ความเป็นมาสหกรณ์อิสลาม
สหกรณ์ คือ องค์การของบรรดาบุคคลซึ่งรวมกลุ่มกันด้วยความสมัครใจในการดำเนินวิสาหกิจที่พวกเขาเป็นเจ้าของร่วมกัน มีการควบคุมตามหลักประชาธิปไตย เพื่อสนองความต้องการและความหวังร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ด้วยวิธีการสหกรณ์โดยช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ที่จะต้องจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มีฐานะเป็นนิติบุคคล ในการดำเนินงานของสหกรณ์นั้นมีลักษณะมูลฐานสำคัญประกอบด้วย กลุ่มบุคคลที่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเดียวกัน มีเจตนารมณ์ที่ะช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จัดตั้งเป็นองค์การธุรกิจขึ้นโดยร่วมกันดำเนินกิจการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และวัตถุประสงค์ขององค์การธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นคือ การส่งเสริมผลประโยชน์ของบรรดาสมาชิกและครอบครัวเป็นสำคัญ ซึ่งในหลาย ๆประเทศได้ใช้องค์การสหกรณ์เป็นฐานรากสำคัญเบื้องต้นในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในระดับล่างซึ่งเป็ นคนส่วนใหญ่ของประเทศ อันส่งผลให้ประเทศเหล่านั้นมีการพัฒนาทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และประชาธิปไตยควบคู่กันไป สำหรับการสหกรณ์ในประเทศไทยนั้นถือได้ว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นอย่างมากโดยเฉพาะต่อประชาชนซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศที่ยากจนจะมีสหกรณ์ที่เป็นสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคมที่ให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพและช่วยยกระดับความเป็ นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการนำหลักการและวิธีการวิธีการสหกรณ์นำสู่การปฏิบัติจริงอย่างมีอุดมการณ์สหกรณ์อย่างแท้จริงเป็นสำคัญ
สำหรับแนวความคิดในการจัดตั้งสหกรณ์อิสลาม เนื่องมาจากประชากรชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามโดยส่วนใหญ่มีการดำเนินชีวิตตามหลักการอิสลาม ดังนั้นในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตประจำวันก็ย่อมที่จะต้องปฏิบัติเป็นไปตามวิถีมุสลิมอย่างสอดคล้องกับหลักการอิสลามที่กำหนดไว้ จึงมีกลุ่มนักคิด นักวิชาการ อิสลาม ผู้นำศาสนา และประชาชนบางกลุ่ม มีการระดมความคิดเห็นในการจัดตั้งองค์การทางการเงินตามระบบอิสลามเพื่อเป็นช่องทางทางด้านการเงินสำหรับชาวไทยมุสลิมห้สามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม จึงได้มีการจัดตั้งรูปแบบสหกรณ์อิสลามเพื่อดำเนินการให้บริการทางการเงินตามหลักศาสนาอิสลามขึ้นรูปแบบของสหกรณ์อิสลามเป็นองค์การทางการเงินที่บรรดาประชาชนชาวไทยผู้นับถือศาสนาอิสลามในหลายสาขาอาชีพมีการรวมกลุ่มกันด้วยความสมัครใจในการดำเนินกิจการที่พวกเขาเป็นเจ้าของร่วมกัน เพื่อสนองความต้องการอันจำเป็นและความหวังร่วมกันทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเดียวกัน เพื่อประโยชน์ของบรรดาผู้เป็นสมาชิกโดยไม่หวังผลกำไรและปราศจากดอกเบี้ย ในการดำเนินกิจการของสหกรณ์อิสลามเหมือนกับสหกรณ์อื่นโดยทั่วไปที่ยึดหลักประชาธิปไตยกล่าวคือ สหกรณ์เป็นของสมาชิก บริหารงานโดยสมาชิก และเพื่อประโยชน์ของสมาชิก โดยมีการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ.2542 มีสถานะเป็นนิติบุคคลเช่นเดียวกันกับสหกรณ์ทั่วไป เพียงแต่มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากสหกรณ์รูปแบบทั่ว ไปคือ การได้นำหลักการศาสนาอิสลามมาปรับใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัฒนธรรมอิสลามที่ศาสนาอิสลามที่ได้กำหนดวิธีการในการดำเนินกิจการต่าง ๆไว้แล้ว ซึjงถือได้ว่าสหกรณ์อิสลามเป็นองค์การที่ดำเนินงานโดยใช้หลักการอิสลามเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้สอดรับกับวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีอิสลาม โดยอยู่บนพื้นฐานที่มีความสอดคล้องกับอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ในการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมมุสลิมในลักษณะของการปลอดดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องห้ามในทางศาสนาแก่บรรดาผู้ที่เป็นมุสลิมทุกคน โดยแนวทางในการดำเนินงานอย่างสอดคล้องกับหลักการอิสลามเป็นสำคัญทั้งนี้ การดำเนินธุรกิจของสหกรณ์อิสลามจะต้องวางอยู่บนพื้นฐานแห่งบทบัญญัติในคัมภีร์อัล-กุรอานดังที่ได้กล่าวไว้ว่า “พระเจ้าทรงอนุมัติการค้า แต่ทรงห้ามดอกเบี้ย” อัลบากอเราะห์ โองการที่ 275
วัลลอฮุอะลัม เรียบเรียงโดย Muhammad Azmii Mahamad
หมายเหตุ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความด้วยการอ้างอิงถึง
http://www.การเงินอิสลาม.com หรือ http://www.islamicfinancethai.com
ที่มา : การดำรงอยู่และการปรับตัวของสหกรณ์อิสลามในพื้นที่จังหวัดยะลา: กรณีศึกษาสหกรณ์อัล – อามีน จำกัด อับดุลรอหิม สะแต