หุ้นฮาลาล หรือ หุ้นตามหลักชะรีอะฮ์
หุ้นสามัญ หรือ Common Stock คือ หลักทรัพย์ที่แสดงความเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งในบริษัท ราคาหุ้นจะเปลี่ยนแปลงตามผล ประกอบการของบริษัทและภาวะตลาด การลงทุนในหุ้นสามัญตรงกับหลักการมุซาเราะห์กะฮ์ (Musharakah) ของอิสลาม คือ การเป็นหุ้นส่วน โดยร่วมกันเป็นเจ้าของกิจการ เมื่อกิจการมีกำไรจะนำผลกำไรมาแบ่งให้กับเจ้าของในรูปแบบของเงินปันผล (Dividend) นอกจากเงินปันผลแล้วมีผลตอบแทนจากการลงทุนคือ กำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ (Capital gain) อันเนื่องมาจากการขายหลักทรัพย์ ด้วยราคาที่สูงกว่าราคาทุนที่ซื้อมา อันเนื่องมากจากมีแนวโน้มเป็นกิจการที่ดีและมีกำไรต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามความเสี่ยงในการลงทุนในหุ้นคือการเลือกซื้อหุ้นในกิจการที่ขาดทุนหรือมีแนวโน้มที่ไม่ดี อาจจะทำให้ผู้ถือหุ้นต้องขายหุ้นออกไปในราคาที่ต่ำกว่าราคาทุนที่ซื้อมาก็เป็นได้ (Capital Loss) ซึ่งเหมือนกับการซื้อขายสินค้าอื่นๆ ด้วยหลักการ มุรอบาฮะห์ (Murabahah) หากสินค้าที่ดี ตลาดมีความต้องการสูงก็สามารถขายได้ด้วยราคาที่สูงกว่าต้นทุน แต่ถ้าหากสินค้าไม่ดี ตลาดไม่เป็นที่นิยมก็ย่อมมีความเสี่ยงที่จะต้องขายได้ในราคาที่ต่ำกว่าราคาทุนนั้นเอง ซึ่งหลักการของความเสี่ยงจากการค้าขายนั้น สอดคล้องกับหลักการของอิสลามในเรื่องของ Al- ghorm bil ghonm (no reward without risk) ไม่มีผลตอบแทนหากไม่มีความเสี่ยงในธุรกิจ เฉกเช่นเดียวกันการลงทุนธุรกิจต่างๆ โดยหลักการลงทุนตามหลักศาสนาอิสลามนั้นโดยจะต้องไม่ขัดกับหลักการชะรีฮะห์ดังต่อไปนี้ ห้ามลงทุนในธุรกิจหลักมีรายได้จากริบา(Riba)หรือดอกเบี้ย ดังนั้นมุสลิมจึงไม่สามารถที่จะซื้อหุ้นสามัญของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ รวมถึงบริษัทเช่าซื้อต่างๆ ซึ่งมีรายได้หลักจากการเรียกเก็บดอกเบี้ยจากการกู้ยืม และนอกจากนี้การเปิดบัญชีเพื่อจะทำการซื้อขายหุ้นนั้นห้ามทำการเปิดบัญชีแบบมาร์จิ้น (Margin) คือ บัญชีที่ต้องมีการจ่ายดอกเบี้ยให้บริษัท Broker ที่เปิดบัญชีเพราะเป็นบัญชีแบบกู้ยืม โดยใช้เงินสดบางส่วนเท่านั้น ห้ามลงทุนในธุรกิจหลักมีรายได้จากความไม่แน่นอน(Gharar) ดังนั้นนักลงทุนมุสลิมจึงไม่สามารถซื้อหุ้นสามัญของบริษัทประกันภัยทั่วไป ที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ได้ เพราะธุรกิจประกันภัยทั่วไป นั้นมีความไม่แน่นอนในเรื่องของการการเคลมประกัน ซึ่งเราไม่ทราบว่าจะเกิดความเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุขึ้นเมื่อใด
Read more