ความแตกต่างของสหกรณ์อิสลามกับสหกรณ์รูปแบบอื่น

 สหกรณ์อิสลาม

การดำเนินการของสหกรณ์อิสลามนั้นแตกต่างจากการดำเนินการของสหกรณ์ทั่วไปที่มีการใช้ระบบดอกเบี้ย และเนื่อจากการดำเนินการของสหกรณ์อิสลามนั้นเกี่ยวกับหลักการมุอามะละฮฺ หรือ”กีตาบุล-มุอามะละฮฺ” ในวิชาฟิกฮฺ คือเป็นกิจการที่เข้าอยู่ประเภทการค้าขาย ธุรกิจ การสังคม และที่มาของทบัญญัติหรือกฎหมายอิสลาม มาจาก”วะฮฺยู” หรือ“วะฮียฺ” ที่อัลลอฮฺประทานมา แหล่งที่มาดังกล่าวคือ อัลกุรอาน สุนนะฮฺหรือฮะดีษ (แบบอย่างคำสอนของท่านศาสดาฯมูฮัมมัด อิจญ์มาอฺ (ความเห็นสอดคล้องเป็นเอกฉันท์ของอุละมาอฺ)

กฏหมายอิสลาม

ดังนั้นหลักการในการดำเนินงานของของสหกรณ์รูปแบบอิสลามโดยเฉพาะการดำเนินธุรกิจจึงจะมีความแตกต่างที่เจตนาอย่างชัดเจนกับสหกรณ์โดยทั่วไปพอสรุปได้ดังนี้

1. อัลลอฮทรงอนุญาตการค้าขายและทรงห้ามการริบา (อัล-กุรอาน 2: 275)

สหกรณ์รูปแบบอิสลามห้ามเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยหรือริบา ไม่ว่ากรณีใด ๆ เพราะอิสลามถือว่าดอกเบี้ยเป็นส่วนหนึ่งของความไม่ยุติธรรมและเป็นภัยมากกว่าผลดีโดยเฉพาะในยามเศรษฐกิจตกต่ำ

 Untitled

2) สหกรณ์รูปแบบอิสลามห้ามเกี่ยวข้องกับธุรกิจต้องห้ามตามหลักศาสนา ได้แก่ การพนันหรืออบายมุข  สุรา สุกร หรือสุกร เป็นต้น

 Maisir การเงินอิสลาม.com

3) สหกรณ์อิสลามโดยส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นในด้านการทำธุรกิจการค้า (ติญารี) ดังนั้นเป้าหมายที่สำคัญคือการค้าขาย (ขายบวกกำไร) หรือหลักมุรอบาฮะห์ หรือการเป็นหุ้นส่วนกันทำธุรกิจหรือมุชารอกะห์ ให้เป็นไปตามหลักการอิสลามที่กำหนด ทั้งนี้จะต้องกับกฎหมายเป็นสำคัญ

4) การทำสัญญาหรือการทำธุรกรรมในสหกรณ์รูปแบบอิสลามมิใช่เป็นสัญญาเงินกู้ แต่เป็นสัญญาซื้อขาย หรือมุรอบาฮะห์ ในระบบสหกรณ์อิสลามจึงเป็นที่ชัดเจนตายตัวตามทีทั้งสองฝ่ายตกลงให้คำสัญญาระหว่างกันคือ ระหว่างสหกรณ์อิสลาม (ผู้ขาย) กับสมาชิกสหกรณ์ (ผู้ซื้อ) หากสมาชิกผิดสัญญาสหกรณ์อิสลามอาจจะนำหลักทรัพย์ค้ำประกันไปขายและนำเงินที่ขายมาหักหนี้ที่สมาชิกยังค้างอยู ส่วนที่เหลือจะคืนให้แก่สมาชิก

 มุรอบาฮะฮ์ 2

5) สหกรณ์รูปแบบอิสลามสามารถควบคุมระบบและป้องกันการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ เพราะสหกรณ์รูปแบบอิสลามไม่ได้ให้เครดิตเป็นตัวเงินออกไปให้กับสมาชิก แต่จะให้เป็นสิ่งของตามที่ต้องการ

6) กำไรที่เกิดขึ้นจากการประกอบการของสหกรณ์รูปแบบอิสลามจะถูกนำไปจ่ายเป็น ซะกาตร้อยละ 2.5 ตามข้อบัญญัติของศาสนาอิสลาม ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้สำหรับสงเคราะห์สังคมตามหลักเกณฑ์ที่ศาสนาอิสลามกำหนด เช่น คนยากจน คนขัดสน คนมีหนี้สินล้นพ้นตัว และสาธารณกุศลต่าง ๆ ซึ่งอิสลามได้กำหนดลักษณะของบุคคลในจำนวนคน 8ประเภททีมีสิทธิพึ่งจะได้รับซะกาตไว้

ZAKAT_opener

วัลลอฮุอะลัม เรียบเรียงโดย Muhammad Azmii Mahamad
หมายเหตุ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความด้วยการอ้างอิงถึง
http://www.การเงินอิสลาม.com หรือ http://www.islamicfinancethai.com

One comment

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s