มุซาเราะกะฮฺ มูตานากีเศาะฮ(Musharakah Mutanaqisah)

Musharakah Mutanaqisah2

มุซาเราะกะฮฺ มูตานากีเศาะฮ(Musharakah Mutanaqisah) หรือ Diminishing Musharakah (การร่วมลงทุนแบบถดถอย)ตามหลักวิชาการ  หมายถึง รูปแบบหนึ่งของการร่วมทุนตามหลักมุซาเราะกะฮฺ (Musharakah)  โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่าหุ้นส่วนฝ่ายหนึ่งสามารถซื้อหุ้นส่วนของอีกฝ่ายหนึ่งออกจากการเป็นหุ้นส่วนร่วมไปเรื่อยๆเพื่อการครอบครองกรรมสิทธ์ในกิจการทีทำธุรกิจร่วมกันแต่เพียงผู้เดียวarab bus

การดำเนินธุรกิจของธนาคารภายใต้หลัก มุซาเราะกะฮฺ มูตานากีเศาะฮ(Musharakah Mutanakisah) มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมทุนในกิจการของลูกค้าโดยธนาคารอิสลามยินยอมให้ลูกค้าซื้อหุ้นส่วนของธนาคารในกิจการดังกล่าวไปเรื่อยๆจนหมดสิ้น เพื่อการครอบครองกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว

องค์ประกอบของหลักการมุซาเราะกะฮฺ มูตานากีเศาะฮ(Musharakah Mutanaqisah)

 1.คู่สัญญาทำการเป็นหุ้นส่วน ที่จะทำข้อตกลงกันทั้งสองฝ่ายด้วยความสมัครใจและจะต้องเป็นบุคคลที่บรรลุศาสนภาวะ มีสติปัญญาสมบูรณ์สามารถดูแลทรัพย์สินของตนเองได้เป็นอย่างดี และผู้ทำสัญญาทั้งสองฝ่ายต้องกระทำโดยเจตนาและสมัครใจ

 2.ถ้อยคำการหุ้นส่วน ได้แก่ ถ้อยคำที่บอกถึงเจตนาของการหุ้นส่วนของทั้งสองฝ่ายและจะต้องกล่าวจำนวนเงินที่จะทำการหุ้นส่วยอย่างชัดเจนในสัญญา

 3. ราคาของหุ้นส่วน ได้แก่การกำหนดราคาของหุ้นส่วนของทั้งสองฝ่ายและแบ่งจำนวนหุ้นอย่างชัดเจน

 4. สินค้าหรือสินทรัพย์ที่จะทำการหุ้นส่วน

Musharakah Mutanaqisah

ธนาคารอิสลามนิยมใช้หลักการนี้ในการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย(Home Financing) เช่น ลูกค้าประสงค์จะซื้อบ้านโดยขอสินเชื่อธนาคารอิสลาม เมื่อธนาคารพิจารณาอนุมัติ ทั้ง 2 ฝ่ายจะทำสัญญาร่วมลงทุนกันซื้อบ้านด้วยหลักการมุซาเราะกะฮฺ มูตานากีเศาะฮ(Musharakah Mutanaqisah)  โดยลูกค้าจะลงทุน 10 % และธนาคารลงทุนอีก 90% ของราคาบ้าน เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เท่ากับธนาคารอิสลามจะมีส่วนเป็นเจ้าของ 90 %  และลูกค้ามีส่วนเป็นเจ้าของ 10% หลังจากนั้น ลูกค้าก็อาศัยบ้านที่ได้ซื้อร่วมกันในฐานะผู้เช่าบ้าน(Lessee) แต่ละเดือนลูกค้าจะชำระค่าเช่าบ้านเข้าบัญชีของธนาคาร ซึ่งค่าเช่านั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งคือค่าความเป็นเจ้าของบ้าน ที่ลูกค้าทยอยซื้อคืนจากธนาคาร อีกส่วนหนึ่งเป็นส่วนของค่าเช่าที่ลูกค้าจะให้กับธนาคารในฐานะเจ้าของบ้าน  แต่ละเดือนลูกค้าจะได้ความเป็นเจ้าของมีมากขึ้น จนกระทั่งเดือนสุดท้ายของการชำระ ลูกค้าจะได้กรรมสิทธิความเป็นเจ้าของบ้านหลังดังกล่าวทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว เมื่อนั้นสัญญาก็จะสิ้นสุดลง 

วัลลอฮุอะลัม เรียบเรียงโดย Muhammad Azmii Mahamad
หมายเหตุ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความด้วยการอ้างอิงถึง
http://www.การเงินอิสลาม.com หรือ http://www.islamicfinancethai.com

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s