ประเภทของริบา(Riba) ตอนที่ 2
จากตอนที่ 1 ได้ทราบ ริบา อัลดุยุน (Riba al Duyun) คือ ริบาหรือ ดอกเบี้ยที่เกิดจากสัญญาหนี้ไปแล้ว ในตอนที่ 2 นี้จะกล่าวถึงริบา (ส่วนเพิ่ม) จากการค้าขาย เรียกว่า ริบา อัลบุยุอ์ (Riba al Buyu’u)
“اَلذَّهَبُ بِالذَّهَبِ ، وَالْفِضَّةُ بِالْفِضَّةِ ، وَالْبُرُّبِالْبُرِّ ، وَالشَّعِيْرُ بِالشَّعِيْر ، وَالْمِلْحُ بِالْمِلْحِ ، مَثَلاً بِمَثَلٍ ، يَدً ابِيَدٍ ، فَمَنْ زَادَ أَوِاسْتَزَادَفَقَدْ أرْبى ، الآخِذُوَالْمُعْطِى فِيْهِ سَوَاءٌ”
จากหลักฐานที่ท่านศาสดากล่าวว่า “ทองคำแลกกับทองคำ เงินแลกกับเงิน ข้าวสาลีแลกกับข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์แลกกับข้าวบาร์เลย์ อินทผลัมแห้งแลกกับอินทผลัมแห้ง เกลือแลกกับเกลือ สิ่งเดียวกันแลกกับสิ่งเดียวกัน ต้องแลกด้วยจำนวนที่เท่ากัน ต้องแลกด้วยมือต่อมือแต่หากสิ่งที่นำมำแลกต่างชนิดกัน พวกท่านจงแลกเปลี่ยนกันตามที่พวกท่านประสงค์ ตราบที่ยังเป็นการแลกเปลี่ยนกันโดยทันที” บันทึกโดย (บุคอรีย์ มุสลิม อะบูดาวูด ติรมิซีย์ และนะซาอีย์)
ทรัพย์สินที่จะเกิดริบาในการซื้อขาย(Ribawi materials)ที่กล่าวในหะดิษมีได้ มี 6 ชนิด ดังนี้
1.ทองคำ 2.เงิน 3.ข้าวสาลี 4.ข้าวบาร์เล่ย์ 5.อินทผลัมแห้ง 6.เกลือ
ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก คือ สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ได้แก่ ทอง เงิน กลุ่มที่สองคือ อาหาร ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เล่ย์ อินทผลัม และเกลือ
ดังนั้นจากหะดิษดังกล่าว ริบา อัลบุยุอ์ (Riba al Buyu’u) คือ ริบา(Riba)ดอกเบี้ยจากการค้าขาย แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
ริบา อัลฟัฎล์ (Riba al fadhl) คือ การแลกเปลี่ยนหรือค้าขายทรัพย์สินที่มีเกณฑ์ในการแลกเปลี่ยน ซึ่งหากไม่แลกเปลี่ยนตามกฎที่ศาสนากำหนดไว้จะเป็นเหตุให้เกิดริบา หรือ Ribawi materials โดยแลกเปลี่ยนทรัพย์สินชนิดเดียวกันด้วย น้ำหนัก ปริมาณ หรือ จำนวนไม่เท่ากัน เช่น แลกอินทผลัมพันธุ์ดีน้ำหนัก 5 กิโลกรัม ด้วยอินทผลัมพันธุ์ที่ด้อยกว่า น้ำหนัก 10 กิโลกรัม ซึ่งส่วนต่างน้ำหนัก 5 กิโลกรัม ถือเป็นริบาที่ต้องห้าม หรือการทองคำ 99% กับทองคำ 95% จะต้องแลกเปลี่ยนเท่ากัน เป็นต้น
ริบาอัลนะซีอะห์(Riba al Nasiah) หรือ ริบาอัลยัด (Riba al Yad) คือ การแลกเปลี่ยนหรือค้าขาย Ribawi materials โดยแลกเปลี่ยนทรัพย์สินที่กลุ่มเดียวกันแต่คนละชนิดกันโดยส่งมอบไม่พร้อมกัน หรือ หรือ การผ่อนชำระ เช่น แลกเงินดอลลาร์จานวน 100 ดอลลาร์ ด้วยเงินบาทจำนวน 3,000 บาท โดยส่งมอบเงินดอลลลาร์ให้ทันที แต่ส่งมอบเงินบาทให้หลังจากนั้น 3 วัน หรือขอผ่อนชำระ งวดละ 1,000 บาท 3 งวด การจ่ายเงินบาทช้าหรือผ่อนชำระนั้นทำให้เกิดริบา เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วนั้นเอง เช่นเดียวกันกับการซื้อทองคำเป็นเงินผ่อน เช่น ซื้อทอง 1 บาท 25,000 บาทนั้นจะต้องมีการซื้อขายกันทันที(On spot) ราคาทองคำนั้นมีการปรับตัวบ่อยครั้ง หากไม่ได้ซื้อขายในทันที ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายภายหลังในอีก 3 วัน หรือผ่อนชำระ จะเป็นเหตุให้เกิดริบาในการซื้อขายทองคำ และนำมาซึ่งความไม่ยุติธรรมแก่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หรือการแลกระหว่างข้าวสาลี 10 กิโลกรัม กับอินทผลัม 5 กิโลกรัม ต้องส่งมอบกันทันที เป็นต้น
และสามารถที่จะสรุปหลักการแลกเปลี่ยนหรือชื้อขาย Ribawi materials ได้ดังตาราง

Pingback: ประเภทของริบา(Riba) ตอนที่ 1 | การเงินอิสลาม Islamic Finance