Tag Archives: Islam

Malaysia ต้นแบบการพัฒนาระบบการเงินอิสลาม

ส่วนหนึ่งของความพยายามยาวนานในการพัฒนาอุตสาหกรรมการเงินอิสลามนั้นในมาเลเซียนั้นเริ่มจาก อังกู อับดุล อาซิส พ่อของเซติ อักตาร์ อาซิส ผู้ว่าการแบงก์ชาติแดนเสือเหลือง ได้ก่อตั้งสถาบันการเงินอิสลามสมัยใหม่แห่งแรกในชื่อ ทาบงฮาจิ (Tabunghaji) ในปี 1962 เพื่อช่วยจัดหาเงินทุนให้แก่ผู้ที่ต้องการเดินทางไปแสวงบุญที่เมกกะ และระดมการออมในชนบท รัฐบาลมาเลเซียได้ตั้งธนาคารอิสลามขึ้นมาหลายแห่งตามแผนปฏิรูปเพื่อส่งเสริมการพัฒนาประเทศต้นปี 2001 รัฐบาลเสนอมาตรการจูงใจทางภาษีและมีการแก้ไข พรบ. เพื่อให้รองรับการดำเนินงานของระบบการเงินอิสลามในหลายๆด้าน และแปลงสินทรัพย์ของประเทศอย่างน้อย 1 ใน 5 เป็นเงินทุนอิสลามภายในปี 2010 และการระดมทุนแบบอิสลามกลายเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามดึงดูดนักท่องเที่ยว การค้าและการลงทุนจากตะวันออกกลาง ย้อนกลับไปต้นทศวรรษ 1990 แดนเสือเหลืองพัฒนาพันธบัตรอิสลามหรือศุกูก (Sukuk) ขึ้นมาเป็นครั้งแรก และประสบความสำเร็จอย่างดีจนมีการออกศุกูก (Sukuk) ระดับโลกครั้งแรกในปี 2002 เพื่อระดมทุนมูลค่า 600 ล้านดอลลาร์ ปัจจุบัน ตลาดศุกูก (Sukuk) ทั่วโลกเป็นของมาเลเซีย 2 ใน 3 นอกจากนี้ปัจจุบันมาเลเซียยังมีการบริการการเงินอิสลาม(Islamic Financial Service) มากขึ้น บัตรเครดิตอิสลาม (Islamic Credit Card) ตราสารอนุพันธ์อิสลาม (Islamic Derivatives)และการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แบบอิสลาม(Islamic investment in

Read more

แบงค์ชั้นนำรุกตลาดการเงินอิสลาม

โมฮัมหมัด ซาลมาน ยูนิส กรรมการผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการประจำมาเลเซียของคูเวต ไฟแนนซ์ เฮาส์ ธนาคารอิสลามอันดับ 2 ของโลก รองจากอัล-ราจีแบงก์ บอกว่าบริการการเงินอิสลามกำลังเติบใหญ่จากอุตสาหกรรมเฉพาะกลายเป็นอุตสาหกรรมโลกอย่างแท้จริง และใน 3-5 ปีหน้า จะได้เห็นธนาคารอิสลามในออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น และส่วนอื่นๆ ของโลก  แบงก์ชั้นนำของโลก ทั้งซิตี้กรุ๊ป(CitiGroup)  เอชเอสบีซี(HSBC) และดอยช์แบงก์(Deutsche Bank) ตลอดจนศูนย์กลางการเงินอย่างลอนดอน โตเกียว และฮ่องกง แห่ลงสนามการธนาคารอิสลาม นอกจากสินเชื่ออิสลาม(Islamic Financing) แล้ว ยังมีพันธบัตรอิสลามหรือศุกูก (Sukuk) บัตรเครดิตอิสลาม(Islamic Credit Card) และกระทั่งตราสารอนุพันธ์อิสลาม(Islamic Derivatives) ปัจจุบันสินเชื่ออิสลาม(Islamic Financing๗ และพันธบัตรอิสลามหรือศุกูก(Sukuk) ที่ยึดคัมภีร์กุรอานเป็นบรรทัดฐาน มีให้บริการในสหรัฐฯ ขณะที่อังกฤษ ญี่ปุ่นและไทยกำลังชั่งใจออกหุ้นกู้อิสลามเช่นกัน ผลลัพธ์คือ มีความต้องการบริการการเงินอิสลาม(Islamic Financial Service) มากขึ้น ปี 2006  เนชันแนล คอมเมอร์เชียล แบงก์ ธนาคารใหญ่สุดของซาอุดีอาระเบีย ยกเครื่องธุรกิจลูกค้ารายย่อยเพื่อให้สอดคล้องกับชาริอะห์หรือกฏหมายอิสลาม ปี 2006 ตูนีเซียและโมรอกโกอนุญาตให้ธนาคารอิสลามแห่งแรกเปิดดำเนินการและแม้ธนาคารอิสลามยักษ์ใหญ่กระจุกตัวอยู่ในประเทศมั่งคั่งในอ่าวเปอร์เซีย แต่ตลาดที่ดึงดูดที่สุดกลับเป็นตุรกรี

Read more

London อนาคตศูนย์กลางการเงินอิสลามในยุโรป

ท่ามกลางกระแสการเจริญเติบโตของการเงินอิสลาม(Islamic Finance) ทั่วโลก ขณะที่การเงินกระแสหลักหรือ Conventional Financial System  ยังไม่ฟื้นจากวิกฤตเศรษฐกิจทางการเงินทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทำให้มีผู้คนสนใจระบบการเงินทางเลือกมากขึ้นนั้นก็คือ ระบบการเงินอิสลาม(Islamic Financial System) โดยเฉพาะที่เมือง London ประเทศอังกฤษจากการเปิดเผยของหนังสือพิมพ์ TheNational ว่าเมืองลอนดอนต้องการเป็นศูนย์การระบบการเงินอิสลามของยุโรบ(Europe’s Islamic Finance hub) จากการวางแผนของรัฐบาลอังกฤษ โดยมีสถาบันการเงินอิสลามในลอนดอนแล้วกว่า 22 สถาบัน และบริษัทกฏหมายอิสลามกว่า 30 บริษัทที่เป็นผู้เชียวชาญกฏหมายอิสลามด้านการเงิน นอกจากนี้ยังมีการเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกในด้านการเงินอิสลามเพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจในหลายมหาวิทยาลัยในลอนดอน นับเป็นก้าวที่น่าจับตามองอย่างยิ่งสำหรับความเคลื่อนไหวจากประเทศที่ไม่ใช่ประเทศมุสลิม แต่ประกาศว่าต้องการเป็นศูนย์กลางการเงินอิสลามในยุโรป โดย Muhammad Azmii Mahamad หมายเหตุ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความด้วยการอ้างอิงถึง www.islamicfinancethai.com

Read more

การเจริญเติบโตของการเงินอิสลาม 2013

จากการเปิดเผยข้อมูลของ IMF  สินทรัพย์ของธนาคารอิสลามทั่วโลก(Global Islamic banking assets)ในปี 2013 สูงถึง 1.8 ล้านล้านดอลลาห์แล้วซึ่งมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 17% โดยมีการคาดการณ์ว่าหากรวมสินทรัพย์ทางการเงินอิสลามทั้งหมด ในปี 2013 จะมีมูลค่าสูงถึง  2.1 ล้านล้านดอลลาห์เข้าไปแล้ว แสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างต่อเนื่องของระบบการเงินอิสลาม ที่เป็นความต้องการของมุสลิมถึง 2 พันล้านคนทั่วโลก กำลังก้าวมาเป็นระบบการเงินทางเลือกของโลกใบนี้ โดย Muhammad Azmii Mahamad หมายเหตุ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความด้วยการอ้างอิงถึง www.islamicfinancethai.com

Read more
Recent Entries »