Tag Archives: Islamic banking

หลักการซื้อขายมุรอบาฮะฮ์ (Murabahah)

หลักการซื้อขายมุรอบาฮะฮ์ (Murabahah) หลักการซื้อขายที่การธนาคารอิสลาม(Islamic Banking) ทั่วโลกนำมาใช้ คือ การซื้อมาขายไป (Murabahah หรือ มุรอบาฮะฮ์) ซึ่งเป็นการขายบนต้นทุนบวกกำไร (Cost plus Profit) โดยมีการเปิดเผยต้นทุนกับกำไรให้ลูกค้าทราบ หลักของการซื้อขายในศาสนาอิสลาม มีองค์ประกอบสำคัญ คือ ผู้ซื้อ ผู้ขาย ทรัพย์สิน ราคาขาย โดยเงื่อนไขของการซื้อขายตามหลักมุรอบาฮะฮ์ (Murabahah) นั้นสินค้าต้องเป็นกรรมสิทธิของผู้ขาย (Ownership) และสามารถส่งมอบได้ทันที สินค้าต้องเป็นสิ่งที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติอิสลาม เช่น ห้ามซื้อขายสุกร สุรา อุปกรณ์การพนัน   และราคาซื้อขายก็ต้องเป็นราคาที่เห็นชอบร่วมกันทั้งสองฝ่าย (Mutual Consent) อีกด้วย การซื้อขายตามหลักมุรอบาฮะฮ์(Murabahah) จึงเป็นการซื้อขายที่ยุติธรรม เพราะมีการบอกต้นทุนและกำไรที่ชัดเจนในการซื้อขาย ซึ่งธนาคารอิสลามทั่วโลกได้นำหลักนี้มาใช้ การซื้อขายแบบมุรอบาฮะฮ์ คือการซื้อขายที่ผู้ขายสินค้าแจ้งให้ผู้ซื้อสินค้าทราบทั้งต้นทุนของสินค้าที่ซื้อและกำไรที่ผู้ขายต้องการ หรือการขายที่ยืนอยู่บนหลักการของต้นทุนสินค้า+กำไร (Cost-plus, Mark-up) โดยราคาขายของมุรอบาฮะฮ์จะเป็นการจ่ายเงินทันที (Spot-sale) หรือการผ่อนจ่าย (Deferred Sale) ก็ได้ โดยปกติแล้ว Spot-sale ราคาจะถูกกว่า Deferred sale เช่น การซื้อขายรถยนต์ ก็จะเริ่มต้นด้วยการที่ลูกค้าต้องการรถยนต์หนึ่งคันและเข้าไปหาธนาคาร ธนาคารก็จะแต่งตั้งให้ลูกค้าเป็นตัวแทนธนาคารไปซื้อรถยนต์

Read more

อิญาเราะฮ์ (Ijarah)

อิญาเราะฮ์ (Ijarah = Leasing) หรือในภาษาอาหรับ الإجارة คือ สัญญาจ้างหรือสัญญาเช่า หมายถึง การที่เจ้าของทรัพย์สินโอนสิทธิประโยชน์การใช้ทรัพย์สิน (Usufruct) ให้อีกฝ่ายหนึ่ง โดยมีค่าเช่าเป็นค่าตอบแทนภายในระยะเวลาที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน โดยกรรมสิทธิของทรัพย์สินยังคงเป็นของเจ้าของทรัพย์หรือผู้ให้เช่า โดยมีหลักฐานจากอัลกุรอ่าน สูเราะฮฺ อัล-เกาะศ็อศ อายะห์ที่ 26-27 ดังนี้ อิญาเราะฮ์ (Ijarah) หรือ การเช่ามี 2 ประเภทคือ 1.การเช่าดำเนินการ หรือ Operating leasing หมายถึง เจ้าของทรัพย์สินให้เช่าแก่ผู้เช่าภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน โดยเจ้าของทรัพย์สินจะนำทรัพย์สินที่เช่าไปใช้ประโยชน์ตามที่ระบุในสัญญาหรือที่ตกลงกันนั้นเท่านั้น ตัวอย่างที่พบกันทั่วไปคือ การจ้างงานหรือการทำงานได้รับเงินเดือน (การเช่าความรู้ความสามารถ) การเช่าหอพักอาศัย การเช่าอาคาร การเช่าเพื่อทำร้านค้า การเช่าห้องแถว เป็นต้น ภายใต้หลักการอิญาเราะฮ์ (Ijarah) แบบ การเช่าดำเนินการ (Operating leasing) ธนาคารหรือสถาบันการเงินอิสลามจะให้สินเชื่อกับลูกค้าโดยการซื้อทรัพย์สินตามที่ลูกค้าต้องการ แล้วนำมาให้ลูกค้าเช่าภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน โดยลูกค้าจะนำทรัพย์สินที่เช่าไปใช้ประโยชน์ตามที่ระบุในสัญญาเท่านั้น โดยที่ทรัพย์สินยังเป็นของสถาบันการเงินหรือธนาคารอาจจะนำทรัพย์สินนี้ไปขายทอดตลาดหรือนำไปให้เช่าต่อลูกค้ารายอื่น   2.การเช่าทางการเงิน หรือ Financial Lease เป็นรูปแบบที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอิสลามนำมาใช้เพื่อให้บริการการเช่าซื้อกับลูกค้า นั่นก็คือการที่ธนาคารให้สินเชื่อกับลูกค้าโดยธนาคารหรือสถาบันการเงินอิสลามซื้อทรัพย์สินตามที่ลูกค้าต้องการ แล้วนำมาให้ลูกค้าเช่าภายในระยะเวลาและค่าเช่าที่ตกลงกัน โดยสัญญาเช่าลักษณะนี้ โดยจะมีการโอนกรรมสิทธ์ในทรัพย์สิน

Read more

เงินฝากมุฎอเราะบะห์ ตอนที่ 1

เงินฝากมุฎอเราะบะห์ (บัญชีเงินฝากแบบการลงทุน) เงินฝากมุฎอเราะบะห์ (Mudharabah investment account) นั้นได้นำหลักการทำสัญญาตามหลักมุฎอเราะบะฮ์ มาประยุกต์ใช้  หมายถึง การทำสัญญาการร่วมทำธุรกิจหรือร่วมลงทุนระหว่าง  2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือเจ้าของทรัพย์สินหรือเงินทุน (Raab ul-mal: ร็อบบุลมาล) ซึ่งได้แก่ ผู้ฝากเงินแก่ธนาคาร ให้ทุนแก่อีกฝ่ายหนึ่งคือผู้ประกอบการหรือผู้เชี่ยวชาญในการทำธุรกิจนั้น (Mudarib: มุฎอริบ) ซึ่งได้แก่ ผู้ฝากเงินแก่ธนาคารอิสลาม สถาบันการเงินอิสลาม หรือสหกรณ์อิสลาม ที่รับฝากเงิน ที่มีความรู้ความสามารถเพื่อนำเงินทุนหรือเงินฝากนั้นไปบริหารจัดการและดำเนินธุรกิจที่ไม่ขัดหลักศาสนาอิสลามหรือหลักชะรีอะห์ โดยมีข้­­อตกลงในการแบ่งปันผลกำไรตามสัดส่วนที่ตกลงร่วมกัน(Mutual Consent) เช่น 50:50  60:40 70:30 หรือ 80 : 20 เป็นต้น ในกรณีที่ขาดทุน เจ้าของเงินฝากต้องยอมรับการขาดทุนในส่วนของเงินทุนฝ่ายเดียว ขณะที่สถาบันการเงินอิสลาม หรือธนาคารอิสลาม คือผู้ประกอบการหรือผู้เชี่ยวชาญรับผิดชอบหรือขาดทุน ในส่วนที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนจากการบริหารจัดการและมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการทั่วไป 1.ผู้ฝากเงิน (Raab ul-mal: ร็อบบุลมาล) นำเงินมาฝากกับสถาบันการเงินอิสลาม หรือธนาคารอิสลาม โดยการเปิดบัญชีเงินฝากการลงทุนภายใต้หลักการมุฎอเราะบะฮ์ 2.สถาบันการเงินอิสลามหรือธนาคารอิสลาม ในฐานะผู้ประกอบการหรือผู้เชี่ยวชาญในการทำธุรกิจนั้น (Mudarib: มุฎอริบ) ลงทุนด้วยการบริหารจัดการด้วยความเชี่ยวชาญ 3.การแบ่งปันผลกำไร(Profit Sharing) ตามสัดส่วนที่ตกลงร่วมกัน (Mutual

Read more

AAOIFI องค์กรการบัญชีและการตรวจสอบสำหรับสถาบันการเงินอิสลาม

องค์กรการบัญชีและการตรวจสอบสำหรับสถาบันการเงินอิสลาม หรือ The Accounting and Auditing Organization for Islamic Financial Institutions (AAOIFI) เป็นองค์กรที่ไม่ได้แสวงหากำไรที่กำหนดนโยบายการบัญชี การตรวจสอบ บรรษัทภิบาล จริยธรรม และมาตราฐานชะรีอะห์ สำหรับสถาบันและอุตสาหกรรมการเงินอิสลาม โดยมีเป้าหมายให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลทั่วโลก (Harmonization of Islamic finance practices) AAOIFI เป็นองค์กรอิสลามที่ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกกว่า 200 สถาบันจาก 40 ประเทศทั่วโลก ซึ่งได้แก่ธนาคารกลาง สถาบันการเงินอิสลาม ธนาคารอิสลาม และอุตสาหกรรมการเงินอิสลามทั่วโลก AAOIFI ถูกจัดตั้งขึ้นสิบเนื่องจากข้อตกลงระหว่างสถาบันการเงินอิสลามวันที่ 26 ก.พ 1990 ในแอลจีเรีย และมีการจดทะเบียนจัดตั้ง AAOIFI ในวันที่ 27 มี.ค. 1991 ในประเทศบาห์เรน มาตราฐาน  AAOIFI ได้ถูกใช้เต็มรูปแบบในประเทศบาห์เรน ดูไบ จอร์แดน เลบานอน การ์ตาร์ ซูดาน และซีเรีย นอกจากนี้หลายประเทศได้ใช้มาตราฐานและการประกาศของ AAOIFI เป็นแนวทาง (guidelines)

Read more

Australia การเงินอิสลามช่วยพัฒนาประเทศ

Australia โอกาสทองกับการเงินอิสลาม เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านรัฐบาลของออสเตรเลียนำโดยภาคการเงินได้พิจารณาที่จะเปลี่ยนแปลงกฏหมายและภาษีที่จำเป็นเพื่อจะพัฒนาเป็นศูนย์กลางการเงินอิสลามแห่งภูมิภาค Asia-Pacific การเมืองและสังคมของออสเตรเลียค่อนข้างมั่นคงและมีตลาดทางการเงินที่ก้าวหน้าทำให้มีความน่าสนใจสำหรับการสร้างระบบการเงินอิสลามอย่างมืออาชีพ เพื่อเป็นศูนย์กลางการให้บริการไม่เพียงเฉพาะประชากรมุสลิมของออสเตรเลียเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการทำธุรกรรมข้ามประเทศกับอินโดนีเซียและมาเลเซียอีกด้วย Hatim El Tahir ผู้อำนวยการของบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินอย่าง  Deloitte ในประเทศ Bahrain ได้กล่าวว่าออสเตรเลียมีเศรษฐกิจที่ดี มีการลงทุนทั้งการเกษตร การลงทุน เหมืองแร่ ที่จะสินทรัพย์ที่ดีในระบบการเงินอิสลาม                    นาย Alex Regan ผู้เชียวชาญทางการเงินของบริษัท Corrs Chambers Westgarth ได้เปิดเผยว่าออสเตรเลียมีระบบการเงินอิสลามที่ดีในการพัฒนาเครื่องมือทางการเงินอิสลาม อันได้แก่ การซื้อขาย(Murabahah) การเช่า(Ijarah) การร่วมลงทุนแบบจำกัด(Mudarabah)และการใช้พันธบัตรอิสลามหรือตราสารศุกูก สำหรับโครงการใหญ่ๆ และระบบการเงินอิสลามได้มีบทบาทในการระดมทุนเพื่อพัฒนาระบบสาธารณูปโภคในออสเตรเลียเป็นอย่างมาก  หลายประเทศในตะวันออกกลางได้จับตาว่าออสเตรเลียจะเป็นประเทศที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินอิสลามเป็นอย่างมาก ที่มา : http://www.globalislamicfinancemagazine.com   เรียบเรียงโดย Muhammad Azmii Mahamad หมายเหตุไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความด้วยการอ้างอิงถึง http://www.การเงินอิสลาม.com หรือ http://www.islamicfinancethai.com

Read more
« Older Entries