Category Archives: มุอามาลาต

การเทรด Forex ทำได้หรือไม่ ตามหลักชะรีอะฮ์?

การเทรด FOREX แบบ online ในปัจจุบันที่มีแพร่หลายนั้น ในรูปแบบของการเปิด position ของคู่สกุลเงินต่างๆ (ที่ไม่ใช่การซื้อขายสกุลเงินจริงๆ จาก currency exchange)  นั้นถือว่าไม่อนุญาตหรือ ฮารอม ไม่เป็นไปตามหลักชะรีอะฮ์ ดังนี้ ทัศนะจาก Islamqa ถือว่าการซื้อขาย FOREX นั้นฮารอม เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการใช้ leverage(การยืมเงิน broker เพื่อเทรด)  และ margin (เงินประกัน)รวมถึงเป็นสัญญา future  ซึ่ง Islam Fiqh Council ครั้งที่ 63 ใน Jeddah ประเทศซาอุดิอารเบีย ได้มีคำฟัตวาไม่อนุญาตให้ทำการเทรด Forex เพื่อเอากำไร ถึงแม้จะมีการกล่าวอ้างตาม broker ว่ามี Islamic Forex account แต่เนื่องจากเป็นการใช้ leverage จึงฮารอมในการเทรดเอากำไร ทัศนะจาก Seekersguidance รูปแบบการซื้อสกุลเงินทั่วไปแบบ currency exchange สามารถทำได้ เนื่องจากเป็นการชำระเต็มจำนวนและส่งมอบสกุลเงินในทันที แต่การเทรด Forex นั้นไม่อนุญาต

Read more

การใช้บัตรเครดิตตามหลักการอิสลาม

บัตรเครดิต ใช้อย่างไรให้ถูกหลักศาสนาอิสลาม ธุรกรรมสมัยใหม่ที่เข้ามามีบทบาท ที่หลายๆคนรู้จักและใช้บริการอยู่ นั่นคือ บริการบัตรเครดิต จากธนาคารต่างๆ ที่เข้ามาให้บริการลูกค้าบัตรเครดิตนั้นเปรียบไปแล้วก็เหมือนกับวงเงินที่ธนาคารมอบให้แก่ผู้ที่มีเครดิต สามารถนำบัตรเครดิตไป ซื้อสินค้าและบริการแทนเงินสด ข้อดีและความสะดวกของการใช้บัตรเครดิต 1. ได้สิทธิ์รับส่วนลด ส่วนคืนเงินสด และแต้มสะสม เมื่อสมัครชำระค่าบริการรายเดือนต่างๆ ผ่านบัญชีบัตรเครดิตโดยอัตโนมัติ เช่น ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเอไอเอส จะให้ส่วนลด 5% แก่ลูกค้าที่จ่ายค่าบริการรายเดือนด้วยวิธีการนี้ เป็นต้น 2. รับสิทธิพิเศษ และสิทธิประโยชน์จากร้านค้า หรือผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโปรโมชั่นกับบัตรเครดิตที่ใช้  สิทธิพิเศษดีๆ ที่บางครั้งเงินก็ไม่สามารถซื้อได้ เช่นที่จอดรถพิเศษเฉพาะในห้างสรรพสินค้าชื่อดัง หรืออาจจะต้องชำระเงินเป็นหลักพันเพื่อให้ได้ใช้บริการ อย่างสิทธิ์ในการเข้าใช้ห้องพักรับรองที่สนามบิน ตลอดจนการ ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่ร้านอาหารบางร้านเข้าร่วมโดยเพียงใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตตรงตามเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ทางร้านหรือบัตรเครดิตของกำหนด ก็จะได้รับของแถม ส่วนลด หรือสิทธิพิเศษอื่นๆ ที่มากกว่าซึ่งในบางครั้งการชำระค่าใช้จ่ายด้วยเงินสดอาจจะไม่ได้รับอะไรเพิ่มเลย 3. ลดความยุ่งยากของการชำระค่าสาธารณูปโภค และค่าใช้จ่ายประจำที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์บ้าน ค่ามือถือ ค่าบริการอินเตอร์เน็ตรายเดือน และค่าบริการเคเบิ้ลทีวี ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้และต้องชำระทุกๆ เดือน ดังนั้นการทำเรื่องขอชำระค่าบริการรายเดือนผ่านบัตรเครดิตเพื่อจ่ายค่าสาธารณูปโภคทั้งหลายนอกจากจะช่วยทำ ให้ประหยัดเวลาที่จะต้องมาคอยเดินไล่จ่ายบิลค่าบริการของแต่ละที่ ไม่ต้องมาคอยนั่งจดจำเดดไลน์กำหนดชำระค่าบริการ และลดปัญหาความยุ่งยากในกรณีที่ลืมชำระค่าบริการอย่างเช่นค่าไฟฟ้านี่ หากลืมจ่ายจนเกิดเป็นยอดค้างชำระแล้ว จะต้องเดินทางไปชำระยอดค้างชำระนั้นๆโดยตรงที่สำนักงานการไฟฟ้าฯ ไม่สามารถชำระตามเคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือเคาน์เตอร์ธนาคารได้นอกจากนั้นในบางทีการสมัครชำระค่าบริการสาธารณูปโภคผ่านบัตรเครดิตยังจะได้รับข้อเสนอดีๆ เพิ่มขึ้นอีก 4. ใช้ทำธุรกรรมต่างๆ

Read more

บัยอฺ อัล มุอาฏอฮฺ (Bai al mu’ atah)

  บัยอฺ อัล มุอาฏอฮฺ (Bai al mu’ atah)( بيع المعاطاة ) เป็นการซื้อขายที่เราจะเห็นได้เป็นประจำในการใช้ชีวิตในทุกวันนี้ คือ การที่ผู้ซื้อ(buyer) เลือกหยิบสินค้าจากแผงโชว์สินค้า(Invitation to treat) โดยที่สินค้านั้นมีป้ายราคาแสดงไว้เรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อจึงนำเงินไปจ่ายให้แก่ผู้ขายตามป้ายราคานั้นที่จุดชำระเงิน จะเห็นได้ว่าการซื้อขายในรูปแบบนี้ไม่มีการทำคำการเสนอขาย(Ijab) และสนองรับ(Qabuul) เป็นคำพูดตามองค์ประกอบหลักการซื้อขายทั่วไปของอิสลาม บัยอฺ อัล มุอาฏอฮฺ (Bai al mu’ atah) มีการโชว์สินค้า(Invitation to treat) พร้อมด้วยป้ายราคา การเสนอขาย (Ijab) และ การสนองรับ(Qabuul) ด้วยกับการกระทำการที่ผู้ซื้อนำเงินมาจ่ายเท่ากับป้ายราคาของสินค้าที่ต้องการจะซื้อตามป้ายราคาของสินค้านั้นๆ ที่จุดชำระเงิน และการซื้อขายเกิดขึ้นเมื่อมีการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ตามความเห็นส่วนใหญ่ในมัซฮับชาฟีอีย์นั้นเห็นว่า ผู้ซื้อขายทั้งสองฝ่ายจะต้องกล่าวถ้อยคำเสนอขายและคำสนองรับบัยอฺ อัล มุอาฏอฮฺ (Bai al mu’ atah)จึงถือว่าใช้ไม่ได้ตามแนวทางดังกล่าวแต่นักวิชาการบางท่านในมัซฮับชาฟีอีย์ถือว่าการซื้อขายแบบบัยอฺ อัล มุอาฏอฮฺ (Bai al mu’ atah) มีผลใช้ได้กับสินค้าที่มีราคาเล็กน้อย อย่างไรก็ตามท่านอันนะวาวีย์ (ร.ฮ.) นักวิชาการสังกัดมัซฮับชาฟีอีย์มีความเห็นว่าบัยอฺ อัล มุอาฏอฮฺ (Bai

Read more

หลักการการซื้อขายในอิสลาม

การซื้อขาย ในภาษาอาหรับเรียกการซื้อขายว่า อัล-บัยอฺ (اَلْبَيْعُ) ตามหลักภาษา หมายถึง การแลกเปลี่ยนสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง หรือการให้สิ่งที่มีราคา (สินค้า) และเอาราคาหรือกลับกัน เรียกการซื้อว่า “อัชชิรออฺ” (اَلشِّرَاءُ) และเรียกผู้ซื้อว่า อัล-มุชตะรีย์ (اَلمُشْتَرِىْ) เรียกการขายว่า อัล-บัยอฺ (اَلْبَيْعُ) และเรียกผู้ขายว่า อัลบาอิอฺ (اَلْبَائِعُ) ส่วนนิยามในทางนิติศาสตร์ หมายถึง การทำข้อตกลงแลกเปลี่ยนสิ่งที่เป็นทรัพย์สินกับทรัพย์สินที่ใช้ประโยชน์ได้เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งครอบครองตลอดไป โดยมีคำเสนอและคำสนอง   บัญญัติว่าด้วยการซื้อขาย ข้อตกลงซื้อขายเป็นสิ่งที่อนุมัติในอิสลาม ดังมีหลักฐานปรากฏ ดังนี้ (1) หลักฐานจากอัลกุรฺอาน ระบุว่า: (وَأَحَلَّ اللهُ الْبَيْعَ وَحَرَّمَ الرِّبَا) “และอัลลอฮฺทรงอนุมัติการซื้อขายและทรงห้ามเรื่องดอกเบี้ย” (สูเราะฮฺ อัล-บะกอเราะฮฺ อายะฮฺที่ 275)   (2) หลักฐานจากอัล-หะดีษ ท่านนบีฯ (صلى الله عليه وسلم) ได้ถูกถามว่า : (أَيُّ الْكَسْبِ أَطْيَبُ فَقَالَ:عَمَلُ الرَّجُلِ بِيَدهِ

Read more

อิญาเราะฮ์ (Ijarah)

อิญาเราะฮ์ (Ijarah = Leasing) หรือในภาษาอาหรับ الإجارة คือ สัญญาจ้างหรือสัญญาเช่า หมายถึง การที่เจ้าของทรัพย์สินโอนสิทธิประโยชน์การใช้ทรัพย์สิน (Usufruct) ให้อีกฝ่ายหนึ่ง โดยมีค่าเช่าเป็นค่าตอบแทนภายในระยะเวลาที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน โดยกรรมสิทธิของทรัพย์สินยังคงเป็นของเจ้าของทรัพย์หรือผู้ให้เช่า โดยมีหลักฐานจากอัลกุรอ่าน สูเราะฮฺ อัล-เกาะศ็อศ อายะห์ที่ 26-27 ดังนี้ อิญาเราะฮ์ (Ijarah) หรือ การเช่ามี 2 ประเภทคือ 1.การเช่าดำเนินการ หรือ Operating leasing หมายถึง เจ้าของทรัพย์สินให้เช่าแก่ผู้เช่าภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน โดยเจ้าของทรัพย์สินจะนำทรัพย์สินที่เช่าไปใช้ประโยชน์ตามที่ระบุในสัญญาหรือที่ตกลงกันนั้นเท่านั้น ตัวอย่างที่พบกันทั่วไปคือ การจ้างงานหรือการทำงานได้รับเงินเดือน (การเช่าความรู้ความสามารถ) การเช่าหอพักอาศัย การเช่าอาคาร การเช่าเพื่อทำร้านค้า การเช่าห้องแถว เป็นต้น ภายใต้หลักการอิญาเราะฮ์ (Ijarah) แบบ การเช่าดำเนินการ (Operating leasing) ธนาคารหรือสถาบันการเงินอิสลามจะให้สินเชื่อกับลูกค้าโดยการซื้อทรัพย์สินตามที่ลูกค้าต้องการ แล้วนำมาให้ลูกค้าเช่าภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน โดยลูกค้าจะนำทรัพย์สินที่เช่าไปใช้ประโยชน์ตามที่ระบุในสัญญาเท่านั้น โดยที่ทรัพย์สินยังเป็นของสถาบันการเงินหรือธนาคารอาจจะนำทรัพย์สินนี้ไปขายทอดตลาดหรือนำไปให้เช่าต่อลูกค้ารายอื่น   2.การเช่าทางการเงิน หรือ Financial Lease เป็นรูปแบบที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอิสลามนำมาใช้เพื่อให้บริการการเช่าซื้อกับลูกค้า นั่นก็คือการที่ธนาคารให้สินเชื่อกับลูกค้าโดยธนาคารหรือสถาบันการเงินอิสลามซื้อทรัพย์สินตามที่ลูกค้าต้องการ แล้วนำมาให้ลูกค้าเช่าภายในระยะเวลาและค่าเช่าที่ตกลงกัน โดยสัญญาเช่าลักษณะนี้ โดยจะมีการโอนกรรมสิทธ์ในทรัพย์สิน

Read more
« Older Entries