เงินฝากมุฎอเราะบะห์ ตอนที่ 1

เงินฝากมุฎอเราะบะห์ (บัญชีเงินฝากแบบการลงทุน)

การร่วมลงทุน mudharabah

เงินฝากมุฎอเราะบะห์ (Mudharabah investment account) นั้นได้นำหลักการทำสัญญาตามหลักมุฎอเราะบะฮ์ มาประยุกต์ใช้  หมายถึง การทำสัญญาการร่วมทำธุรกิจหรือร่วมลงทุนระหว่าง  2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือเจ้าของทรัพย์สินหรือเงินทุน (Raab ul-mal: ร็อบบุลมาล) ซึ่งได้แก่ ผู้ฝากเงินแก่ธนาคาร ให้ทุนแก่อีกฝ่ายหนึ่งคือผู้ประกอบการหรือผู้เชี่ยวชาญในการทำธุรกิจนั้น (Mudarib: มุฎอริบ) ซึ่งได้แก่ ผู้ฝากเงินแก่ธนาคารอิสลาม สถาบันการเงินอิสลาม หรือสหกรณ์อิสลาม ที่รับฝากเงิน ที่มีความรู้ความสามารถเพื่อนำเงินทุนหรือเงินฝากนั้นไปบริหารจัดการและดำเนินธุรกิจที่ไม่ขัดหลักศาสนาอิสลามหรือหลักชะรีอะห์ โดยมีข้­­อตกลงในการแบ่งปันผลกำไรตามสัดส่วนที่ตกลงร่วมกัน(Mutual Consent) เช่น 50:50  60:40 70:30 หรือ 80 : 20 เป็นต้น ในกรณีที่ขาดทุน เจ้าของเงินฝากต้องยอมรับการขาดทุนในส่วนของเงินทุนฝ่ายเดียว ขณะที่สถาบันการเงินอิสลาม หรือธนาคารอิสลาม คือผู้ประกอบการหรือผู้เชี่ยวชาญรับผิดชอบหรือขาดทุน ในส่วนที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนจากการบริหารจัดการและมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการทั่วไป

เงินฝากมุฎอรอบะห์

1.ผู้ฝากเงิน (Raab ul-mal: ร็อบบุลมาล) นำเงินมาฝากกับสถาบันการเงินอิสลาม หรือธนาคารอิสลาม โดยการเปิดบัญชีเงินฝากการลงทุนภายใต้หลักการมุฎอเราะบะฮ์

2.สถาบันการเงินอิสลามหรือธนาคารอิสลาม ในฐานะผู้ประกอบการหรือผู้เชี่ยวชาญในการทำธุรกิจนั้น (Mudarib: มุฎอริบ) ลงทุนด้วยการบริหารจัดการด้วยความเชี่ยวชาญ

3.การแบ่งปันผลกำไร(Profit Sharing) ตามสัดส่วนที่ตกลงร่วมกัน (Mutual Consent) ไว้ตั้งแต่ต้น เช่น 50:50 60:40 70:30 หรือ 80: 20 เป็นต้น

4.ในกรณีที่ขาดทุน เจ้าของทรัพย์หรือเงินทุนต้องยอมรับการขาดทุนในส่วนของเงินทุนฝ่ายเดียว ขณะที่ผู้ประกอบการหรือผู้เชี่ยวชาญรับผิดชอบหรือขาดทุน ในส่วนที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนจากการบริหารจัดการและเสียต้นทุนของเวลาและค่าบริหารจัดการต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ซึ่งในกรณีขาดทุนทำให้เจ้าของบัญชีเงินฝากนั้นขาดทุนเงินทุนแต่เพียงฝ่ายเดียวนั้นอาจทำให้ลูกค้า นั้นไม่อยากจะฝากเงินในรูปแบบนี้กับสถาบันการเงินอิสลาม หรือธนาคารอิสลาม เพราะมีความเสี่ยงสูง และในประวัติืศาสตร์ในระบบธนาคารอิสลามก็เคยเผชิญหน้ากับเหตุการณ์นี้มาแล้ว ทำให้เกิดการไหลของกระแสเงินฝากออกในบางสถาบันการเงินอิสลามเนื่องจากการขาดทุน ดังนั้นระบบการเงินอิสลามจึงมีการหาทางออกและวิธีการที่เป็นการชดเชยความเสี่ยงให้กับลูกค้าให้กับผู้ฝากเงินมุฏอเราะบะห์ ดังที่จะได้กล่าวโดยละเอียดเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจต่อไป

วัลลอฮุอะลัม เรียบเรียงโดย Muhammad Azmii Mahamad

หมายเหตุ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความด้วยการอ้างอิงถึง

http://www.การเงินอิสลาม.com หรือ http://www.islamicfinancethai.com

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s