หลักการซื้อขายมุรอบาฮะฮ์ (Murabahah)

หลักการซื้อขายมุรอบาฮะฮ์ (Murabahah)

มุรอบาฮะฮ์ 2

หลักการซื้อขายที่การธนาคารอิสลาม(Islamic Banking) ทั่วโลกนำมาใช้ คือ การซื้อมาขายไป (Murabahah หรือ มุรอบาฮะฮ์) ซึ่งเป็นการขายบนต้นทุนบวกกำไร (Cost plus Profit) โดยมีการเปิดเผยต้นทุนกับกำไรให้ลูกค้าทราบ

หลักของการซื้อขายในศาสนาอิสลาม มีองค์ประกอบสำคัญ คือ ผู้ซื้อ ผู้ขาย ทรัพย์สิน ราคาขาย โดยเงื่อนไขของการซื้อขายตามหลักมุรอบาฮะฮ์ (Murabahah) นั้นสินค้าต้องเป็นกรรมสิทธิของผู้ขาย (Ownership) และสามารถส่งมอบได้ทันที สินค้าต้องเป็นสิ่งที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติอิสลาม เช่น ห้ามซื้อขายสุกร สุรา อุปกรณ์การพนัน   และราคาซื้อขายก็ต้องเป็นราคาที่เห็นชอบร่วมกันทั้งสองฝ่าย (Mutual Consent) อีกด้วย การซื้อขายตามหลักมุรอบาฮะฮ์(Murabahah) จึงเป็นการซื้อขายที่ยุติธรรม เพราะมีการบอกต้นทุนและกำไรที่ชัดเจนในการซื้อขาย ซึ่งธนาคารอิสลามทั่วโลกได้นำหลักนี้มาใช้

การซื้อขายแบบมุรอบาฮะฮ์ คือการซื้อขายที่ผู้ขายสินค้าแจ้งให้ผู้ซื้อสินค้าทราบทั้งต้นทุนของสินค้าที่ซื้อและกำไรที่ผู้ขายต้องการ หรือการขายที่ยืนอยู่บนหลักการของต้นทุนสินค้า+กำไร (Cost-plus, Mark-up) โดยราคาขายของมุรอบาฮะฮ์จะเป็นการจ่ายเงินทันที (Spot-sale) หรือการผ่อนจ่าย (Deferred Sale) ก็ได้ โดยปกติแล้ว Spot-sale ราคาจะถูกกว่า Deferred sale เช่น การซื้อขายรถยนต์ ก็จะเริ่มต้นด้วยการที่ลูกค้าต้องการรถยนต์หนึ่งคันและเข้าไปหาธนาคาร ธนาคารก็จะแต่งตั้งให้ลูกค้าเป็นตัวแทนธนาคารไปซื้อรถยนต์ โดยใช้เงินสดของธนคาร เมื่อได้รถยนต์มาแล้ว ธนาคารก็จะขายรถยนต์ให้กับลูกค้า โดยใช้หลักการมุรอบาฮะฮ์ การขายที่บอกต้นทุนและกำไร โดยที่ลูกค้าอาจจะใช้การชำระเงินผ่อนกับธนาคารเป็นงวดๆ

โดยการธนาคารอิสลาม(Islamic Banking) ได้นำหลักการมุรอบาฮะฮ์ (Murabahah) มาใช้ในการให้สินเชื่อ (Financing) เพื่อซื้อทรัพย์สินประเภทต่าง ๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ คอมพิวเตอร์  ที่อยู่อาศัย โรงงาน ที่ดิน และเครื่องจักร เป็นต้น

การให้สินเชื่อหรือการอำนวยสินเชื่อ(Financing) ภายใต้หลักการซื้อมาขายไป หรือ มุรอบาฮะฮ์ (Murabahah) มีวิธีการดังนี้

1. ลูกค้าแจ้งความประสงค์กับธนาคารอิสลามในการขอสินเชื่อสำหรับการซื้อสินค้า

2. เมื่อธนาคารอิสลามวิเคราะห์ความเป็นไปได้และอนุมัติคำขอแล้ว ธนาคารมอบหมายให้ลูกค้าเป็นตัวแทน (Wakala: agency) ไปซื้อทรัพย์สินที่ลูกค้าต้องการแทนธนาคาร

3. ธนาคารชำระเงินให้แก่ผู้ขายทรัพย์สินที่ลูกค้าต้องการ

4. ธนาคารขายทรัพย์สินดังกล่าวให้กับลูกค้าในราคาต้นทุนบวกกำไร (Cost plus Profit) ที่ได้ตกลงกันล่วงหน้า

5. ลูกค้าชำระค่าสินค้าให้กับธนาคารโดยการผ่อนชำระเป็นงวด (Installments) ตามที่ตกลงในสัญญา

มุรอบาฮะฮ์

ตัวอย่างเช่น

กรณีลูกค้าต้องการซื้อบ้านในราคาหลังละ 5,000,000 บาท และต้องการผ่อนชำระ 25 ปี ดังนั้น เมื่อธนาคารซื้อบ้านจากผู้ขายแล้ว ธนาคารอิสลามก็ขายบ้านหลังนี้ให้กับลูกค้าโดยบวกกำไร เช่น เมื่อคำนวนแล้วกำไรอาจเท่ากับ 500,000 บาท เมื่อรวมกับราคาบ้านแล้วธนาคารอิสลามจะขายบ้านให้กับลูกค้าในราคา 5,500,000 บาท ซึ่งจะทำให้ลูกค้าทราบตั้งแต่วันที่ทำสัญญาว่าตลอดระยะเวลา 25 ปี ลูกค้าจะต้องชำระบ้านหลังนี้รวมเป็นเงินเท่าใด โดยราคาขายนี้เมื่อตกลงกันแล้วจะไม่เพิ่มขึ้น แต่อาจลดลงได้ในกรณีที่ธนาคารคืนกำไรให้(Rebating)

วัลลอฮุอะลัม เรียบเรียงโดย Muhammad Azmii Mahamad
หมายเหตุ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความด้วยการอ้างอิงถึง
http://www.การเงินอิสลาม.com หรือ http://www.islamicfinancethai.com

One comment

  • ธนาคารหรือสถาบันการเงินอิสลาม สามารถคิดค่าปรับหรือค่าติดตามจากลูกหนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระได้หรือไม่

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s