หลักการมุชาเราะกะฮ์(Musharakah)
มูชารอกะฮฺ ภาษาอาหรับมาจาก مشاركة หมายถึง ต่างฝ่ายต่างเป็นหุ้นส่วนซึ่งกันและกัน
มุชาเราะกะฮ์(Musharakah) หรือ partnership คือการเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างบุคคล 2 ฝ่ายหรือมากกว่า ในการร่วมทุนดำเนินธุรกิจ โดยที่แต่ละฝ่ายจะต้องลงทุนไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเงิน หรือ ทรัพย์สิน กรณีที่ธุรกิจมีกำไร จะถูกแบ่งกันตามสัดส่วนที่ตกลง หากธุรกิจเกิดขาดทุน จะต้องแบ่งความเสียหายตามสัดส่วนการลงทุนด้วยเช่นกัน
มุชาเราะกะฮ์(Musharakah) เป็นการร่วมกันลงทุน ร่วมกันลงแรง ช่วยกันบริหารทำให้ธุรกิจเกิดผลกำไร จากนั้นก็แบ่งรายได้ตามสัดส่วนที่ตกลงกันไว้ มุชาเราะกะฮ์ (Musharakah) เป็นการให้สินเชื่อโดยที่ธนาคารลงทุนร่วมกับลูกค้าในกิจการหนึ่งและแบ่งปันผลกำไรตามสัดส่วนที่ตกลงกัน โดยผลกำไรนี้อาจเป็นไปตามอัตราส่วนของการลงทุนหรือไม่ก็ได้ซึ่งขึ้นอยากับการทำการตกลงร่วมกัน(Mutual Consent) แต่ถ้าในกรณีที่ธุรกิจขาดทุนต่างฝ่ายต่างรับภาระร่วมกันตามอัตราส่วนที่ได้ลงทุนไป(Capital Contribution) เช่น ลูกค้า(Customer)ลงทุน 40% ธนาคารอิสลาม(Islamic Bank)ลงทุนอีก 60% รายได้ที่เกิดจากการประกอบธุรกิจก็จะแบ่งกันตามสัดส่วนที่ตกลงกัน (Mutual Consent) ซึ่งอาจจะตกลงแบ่งผลกำไรกันที่ ลูกค้า(Customer) 50% ธนาคารอิสลาม(Islamic Bank)50% เป็นต้น ดังที่แสดงในรูปภาพ |
การร่วมลงทุนมุชาเราะกะฮ์ (Musharakah) จะแตกต่างกับ การร่วมทุนหรือมุฎอรอบะฮ์ (Mudharabah) หลักการมุชารอกะฮ์ (Musharakah) หรือการร่วมลงทุน นั้นลูกค้าและธนาคารต้องลงทุนร่วมกัน (partnership) ทั้งด้านเงินทุนหรือทรัพย์สิน หากเกิดการขาดทุน ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องช่วยกันรับผิดชอบความเสียหายตามสัดส่วนของการลงทุน(Capital Contribution) แต่สำหรับหลักการมุฎอรอบะฮ์ (Mudharabah) หรือการร่วมทุนนั้น ฝ่ายหนึ่งเพียงแต่นำเงินมาลงทุน แต่ไม่สามารถร่วมบริหารกิจการนั้นได้ กรณีเกิดการขาดทุนฝ่ายที่ลงเงินทุน(Rab al mal)รับผิดชอบขาดทุนฝ่ายเดียว ส่วนฝ่ายที่บริหารจัดการ(Mudarib) ก็จะไม่ได้ผลตอบแทนใดๆ
อย่างไรก็ตามการให้สินเชื่อด้วยหลักการมุชาเราะกะฮ์ (Musharakah) นั้นไม่เป็นที่นิยมสำหรับสถาบันการเงินหรือธนาคารอิสลามและลูกค้านัก นักเนื่องจากมีความเสี่ยงสูงสำหรับธนาคารอิสลาม และในมุมของลูกค้านั้นจะต้องมีการแบ่งปันกำไรให้กับสถาบันการเงินเป็นจำนวนมากกว่าการขอสินเชื่อด้วยหลักการอื่น
วัลลอฮุอะลัม เรียบเรียงโดย Muhammad Azmii Mahamad
หมายเหตุ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความด้วยการอ้างอิงถึง
http://www.การเงินอิสลาม.com หรือ http://www.islamicfinancethai.com