวิชาการได้ให้ความหมายคือทรัพย์สินที่จะมีการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ผลิตผลทางการเกษตร ปศุสัตว์ สินค้าเพื่อการค้าขาย ทองคำและโลหะเงิน ยกเว้นของใช้และทรัพย์สินส่วนตัวและครอบครัว เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ มือถือ คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุค เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น   ทรัยพ์สินจะต้องทำมาคำนวณซะกาตหากมีเจตนาหรือเนียตที่จะนำมาค้าขายเพื่อทำกำไร ตัวอย่างเช่น มุสลิมคนหนึ่งซื้อบ้านซึ่งโดยปกติจะได้รับการยกเว้นซะกาตเพราะเป็นการครอบครองเพื่อใช้สอยประโยชน์ ต่อมามุสลิมคนนี้เจตนาต้องการที่จะขายบ้านหลังนี้ เพื่อเอากำไรจากราคาบ้านและที่ดินที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นจะต้องนำราคาตลาดของบ้านหลังนี้มาคำนวณในการคิดซะกาตด้วย หากมีการถือครองเพื่อที่จะขายครบรอบปี

Credit การเงินอิสลาม

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s