สินทรัพย์ที่ต้องนำมาคำนวณซะกาต (Zakat Assets) ตอนที่ 4 หุ้น กองทุน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ซะกาตหุ้น กองทุน

ซะกาตหุ้น

ซะกาตการลงทุนในหุ้นสามัญ(ซึ่งอาจจะอยู่ในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่ก็ตาม) นักวิชาการได้ให้ความเห็นว่า (Majma al-Fiqh al-Islami, in its Fourth Session held in Jeddah)

กรณีที่ลงทุนในหุ้นสามัญ แบบระยะยาวเพื่อรับปันผลจากบริษัท ในทุกๆปี ไม่ต้องนำหุ้นสามัญที่ลงทุนระยะยาว มาคำนวณซะกาต เนื่องจากผู้ลงทุนไม่ได้ถือหุ้นเพื่อการขายเอากำไร (Trading) เสมือนการถือครองที่ดิน หรืออาคาร เพื่อเอาค่าเช่า ส่วนในเรื่องของเงินปันผลนั้น ก็คือเงินสด หากมีการเก็บไว้ครอบรอบ 1 ปี ก็ต้องนำมาคำนวณซะกาตตามปกติ ในเรื่องของเงินสดหรือเงินฝากนั้นเอง

กรณีที่ลงทุนในหุ้นสามัญ เพื่อการค้าเอากำไรส่วนต่าง หรือ Capital gain หากสามารถหามูลค่าต่ำที่สุดลของพอร์ตการลงทุนในรอบปีได้ ให้นำมูลค่าต่ำสุดมาคำนวณซะกาต หรือหากไม่ได้มีการบันทึกไว้หรือไม่สามารถหาได้ ให้นำมาคำนวณซะกาตด้วยราคาตลาด (Market Value) ณ วันที่คำนวณซะกาต

ยกเว้นการถือหุ้นที่ไม่ถูกหลักศาสนาเช่น สามารถดูรายละเอียดได้ที่ ธุรกิจต้องห้ามในศาสนาอิสลาม จะไม่สามารถนำมาคำนวณซะกาตได้เพราะถือว่าเป็นการ ลงทุนหรือถือหุ้น เป็นเจ้าของบริษัทที่ไม่ถูกตามหลักของศาสนาอิสลาม

ซะกาตกองทุน

กองทุนทั่วไป (Mutual Fund) นั้นเป็นการลงทุนสมัยใหม่ในอีกรูปแบบหนึ่ง การคำนวณซะกาตให้ใช้ราคาตลาด (Market Value) ณ วันที่คำนวณซะกาต มาคำนวณซะกาตรวมกับสินทรัพย์อื่นๆ โดยให้ใช้จำนวนหน่วยยอดถือครองที่ต่ำสุดในรอบปีมาคำนวณราคา ที่ราคาตลาดเพื่อคำนวณซะกาต เนื่องจากระหว่างปีอาจจะมีการ ซื้อ หรือ ขาย หน่วยลงทุน

 

ซะกาตกองทุน LTF หรือ RMF

กองทุน LTF หรือ RMF เป็นการลงทุนโดยมีจุดประสงค์เพื่อการออม โดยมีการกำหนดระยะเวลาในการถือครองหน่วยลงทุน

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อง กองทุน LTF และ RMF ได้ที่ การลงทุนใน LTF และ RMF

นักวิชาการได้มีทัศนะในการคำนวณซะกาตกองทุน LTF หรือ RMF ไว้สองแนวทาง คือ

แนวทางแรก หากมุสลิมผู้ถือหน่วยลงทุน LTF หรือ RMF ไม่มีความยากลำบาก ในการจ่ายซะกาตในทุกๆปี และภายหลังจากได้รับเงินกลับจากการลงทุน LTF และ RMF ก็ให้คำนวณซะกาตกองทุน LTF และ RMF กับทรัพย์สินอื่นๆ เพื่อจ่ายซะกาตทุกๆปี จนกระทั้งกองทุนได้รับการไถ่ถอนได้

แนวทางที่สอง หากมุสลิมผู้ถือหน่วยลงทุน LTF หรือ RMF มีภาระหนี้สิน หรือ จะเกิดความยากลำบากภายหลังการไถ่ถอนกองทุนที่ครบกำหนด ในกรณีนี้ไม่ต้องนำกองทุน LTF หรือ RMF มาคำนวณจ่ายซะกาตในทุกๆปี แต่ให้คำนวณจ่ายซะกาต 2.5% ทันทีเมื่อได้รับเงินไถ่ถอนจากการกองทุน LTF หรือ RMF เท่านั้น เพียงครั้งเดียวเท่านั้น

 

ซะกาตกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(Provident Fund)

แนวทางแรก ให้นำกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มาคำนวณซะกาตในทุกๆปี โดยให้คิดจากมูลค่าต่ำสุดของปี ที่ครอบรอบปีปฏิทินอิสลาม เฉพาะส่วนที่ผู้คำนวณซะกาตหรือลูกจ้างมีสิทธิเหนือเงินจำนวนนั้น อย่างแน่นอนแล้วเท่านั้น (ในกรณีบางบริษัทมีเงื่อนไขการสมทบตามอายุงาน จะเริ่มสมทบเมื่อมีอายุงานครบตามกำหนด หากลาออกก่อนกำหนดจะไม่ได้รับการสมบทจากบริษัท ก็ไม่ต้องนำส่วนนี้ที่ยังไม่แน่นอนมาคำนวณ หากอายุงานยังไม่ครบกำหนด)

แนวทางที่สอง ไม่ต้องนำมาคิดซะกาตรายปี แต่ให้นำมาจ่คำนวณซะกาตเมื่อได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว และครบรอบปีแล้วเท่านั้น เนื่องจากนักวิชาการบางส่วนได้ให้ความเห็นว่า เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น เป็นการหักเงินก่อนที่พนักงานหรือผู้คำนวณซะกาตจะครอบครองตัวเงิน และไม่มีใครทราบได้ว่า หลังจากที่เกษียรหรืออกจากกองทุน ผู้คำนวณซะกาตอาจจะมีเงินไม่เพียงพอในการดำรงชีวิตหลังจากเกษียรหรือออกจากงาน เป็นต้น

 

อย่างไรก็ตามหากผู้คำนวณซะกาตถือกองทุนที่ขัดต่อหลักชะรีอะฮฺหรือศาสนาอิสลาม กล่าวคือไม่ได้ถือกองทุนที่เป็น Islamic LTF หรือ Islamic RMF หรือ   Islamic Mutual Fund หรือ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่ลงทุนไม่ขัดต่อหลักศาสนาอิสลาม การคำนวณซะกาตจะนำมาคำนวณได้เฉพาะส่วนเงินทุนหรือเงินลงทุนเริ่มต้นของผู้คำนวณเท่านั้นเพราะส่วนเพิ่มหรือกำไร ถือว่าไม่เป็นเงินที่ถูกต้องตามหลักศาสนา ไม่สามารถนำมาคำนวณซะกาตได้

 

หมายเหตุ แนวทางที่นำเสนอมาข้างต้นในการคำนวณซะกาต เป็นเพียงแนวทางที่ผู้เขียนศึกษามาเท่านั้น หากผู้คำนวณซะกาตมีแนวทางอื่นที่ยึดถือ ก็สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน

 

Credit การเงินอิสลาม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s