Category Archives: มุอามาลาต

มุฎอเราะบะห์ (Mudarabah: การร่วมลงทุน)

  การทำสัญญาตามหลักมุฎอเราะบะฮ์ (مضاربۃ) หมายถึง การทำสัญญาการร่วมทำธุรกิจหรือร่วมลงทุนระหว่าง 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือเจ้าของทรัพย์สินหรือเงินทุน (Raab ul-mal: ร็อบบุลมาล) ให้ทุนแก่อีกฝ่ายหนึ่งคือผู้ประกอบการหรือผู้เชี่ยวชาญในการทำธุรกิจนั้น (Mudarib: มุฎอริบ) ที่มีความรู้ความสามารถเพื่อนำเงินทุนไปบริหารจัดการและดำเนินธุรกิจที่ไม่ขัดหลักศาสนาอิสลามหรือหลักชะรีอะห์ โดยมีข้อตกลงในการแบ่งปันผลกำไรตามสัดส่วนที่ตกลงร่วมกัน(Mutual Consent) เช่น 50:50 60:40 70:30 หรือ 80 : 20 เป็นต้น ในกรณีที่ขาดทุน เจ้าของทรัพย์หรือเงินทุนต้องยอมรับการขาดทุนในส่วนของเงินทุนฝ่ายเดียว ขณะที่ผู้ประกอบการหรือผู้เชี่ยวชาญรับผิดชอบหรือขาดทุน ในส่วนที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนจากการบริหารจัดการและเสียต้นทุนของเวลาและแรงที่ลงทุนไปในการบริหารจัดการ ดังนั้นเจ้าของทรัพย์สินหรือเงินทุน (Raab ul-mal: ร็อบบุลมาล) โดยทั่วไปมักจะต้องการสัดส่วนจากกำไรมากกว่าเพื่อมาชดเชยความเสี่ยงในกรณีที่ขาดทุน  ติดตามรายละเอียดได้ที่ มุฎอเราะบะห์ (Mudarabah: การร่วมลงทุน)

Read more

บัยอฺ อัล มุซาวามะห์(Bai al Musawama)

บัยอฺอัลมุซาวามะห์(Bai al Musawama) หรือ بيع المساومة คือการซื้อขายสินค้าทั่วไประหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยไม่มีการเปิดเผยต้นทุนหรือแจกแจงต้นทุนและกำไรให้ลูกค้าทราบและสามารถต่อรองราคาได้ โดยทั่วไปบัยอฺ อัล มุซาวามะห์จะมีการส่งมอบสินค้าและชำระเงินทันที (On spot) ตัวอย่างการซื้อขายแบบ บัยอฺอัลมุซาวามะห์(Bai al-Musawama) พบได้ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเดินตลาด ซื้ออาหาร ซื้อเสื้อผ้าฯลฯ  ซึ่งไปเป็นตามองค์ประกอบของการซื้อขายของอิสลามคือ  1. มีผู้ซื้อ 2. มีผู้ขาย 3. มีสินค้า และการส่งมอบสินค้า 4. มีการตกลงราคา 5. อากัด(Aqad)คือการทำสัญญาซื้อขายด้วยการเปล่งวาจา หรือด้วยกิริยาท่าทาง  

Read more
Recent Entries »