Tag Archives: Islam

มะฮัรตามซุนนะห์(Sunnah Mahar)

มะฮัรตามซุนนะห์(Sunnah Mahar) อิสลามได้กำหนดเงื่อนไขที่ทำให้การแต่งงานใช้ได้หรือไม่ ด้วยการที่เจ้าบ่าวต้องจ่ายมะฮัรแก่เจ้าสาว แม้ว่าฝ่ายเจ้าสาวจะยินยอมแต่งโดยไม่คิดค่าสินสอดก็ตาม ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่า “พวกเจ้าจงมอบปัจจัยทานเป็นของขวัญแก่เหล่าสตรีเถิด” (อันนิสาอฺ : 4) “มะฮัร”  ตามหลักการของศาสนานั้น หมายถึง “ทรัพย์ที่ทางเจ้าบ่าวจะมอบแก่เจ้าสาวของตนในพิธีสมรส ไม่ใช่สินสอดที่ให้แก่บิดามารดาของเธอ” แต่เมื่อเธอได้รับมันแล้ว เธอก็สามารถที่จะมอบทรัพย์บางส่วนแก่ใครก็ได้ที่เธอต้องการ เนื่องจากเป็นสิทธิ์ของเธอแล้ว อิสลามไม่กำหนดมะฮัร แต่ได้มอบหมายให้กับความพร้อมของฝ่ายชายและความสบายใจของฝ่ายหญิง ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละสังคมที่แตกต่างกันไป ท่านนบี  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้กล่าวแก่ชายคนหนึ่งที่ต้องการแต่งงานกับสตรีนางหนึ่งว่า “จงหาค่ามะฮัรถึงแม้จะเป็นแหวนเหล็กเพียงวงหนึ่งก็ตาม แต่ชายคนนั้นไม่สามารถหาได้เช่นเดียวกัน ท่านนะบี จึงแต่งงานด้วยการให้ชายคนนั้นสอนบางซูเราะฮ์ในอัลกุรอานให่แก่สตรีที่จะแต่งงานด้วย” (รายงานโดยอัลบุคอรีย์/5135) ท่านนบี  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)  ได้ทำการสมรสบรรดาบุตรีและภรรยาของท่านจำนวน  500 ดิรฮัม  ดังนั้นโต๊ะครูสมัยก่อนได้ตีราคามะฮัรจำนวน  500  ดิรฮัมว่า  1  ดิรฮัมเท่ากับ  1  สลึง  (ซึ่งในสมัยนั้น 1 สลึง ก็มีค่าพอสมควร)4  สลึงเป็น  1  บาท  เอา  4  หารด้วยกับ  500  =  125  บาท  บรรดาผู้ใหญ่สมัยก่อนจึงกำหนดมะฮัรที่ฝ่ายชายต้องมอบให้แก่ฝ่ายหญิงเป็นจำนวน  125  บาท  ซึ่งก็ถือว่ามีจำนวนมากอยู่(ที่นาสมัยก่อนราคาไม่กี่ร้อยบาท) ซึ่งธรรมเนียมดังกล่าวก็ได้สืบทอดมาถึงปัจจุบัน แต่เนื่องจากสมัยท่านนบี  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)

Read more

AAOIFI องค์กรการบัญชีและการตรวจสอบสำหรับสถาบันการเงินอิสลาม

องค์กรการบัญชีและการตรวจสอบสำหรับสถาบันการเงินอิสลาม หรือ The Accounting and Auditing Organization for Islamic Financial Institutions (AAOIFI) เป็นองค์กรที่ไม่ได้แสวงหากำไรที่กำหนดนโยบายการบัญชี การตรวจสอบ บรรษัทภิบาล จริยธรรม และมาตราฐานชะรีอะห์ สำหรับสถาบันและอุตสาหกรรมการเงินอิสลาม โดยมีเป้าหมายให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลทั่วโลก (Harmonization of Islamic finance practices) AAOIFI เป็นองค์กรอิสลามที่ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกกว่า 200 สถาบันจาก 40 ประเทศทั่วโลก ซึ่งได้แก่ธนาคารกลาง สถาบันการเงินอิสลาม ธนาคารอิสลาม และอุตสาหกรรมการเงินอิสลามทั่วโลก AAOIFI ถูกจัดตั้งขึ้นสิบเนื่องจากข้อตกลงระหว่างสถาบันการเงินอิสลามวันที่ 26 ก.พ 1990 ในแอลจีเรีย และมีการจดทะเบียนจัดตั้ง AAOIFI ในวันที่ 27 มี.ค. 1991 ในประเทศบาห์เรน มาตราฐาน  AAOIFI ได้ถูกใช้เต็มรูปแบบในประเทศบาห์เรน ดูไบ จอร์แดน เลบานอน การ์ตาร์ ซูดาน และซีเรีย นอกจากนี้หลายประเทศได้ใช้มาตราฐานและการประกาศของ AAOIFI เป็นแนวทาง (guidelines)

Read more

ธนาคารโลกหรือ World Bank เปิดศูนย์พัฒนาการเงินอิสลาม

ธนาคารโลกหรือ World Bank  ได้เปิดตัวศูนย์การเงินอิสลามที่เมืองอิสตันบูล(Istanbul) ด้วยความร่วมมือกับรัฐบาลตุรกี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2013 ที่ผ่านมา โดยมีนายกรัฐมนตรีของตุรกีนาย Ali Babacan และ Jim Yong Kim ประธานธนาคารโลกได้ร่วมกันเปิดงานที่อาคาร Borsa Istanbul building ที่เมืองอิสตันบูล(Istanbul) นาย Yong Kim ประธานธนาคารโลกได้เปิดเผยว่า “นับเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ที่ธนาคารโลกได้ร่วมมือกับตุรกีในร่วมมือกันพัฒนาระบบการเงินอิสลาม(Islamic Financial system) เพื่อให้การบริการด้านคำปรึกษาและการพัฒนาสาธารณูปโภคด้านระบบการเงินอิสลาม” นายกรัฐมนตรีของตุรกีนาย Ali Babacan ได้เน้นย้ำกว่า “ระบบการเงินที่ปราศจากดอกเบี้ย(interest-free finance system) เป็นแก่นของระบบการเงินอิสลาม ไม่เพียงแต่สร้างความมั่นคงทางการเงินแต่ยังจำกัดความเสี่ยงที่ไม่จำเป็นอีกด้วย เพราะว่าระบบการเงินอิสลามนั้นเน้นการสร้างทรัพย์สินที่แท้จริงและมีมูลค่า นอกจากนี้ IMF  ได้รายงานว่าข้อดีของระบบการเงินอิสลาม คือการเป็นระบบที่ปราศจากดอกเบี้ย (interest-free finance system) อีกด้วย” จะเห็นได้ว่าในตอนนี้แม้แต่ธนาคารโลกและ IMF ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจับตาและพัฒนา การเงินอิสลามแล้ว เนื่องด้วยการเจริญเติบโตและกระแสการเงินอิสลามที่โดดเด่นและน่าจับตามองทั่วโลก   ที่มา : http://www.globalislamicfinancemagazine.com เรียบเรียงโดย Muhammad Azmii

Read more

การเงินอิสลามอาจช่วยโลกได้

            รัฐบาลอังกฤษตัดสินใจที่จะออกพันธบัตรอิสลามหรือศุกูก(Sukuk) ซึ่งเป็นตราสารที่ภายใต้หลักชะรีอะห์ มีคำถามที่ถูกถามขึ้นก็คือ ประเทศที่ไม่ใช่ประเทศมุสลิมอย่างอังกฤษหรือประเทศอื่นๆทำไมถึงได้สนใจการเงินอิสลาม?                     รัฐบาลอังกฤษมีแผนที่จะออกพันธบัตรอิสลามหรือศุกูก(Sukuk) มูลค่า $323 ล้าน เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเป็นศูนย์กลางการเงินอิสลามของยุโรป George Osborne รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง กล่าวแก่ Financial Times ว่า “รัฐบาลอังกฤษต้องการที่จะออกพันธบัตรอิสลามหรือศุกูก (Sukuk) ซึ่งเป็นการออกพันธบัตรอิสลามนอกประเทศมุสลิมเป็นครั้งแรก แต่ประเทศเยอรมัน ได้เป็นประเทศแรกไปแล้วในการออกพันธบัตรอิสลามในปี 2004   พันธบัตรอิสลามหรือศุกูก(Sukuk) จะต้องมีทรัพย์สินอ้างอิง (Underlying assets) เสมอ   โดยทรัพย์สินอ้างอิง (Underlying assets) จะเป็นทรัพย์สินที่สร้างกระแสรายได้สำหรับการระดมทุน ซึ่งแตกต่างกับพันธบัตรทั่วไปซึ่งเป็นในลักษณะการกู้ยืมโดยมีดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทน ซึ่งอาจจะสร้างความเสียหายได้กับระบบเศรษฐกิจเฉกเช่น วิกฤตการเงินปี 2008 Subprime Crisis เป็นการนำหนี้ที่ไม่มีคุณภาพ และอนุพันธ์ (Derivatives) มาอ้างอิง ซึ่งเป็นข้อห้ามของการเงินอิสลาม การเงินอิสลามอาจจะเป็นบางสิ่งบางอย่างที่โลกนี้ต้องการ และผู้คนทั่วไปสามารถที่จะเข้าใจระบบของมันได้” ที่มา Bloomberg เรียบเรียงโดย Muhammad Azmii

Read more

Singapore กับการพัฒนาการเงินอิสลาม

การเงินอิสลามมีการพัฒนาที่โดดเด่นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่อยู่ภายใต้หลักชะรีอะห์จากมุสลิมทั่วโลก ปัจจุบันมีสถาบันการเงินอิสลามแล้วกว่า 300 สถาบัน ใน 75 ประเทศทั่วโลก เป็นที่น่าสนใจว่าการเงินอิสลามได้รับความสนใจจากประเทศที่ไม่ใช้ประเทศมุสลิม ฮ่องกงคือตัวอย่างหนึ่งที่ต้องการจะเป็นผู้นำทางการเงินอิสลามให้กับยักษ์ใหญ่อย่างจีน ขณะที่ลอนดอนต้องการจะเป็นศูนย์กลางการเงินอิสลามของยุโรปเช่นกัน  นอกจากนี้สิงค์โปรก็มีแนวคิดที่จะพัฒนาการเงินอิสลามก้าวเป็นชั้นนำในเอเซียเช่นกัน สิงค์โปร์(Singapore) เป็นประเทศเล็กๆที่มีพื้นที่ไม่มาก มีประชากรเพียง 5.08 ล้านคน ประกอบด้วยประชากรเชื้อชาติจีน มาเลย์ และอินเดีย ตามลำดับ ถึงแม้จะมีประชากรและทรัพยากรไม่มากแต่ประเทศสิงค์โปร์เป็นประเทศที่ประชาชนมีรายได้ที่สูงและมีการเจริญเติบโตของ GDP ที่สูงเช่นกัน ประเทศสิงคโปร์ เป็นประเทศที่เป็นศูนย์กลางด้านการเงิน และบริการทางการเงิน ดังนั้นการพัฒนาในเรื่องการเงินอิสลาม (Islamic Finance) ของสิงค์โปรจึงเป้าหมายที่น่าสนใจ การเงินอิสลามในสิงค์โปร(Islamic Finance in Singapore) รัฐบาลสิงค์โปรได้ออก พรบ.  ธนาคารอิสลามในปี 2005 และกระทรวงการคลังของสิงค์โปรได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการเงินอิสลามในสิงค์โปร โดยการแก้ไขปัญหาเรื่องภาษีที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบการเงินอิสลาม(Islamic Financial System) ในประเทศ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับระบบการเงินสากลได้ (Conventional Financial System) จากการช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐบาลทำให้สถาบันการเงินต่างๆของสิงค์โปรได้ ตั้ง Islamic windows หรือ Islamic Banking unit ขึ้นมาให้บริการได้อย่างแพร่หลาย โดยธนาคารที่ริเริ่มในการทำธุรกรรมในระบบการเงินอิสลามก็คือ HSBC Singapore

Read more
« Older Entries