สินทรัพย์ที่ต้องนำมาคำนวณซะกาต(Zakat assets) ตอนที่ 2 เงินสด หรือ ธนบัตร เหรียญเงินสกุลต่างๆ

ซะกาตเงินสด

สินทรัพย์ที่ต้องนำมาคำนวณซะกาต(Zakat assets)

ตอนที่ 2 เงินสด หรือ ธนบัตร เหรียญเงินสกุลต่างๆ

เงินตราสกุลต่างๆ ในปัจจุบันเช่น ริยาล ดอลลาร์ บาท เป็นต้น หุก่มเหมือนกับทองคำและโลหะเงิน หากถึงพิกัดทองหรือเงิน ถือว่าต้องจ่ายซะกาตจำนวน 2.5 % เมื่อครบรอบปีปฏิทินอิสลาม

เงินสด หรือ ธนบัตร หรือ เหรียญที่จะนำมาคำนวณซะกาตก็คือ เงินสดที่เก็บไว้ในรูปของเงินสกุลใดก็ตาม อาจจะเก็บไว้ที่ บ้าน หรือ ในตู้นิรภัย ถือว่าจะต้องนำมาคำนวณเพื่อออกซะกาต หากมีการเก็บสะสมเงินสดไว้ครบรอบ 1 ปีปฏิทินอิสลาม แต่ถ้าหากเงินสดมีการใช้จ่ายหมุนเวียน คือ มีการได้มาและเบิกจ่าย ให้ใช้ยอดต่ำที่สุด (Lowest Balance) ในรอบปี เป็นยอดที่นำมาคำนวณ เนื่องจากเป็นจำนวนที่แสดงถึงความมั่งคั่งของทรัพย์สินประเภทเงินสด (Wealth) ในรอบปีที่ผ่านมา จากตัวอย่างในรูปภาพให้นำยอด 3,000 บาท ไปคำนวณการออกซะกาต ในกรณีที่ไม่มีเงินฝากในสถาบันการเงินใดๆ

 

กราฟเงินสด

หากไม่ได้มีการเก็บเงินสดไว้ นอกบัญชีธนาคารจำนวนมาก กล่าวคือ มีการใช้หมดเบิกใหม่จากธนาคารหรือตู้ ATM  หมุนเวียน หมดไปตลอดทุกเดือนหรือในรอบปีที่ผ่านมา โดยเก็บสะสมเงินไว้ในบัญชีธนาคารเป็นหลัก จะถือว่าให้พิจารณายอดในบัญชีธนาคารหรือสถาบันการเงิน มาใช้ในการคำนวณซะกาต ตัวอย่างเช่น การเบิกเงินจาก ATM  มาใช้ในทุกๆ ครั้ง ที่เงินไม่พอจ่าย จะถือว่าไม่ได้มีการสะสมเงินสดไว้ในครอบครองให้พิจารณาจากยอดเงินจากในบัญชีธนาคารเป็นหลัก ไม่ต้องนำเงินสดมาคำนวณซะกาต

 

หากมีการเก็บเงินสด และเงินฝากธนาคาร ทั้งสองอย่างนี้ จะต้องมีการหาผลรวมแต่ในเดือน ให้ใช้ ผลรวม เงินสด และเงินฝากธนาคาร ยอดต่ำที่สุด (Lowest Balance) ในรอบปี เป็นยอดที่นำมาคำนวณ เนื่องจากเป็นจำนวนที่แสดงถึงความมั่งคั่งของทรัพย์สินประเภทเงินสดและเงินฝาก (Wealth) ในรอบปีที่ผ่านมา  เหตุผลที่จะต้องมีการรวม เนื่องจากอาจจะมีการเคลื่อนย้ายระหว่าง เงินสด กับเงินฝากระหว่างปี หากนำยอดต่ำสุดของเงินสดและ และยอดต่ำสุดของเงินฝากมาคำนวณซะกาต จะไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง ดังนั้นจึงต้องมีการคำนวณผลรวมระหว่างเงินสด และเงินฝากในแต่ละเดือน เพื่อหายอดต่ำที่สุด (Lowest Balance) ในรอบปี ของผลรวม เงินสด และเงินฝากธนาคาร

 

วัลลอฮุอะลัม เรียบเรียงโดย Muhammad Azmii Mahamad
หมายเหตุ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความด้วยการอ้างอิงถึง
http://www.การเงินอิสลาม.com หรือ http://www.islamicfinancethai.com

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s