Tag Archives: Islamic banking

ธนาคารโลกหรือ World Bank เปิดศูนย์พัฒนาการเงินอิสลาม

ธนาคารโลกหรือ World Bank  ได้เปิดตัวศูนย์การเงินอิสลามที่เมืองอิสตันบูล(Istanbul) ด้วยความร่วมมือกับรัฐบาลตุรกี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2013 ที่ผ่านมา โดยมีนายกรัฐมนตรีของตุรกีนาย Ali Babacan และ Jim Yong Kim ประธานธนาคารโลกได้ร่วมกันเปิดงานที่อาคาร Borsa Istanbul building ที่เมืองอิสตันบูล(Istanbul) นาย Yong Kim ประธานธนาคารโลกได้เปิดเผยว่า “นับเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ที่ธนาคารโลกได้ร่วมมือกับตุรกีในร่วมมือกันพัฒนาระบบการเงินอิสลาม(Islamic Financial system) เพื่อให้การบริการด้านคำปรึกษาและการพัฒนาสาธารณูปโภคด้านระบบการเงินอิสลาม” นายกรัฐมนตรีของตุรกีนาย Ali Babacan ได้เน้นย้ำกว่า “ระบบการเงินที่ปราศจากดอกเบี้ย(interest-free finance system) เป็นแก่นของระบบการเงินอิสลาม ไม่เพียงแต่สร้างความมั่นคงทางการเงินแต่ยังจำกัดความเสี่ยงที่ไม่จำเป็นอีกด้วย เพราะว่าระบบการเงินอิสลามนั้นเน้นการสร้างทรัพย์สินที่แท้จริงและมีมูลค่า นอกจากนี้ IMF  ได้รายงานว่าข้อดีของระบบการเงินอิสลาม คือการเป็นระบบที่ปราศจากดอกเบี้ย (interest-free finance system) อีกด้วย” จะเห็นได้ว่าในตอนนี้แม้แต่ธนาคารโลกและ IMF ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจับตาและพัฒนา การเงินอิสลามแล้ว เนื่องด้วยการเจริญเติบโตและกระแสการเงินอิสลามที่โดดเด่นและน่าจับตามองทั่วโลก   ที่มา : http://www.globalislamicfinancemagazine.com เรียบเรียงโดย Muhammad Azmii

Read more

Singapore กับการพัฒนาการเงินอิสลาม

การเงินอิสลามมีการพัฒนาที่โดดเด่นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่อยู่ภายใต้หลักชะรีอะห์จากมุสลิมทั่วโลก ปัจจุบันมีสถาบันการเงินอิสลามแล้วกว่า 300 สถาบัน ใน 75 ประเทศทั่วโลก เป็นที่น่าสนใจว่าการเงินอิสลามได้รับความสนใจจากประเทศที่ไม่ใช้ประเทศมุสลิม ฮ่องกงคือตัวอย่างหนึ่งที่ต้องการจะเป็นผู้นำทางการเงินอิสลามให้กับยักษ์ใหญ่อย่างจีน ขณะที่ลอนดอนต้องการจะเป็นศูนย์กลางการเงินอิสลามของยุโรปเช่นกัน  นอกจากนี้สิงค์โปรก็มีแนวคิดที่จะพัฒนาการเงินอิสลามก้าวเป็นชั้นนำในเอเซียเช่นกัน สิงค์โปร์(Singapore) เป็นประเทศเล็กๆที่มีพื้นที่ไม่มาก มีประชากรเพียง 5.08 ล้านคน ประกอบด้วยประชากรเชื้อชาติจีน มาเลย์ และอินเดีย ตามลำดับ ถึงแม้จะมีประชากรและทรัพยากรไม่มากแต่ประเทศสิงค์โปร์เป็นประเทศที่ประชาชนมีรายได้ที่สูงและมีการเจริญเติบโตของ GDP ที่สูงเช่นกัน ประเทศสิงคโปร์ เป็นประเทศที่เป็นศูนย์กลางด้านการเงิน และบริการทางการเงิน ดังนั้นการพัฒนาในเรื่องการเงินอิสลาม (Islamic Finance) ของสิงค์โปรจึงเป้าหมายที่น่าสนใจ การเงินอิสลามในสิงค์โปร(Islamic Finance in Singapore) รัฐบาลสิงค์โปรได้ออก พรบ.  ธนาคารอิสลามในปี 2005 และกระทรวงการคลังของสิงค์โปรได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการเงินอิสลามในสิงค์โปร โดยการแก้ไขปัญหาเรื่องภาษีที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบการเงินอิสลาม(Islamic Financial System) ในประเทศ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับระบบการเงินสากลได้ (Conventional Financial System) จากการช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐบาลทำให้สถาบันการเงินต่างๆของสิงค์โปรได้ ตั้ง Islamic windows หรือ Islamic Banking unit ขึ้นมาให้บริการได้อย่างแพร่หลาย โดยธนาคารที่ริเริ่มในการทำธุรกรรมในระบบการเงินอิสลามก็คือ HSBC Singapore

Read more

แบงค์ชั้นนำรุกตลาดการเงินอิสลาม

โมฮัมหมัด ซาลมาน ยูนิส กรรมการผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการประจำมาเลเซียของคูเวต ไฟแนนซ์ เฮาส์ ธนาคารอิสลามอันดับ 2 ของโลก รองจากอัล-ราจีแบงก์ บอกว่าบริการการเงินอิสลามกำลังเติบใหญ่จากอุตสาหกรรมเฉพาะกลายเป็นอุตสาหกรรมโลกอย่างแท้จริง และใน 3-5 ปีหน้า จะได้เห็นธนาคารอิสลามในออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น และส่วนอื่นๆ ของโลก  แบงก์ชั้นนำของโลก ทั้งซิตี้กรุ๊ป(CitiGroup)  เอชเอสบีซี(HSBC) และดอยช์แบงก์(Deutsche Bank) ตลอดจนศูนย์กลางการเงินอย่างลอนดอน โตเกียว และฮ่องกง แห่ลงสนามการธนาคารอิสลาม นอกจากสินเชื่ออิสลาม(Islamic Financing) แล้ว ยังมีพันธบัตรอิสลามหรือศุกูก (Sukuk) บัตรเครดิตอิสลาม(Islamic Credit Card) และกระทั่งตราสารอนุพันธ์อิสลาม(Islamic Derivatives) ปัจจุบันสินเชื่ออิสลาม(Islamic Financing๗ และพันธบัตรอิสลามหรือศุกูก(Sukuk) ที่ยึดคัมภีร์กุรอานเป็นบรรทัดฐาน มีให้บริการในสหรัฐฯ ขณะที่อังกฤษ ญี่ปุ่นและไทยกำลังชั่งใจออกหุ้นกู้อิสลามเช่นกัน ผลลัพธ์คือ มีความต้องการบริการการเงินอิสลาม(Islamic Financial Service) มากขึ้น ปี 2006  เนชันแนล คอมเมอร์เชียล แบงก์ ธนาคารใหญ่สุดของซาอุดีอาระเบีย ยกเครื่องธุรกิจลูกค้ารายย่อยเพื่อให้สอดคล้องกับชาริอะห์หรือกฏหมายอิสลาม ปี 2006 ตูนีเซียและโมรอกโกอนุญาตให้ธนาคารอิสลามแห่งแรกเปิดดำเนินการและแม้ธนาคารอิสลามยักษ์ใหญ่กระจุกตัวอยู่ในประเทศมั่งคั่งในอ่าวเปอร์เซีย แต่ตลาดที่ดึงดูดที่สุดกลับเป็นตุรกรี

Read more

London อนาคตศูนย์กลางการเงินอิสลามในยุโรป

ท่ามกลางกระแสการเจริญเติบโตของการเงินอิสลาม(Islamic Finance) ทั่วโลก ขณะที่การเงินกระแสหลักหรือ Conventional Financial System  ยังไม่ฟื้นจากวิกฤตเศรษฐกิจทางการเงินทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทำให้มีผู้คนสนใจระบบการเงินทางเลือกมากขึ้นนั้นก็คือ ระบบการเงินอิสลาม(Islamic Financial System) โดยเฉพาะที่เมือง London ประเทศอังกฤษจากการเปิดเผยของหนังสือพิมพ์ TheNational ว่าเมืองลอนดอนต้องการเป็นศูนย์การระบบการเงินอิสลามของยุโรบ(Europe’s Islamic Finance hub) จากการวางแผนของรัฐบาลอังกฤษ โดยมีสถาบันการเงินอิสลามในลอนดอนแล้วกว่า 22 สถาบัน และบริษัทกฏหมายอิสลามกว่า 30 บริษัทที่เป็นผู้เชียวชาญกฏหมายอิสลามด้านการเงิน นอกจากนี้ยังมีการเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกในด้านการเงินอิสลามเพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจในหลายมหาวิทยาลัยในลอนดอน นับเป็นก้าวที่น่าจับตามองอย่างยิ่งสำหรับความเคลื่อนไหวจากประเทศที่ไม่ใช่ประเทศมุสลิม แต่ประกาศว่าต้องการเป็นศูนย์กลางการเงินอิสลามในยุโรป โดย Muhammad Azmii Mahamad หมายเหตุ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความด้วยการอ้างอิงถึง www.islamicfinancethai.com

Read more

การเจริญเติบโตของการเงินอิสลาม 2013

จากการเปิดเผยข้อมูลของ IMF  สินทรัพย์ของธนาคารอิสลามทั่วโลก(Global Islamic banking assets)ในปี 2013 สูงถึง 1.8 ล้านล้านดอลลาห์แล้วซึ่งมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 17% โดยมีการคาดการณ์ว่าหากรวมสินทรัพย์ทางการเงินอิสลามทั้งหมด ในปี 2013 จะมีมูลค่าสูงถึง  2.1 ล้านล้านดอลลาห์เข้าไปแล้ว แสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างต่อเนื่องของระบบการเงินอิสลาม ที่เป็นความต้องการของมุสลิมถึง 2 พันล้านคนทั่วโลก กำลังก้าวมาเป็นระบบการเงินทางเลือกของโลกใบนี้ โดย Muhammad Azmii Mahamad หมายเหตุ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความด้วยการอ้างอิงถึง www.islamicfinancethai.com

Read more
Recent Entries »