จุดกำเนิดระบบธนาคารอิสลาม
จุดกำเนิดระบบธนาคารอิสลาม
“ท่านศาสนฑูตได้สาปแช่งผู้ที่กินดอกเบี้ย ผู้ที่ให้ดอกเบี้ยกับผู้ที่กินดอกเบี้ย ผู้ที่บันทึกดอกเบี้ย ผู้ที่เป็นพยานทั้งสองเกี่ยวกับการกินดอกเบี้ย โดยที่ท่านศาสดาได้กล่าวว่า “พวกเขาทั้งหลายจะได้รับบาปเท่าเทียบกัน” (บันทึกโดยมุสลิม)
คำสอนนี้เองจุดกำเนิดของการคิดค้นระบบธนาคารอิสลามขึ้น ในตอนนี้เรามาดูกันว่าต้นกำเนิดของระบบธนาคารอิสลามเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
จุดเริ่มต้นของระบบธนาคารอิสลามเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1963 ในประเทศอิยิปต์ โดยดร. Dr. Ahmad Elnaggar นักเศรษฐศาสตร์ชาวอียิปต์ได้ผลักดันการจัดตั้ง Mit Ghamr Savings Bank ซึ่งเป็นการทดลองนาระบบการออมทรัพย์แบบการแบ่งผลกำไรมาใช้ โดยได้นำเงินไปลงทุนในธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรม การทดลองออมเงินโดยปราศจากดอกเบี้ยตามหลักการศาสนาอิสลามได้ทำให้เกิดความก้าวหน้าของระบบธนาคารอิสลามอย่างมาก หลังจากนั้นจึงทำให้เกิดธนาคาร Nazir Social Banks ซึ่งเป็นธนาคารปลอดดอกเบี้ยที่รัฐบาลอียิปต์เป็นผู้จัดตั้งในปี ค.ศ. 1971
การเกิดธนาคารอิสลามในประเทศอียิปต์ได้สร้างแรงกระตุ้นให้มีการจัดตั้งธนาคารอิสลามในประเทศโลกอาหรับอีกมากมาย ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1974 Islamic Development Bank ก็ได้ถูกจัดตั้งขึ้นโดยองค์การความร่วมมืออิสลาม หรือ OIC (Organization of Islamic Cooperation) ที่เมืองญิดดะฮ์ ประเทศซาอุดิอารเบีย โดยได้นำระบบชะรีอะฮ์ หรือกฎหมายของศาสนาอิสลามมาใช้ในการดำเนินงานของธนาคารอย่างเต็มรูปแบบ
หลังจากที่มีการจัดตั้ง Islamic Development Bank ประเทศมุสลิมอื่น ๆ ก็ได้หันมาใช้ระบบธนาคารอิสลามมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอิหร่าน ซูดาน ปากีสถาน รวมถึงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยประเทศมาเลเซียเป็นประเทศแรกที่ก่อตั้งธนาคารอิสลามขึ้นในปี ค.ศ. 1983 ที่มีความก้าวหน้าและยังเป็นประเทศแม่แบบในการดำเนินงานการเงินอิสลามให้กับประเทศอินโดนีเซีย บรูไน รวมถึงธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยอีกด้วย
ไม่เพียงแค่ประเทศมุสลิมเท่านั้น ระบบการเงินอิสลามยังได้แพร่กระจายสู่ทวีปยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ทั้งหลายได้ขยายช่องทางการให้บริการในรูปแบบธนาคารอิสลามมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอังกฤษที่ปัจจุบันมีสถาบันการเงินอิสลาม 22 แห่ง ถือเป็นประเทศที่มีตลาดการเงินอิสลามที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศในแถบทวีปเอเชียอย่าง สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น และศรีลังกา ก็ให้ความสนใจระบบธนาคารอิสลามอย่างต่อเนื่องไม่แพ้กัน
ในปัจจุบันมีสถาบันการเงินอิสลามมากกว่า 300 แห่งใน 51 ประเทศทั่วโลก และยังคงมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเฉลี่ยร้อยละ 10-15% ต่อปี โดยสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าปี 2012 สินทรัพย์ในระบบการเงินอิสลามน่าจะมีมากถึง 1.6 ล้านล้านดอลลาร์ และยังคงมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้สภาพคล่องส่วนเกินในระบบมีมาก ในขณะที่ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมจากประเทศมหาอำนาจทั้งหลายที่มีสถานะทางการเงินที่ค่อนข้างผันผวนและสร้างวิกฤติให้กับระบบเศรษฐกิจโลก จึงทาให้ระบบการเงินอิสลามเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น
การกลับมาของระบบการเงินอิสลามหลังจากที่ล่มสลายไปในสมัยที่มีการล่าอาณานิคม การก่อตั้งธนาคารอิสลามที่ประเทศอียิปต์ในปี ค.ศ. 1963 นับเป็นจุดเริ่มของการปฏิวัติระบบธนาคารอิสลามครั้งสาคัญ และเมื่อกลุ่มผู้นำมุสลิมได้หยิบประเด็นการสร้างระบบการเงินอิสลามขึ้นในที่ประชุม OIC ปีค.ศ. 1973 การก่อตั้งธนาคารพาณิชย์อิสลามก็เผยแผ่กว้างขวางยิ่งขึ้น กอปรกับภาวะเงินเกินดุลในระบบของประเทศแถบตะวันออกกลาง ที่มาจากราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และผลจากเหตุการณ์ 911 ที่ทาให้ปีโตรดอลล่าร์ต้องหาตลาดใหม่ในการลงทุน เป็นโอกาสที่ระบบการเงินอิสลามจะเติบโตขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ประเทศมาเลเซียถือเป็นประเทศแรกในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้ริเริ่มก่อตั้งธนาคารอิสลามโดยมีมติจากที่ประชุมสภาเศรษฐกิจภูมิบุตร (Bumiputra Economic Congress) ในปี ค.ศ. 1980 รัฐบาล(สมัย ดร.มหาธีร์)ได้แต่งตั้งคณะกรรมการกากับแผนงานระดับชาติ เพื่อทาการศึกษาและวินิจฉัยถึงความเหมาะสมของการจัดตั้งธนาคารอิสลามในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งรายงานของคณะกรรมการกากับแผนงานระดับชาติที่ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลในปีถัดมามีข้อเสนอแนะดังนี้
1. ธนาคารอิสลามที่มีการดำเนินการสอดคล้องกับหลักชะรีอะฮ์ ควรถูกจัดตั้งขึ้น
2. ธนาคารควรจัดตั้งในรูปแบบบริษัทจากัดภายใต้พระราชบัญญัติบริษัท ค.ศ.1965 ทั้งนี้เพื่อให้สามารถบริหารงานลักษณะธุรกิจเพื่อแสวงหากาไร ไม่ใช่เป็นองค์กรรัฐ
3. จำเป็นต้องออกกฎหมายเฉพาะคือ พระราชบัญญัติธนาคารอิสลาม และต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องในลาดับถัดมา
4. Bank Negara Malaysia (แบงก์ชาติ หรือ ธนาคารกลางมาเลเซีย) ควรเป็นผู้กำกับดูแล พระราชบัญญัติธนาคารอิสลาม ค.ศ.1983
5. ธนาคารควรแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาด้านศาสนา เพื่อกากับการดำเนินงานของธนาคารให้เป็นไปตามหลักชะรีอะฮ์
6. ให้ก่อตั้งธนาคารอิสลามเพียงแห่งเดียวในระยะเริ่มต้น สถาบันอื่นอาจได้รับการพิจารณาให้เปิดบริการทางการเงินอิสลามเมื่อเห็นว่าการดำเนินการของธนาคารแห่งแรกเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
7. เสนอให้ธนาคารใช้ชื่อว่า “Bank Islam Malaysia Berhad”
รัฐบาลรับข้อเสนอแนะไปดำเนินการและก่อตั้งธนาคารอิสลามของประเทศมาเลเซียแห่งแรกขึ้น ในวันที่ 1 มีนาคม 1983 ภายใต้พระราชบัญญัติธนาคารอิสลาม ค.ศ.1983 ชื่อว่าธนาคารอิสลามมาเลเซีย (Bank Islam Malasia Berhad) เป็นรูปบริษัทจำกัด และส่งผลให้รัฐบาลผูกขาดธนาคารอิสลามนานเป็นเวลา 10 ปี จนกระทั่งปี ค.ศ.1993 เพิ่งอนุญาตธนาคารพาณิชย์ให้เปิดบริการ “ธนาคารปลอดดอกเบี้ย”
ภายหลังจากการจัดตั้งธนาคารอิสลามมาเลเซีย ระบบการเงินอิสลามของประเทศมาเลเซียก็ได้พัฒนาขึ้นอย่างมากเพื่อรองรับการทำธุรกรรมการเงินอย่างถูกต้องตามหลักอิสลาม
จากจุดเริ่มต้นในการจัดตั้งธนาคารอิสลามมาเลเซีย ในปี ค.ศ.1983 ได้ทาให้ประเทศมาเลเซียมีการพัฒนาระบบการเงินอิสลามอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาด้านกฎหมายและภาษี เนื่องจากการทำธุรกรรมของธนาคารอิสลามนั้นห้ามข้องเกี่ยวกับดอกเบี้ย และเพื่อให้รองรับการดาเนินธุรกรรมตามหลักอิสลามอย่างเต็มรูปแบบ โดยช่วงทศวรรษแรกของการเริ่มต้นธนาคารอิสลาม (ค.ศ.1983-1992) ได้มีการพัฒนาด้านกฎหมายเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการผลักดันธนาคารอิสลามดังต่อไปนี้
1. ออกพระราชบัญญัติการลงทุนภาครัฐบาล เพื่อเป็นเครื่องมือทางการเงินให้กับธนาคารอิสลามในการบริหารสภาพคล่อง แทนการซื้อขายตั๋วเงินคลังหรือตราสารอื่นที่มีดอกเบี้ย เช่น พันธบัตรหรือหลักทรัพย์รัฐบาล โดยในพระราชบัญญัติกาหนดให้กระทรวงการคลังประกาศอัตราผลตอบแทนให้กับผู้ลงทุนในตราสาร แต่ไม่ได้ระบุวิธีการกาหนดผลตอบแทนว่าต้องเป็นอย่างไร
การกำหนดผลตอบแทนในลักษณะเหมือนดอกเบี้ยที่กาหนดไว้ล่วงหน้านั้นเป็นที่ต้องห้าม ดังนั้นวิธีการที่กระทรวงการคลังจะใช้กับการซื้อขายตราสารการลงทุนจึงเป็นลักษณะการให้กู้โดยไม่คิดผลตอบแทน การซื้อตราสารของธนาคารเปรียบเสมือนการให้รัฐบาลกู้เงินโดยที่ธนาคารไม่คิดหวังที่จะรับผลตอบแทน (Benevolent Loan) ได้แต่รอรับเงินต้นคืนเมื่อตราสารนั้นครบกาหนดระยะเวลา แต่โดยหลักการถึงแม้ว่ารัฐบาลไม่จาเป็นต้องจ่ายผลตอบแทนใด ๆ ให้กับผู้ลงทุนแล้ว ก็เป็นที่รู้กันว่ารัฐบาลจะมีเงินตอบแทนให้ เพียงแต่เท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาผลตอบแทนของรัฐ ผู้เดียว อัตราผลตอบแทนที่ได้ก็ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นสถานะการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ
2. ออกพระราชบัญญัติตะกาฟุล 1984 เพื่อรองรับธุรกิจประกันอิสลาม เนื่องจากธุรกิจประกันเป็นธุรกิจที่เอื้อต่อการดาเนินธุรกิจธนาคาร
3. แก้ไขฐานการคำนวณและยกเว้นภาษีอากร ค.ศ. 1949 รัฐบาลมาเลเซียได้แก้ไขฐานการคำนวณภาษีอากร จากเนื้อหากฎหมายเดิมที่ลูกค้าจะมีภาระต้องจ่ายค่าภาษีอากรตามมูลค่านิติกรรม 2 ทอดสำหรับการให้สินเชื่อภายใต้หลักชะรีอะฮ์ที่มีลักษณะการซื้อมาขายไป แก้ไขเป็น การคำนวณภาษีอากรบนฐานของเงินต้นที่ธนาคารให้สินเชื่อ
ดังนั้น ถึงแม้ว่าในสัญญาตกลงว่า ราคาขายของธนาคารที่ลูกค้ามีหน้าที่ต้องชาระคืนมีจานวนเงินที่บวกกำไรเรียบร้อยแล้ว การคำนวณค่าภาษีอากรก็มาจากฐานเงินที่ธนาคารให้การสนับสนุนหรือเงินต้นเท่านั้น
4. แก้ไขกฎหมายภาษีเงินได้จากกำไรในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ค.ศ. 1976 [Real Property Gain Tax Act 1976] โดยยกเว้นภาษีเงินได้จากกำไรในการขายทรัพย์สินของสถาบันการเงินให้แก่ลูกค้าในการให้สินเชื่อตามหลักชะรีอะฮ์ ทั้งนี้เพื่อให้ลูกค้าธนาคารไม่มีภาระภาษีเกินกว่าการทาธุรกรรมกับธนาคารพาณิชย์ทั่วไป
5. แก้ไขกฎหมายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากเดิมที่กฎหมายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีแต่การอ้างถึงดอกเบี้ยหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการให้กู้ยืม จึงได้มีการเพิ่มเติมเรื่องกาไรหรือค่าใช้จ่ายจากการทาธุรกรรมกับธนาคารอิสลาม ทั้งนี้เพื่อให้ลูกค้าที่ใช้บริการจากธนาคารอิสลามได้รับประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีเทียบเท่ากับการทาธุรกรรมในธนาคารพาณิชย์ทั่วไป
ภายหลังที่ธนาคารอิสลามมาเลเซีย (Bank Islam Malaysia Berhad) ได้ก่อตั้งและดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง จนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และแสดงศักยภาพได้อย่างชัดเจน มีสาขามากกว่า 80 แห่ง มีพนักงานกว่า 1,200 คนทั่วประเทศ และสามารถเข้าตลาดสินทรัพย์ได้ในวันที่ 17 กรกฎาคม 1992
ซึ่งหากย้อนกลับไปตอนที่จะเริ่มจัดตั้งธนาคารอิสลาม คณะกรรมการกำกับแผนงานระดับชาติได้มีข้อเสนอแนะให้พิจารณาเปิดบริการทางการเงินอิสลามแก่สถาบันการเงินอื่น เมื่อธนาคารอิสลามแห่งแรกสามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ประกอบกับเจตนารมณ์ของแบงก์ชาติ (Bank Negara Malaysia) ที่ต้องการมีระบบธนาคารอิสลามควบคู่กับระบบธนาคารกระแสหลัก ดังนั้น จะต้องมีสถาบันการเงินมากกว่าหนึ่งแห่ง มีเครื่องมือทางการเงินที่หลากหลายรวมถึงมีตลาดเงินระหว่างสถาบัน ด้วยเหตุนี้ Bank Negara Malaysia จึงได้มีแบบแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน มุ่งมั่นจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยระบบแรกใช้วิธีการเผยแพร่ถึงประโยชน์และคุณค่าของธนาคารอิสลามต่อสาธารณชนทั่วประเทศ และศึกษาปัจจัยต่างๆ ก่อนที่จะอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์เปิดบริการทางการเงินอิสลามได้โดยใช้โครงสร้างและสาขาที่มีอยู่
ประกาศโครงการ “ธนาคารปลอดดอกเบี้ย”
Bank Negara Malaysia ได้ประกาศโครงการ “ธนาคารปลอดดอกเบี้ย” ขึ้นในวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ.1993 ซึ่งธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินทุกแห่งมีสิทธิ์ที่จะเข้าร่วมโครงการ โครงการนี้ทำให้จำนวนสถาบันเพิ่มขึ้นด้วยต้นทุนต่ำและระยะเวลาอันรวดเร็ว เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด โดยก่อนหน้านี้ Bank Negara Malaysia (ร่วมกับธนาคารอิสลามมาเลเซีย) ก็ได้พยายามพัฒนาเครื่องมือทางการเงิน จนกระทั่งมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินอิสลามประมาณ 21 ชนิด เพื่อที่จะสนองตอบต่อสถาบันการเงินและลูกค้า
เปิดตลาดเงินอิสลาม และตลาดเงินระหว่างธนาคารอิสลาม
ตลาดเงินอิสลามเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนระบบธนาคารอิสลาม บทบาทประการแรกคือ การอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการระหว่างสถาบันการเงินอิสลาม นอกจากนี้ตลาดเงินจะเป็นการรองรับให้การใช้นโยบายการเงินเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวม
Bank Negara Malaysia เปิดตลาดเงินระหว่างธนาคารอิสลามขึ้นในวันที่ 3 มกราคม ค.ศ.1994 เมื่อประเทศมีสถาบันการเงินที่ให้บริการทางการเงินอิสลามจำนวนมากขึ้น มีเครื่องมือทางการเงินจำนวนมากกว่า 40 ชนิด ทั้งนี้เพื่อเป็นช่องทางการลงทุนระยะสั้น ซึ่งจะทำให้ธนาคารอิสลามและธนาคารที่ให้บริการทางการเงินอิสลามทั้งหลาย สามารถบริหารเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยตลาดเงินระหว่างธนาคารอิสลามครอบคลุมด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
การซื้อขายเครื่องมือทางการเงินอิสลามระหว่างสถาบัน
เพื่อให้ธนาคารอิสลามและธนาคารที่ให้บริการทางการเงินอิสลามสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนตราสารทางการเงินที่ถูกต้องตามหลักชะรีอะฮ์ได้
การลงทุนระหว่างธนาคาร
เป็นกลไกการนำเงินลงทุนจากสถาบันการเงินที่มีสภาพคล่องส่วนเกิน ไปสู่สถาบันการเงินที่ขาดสภาพคล่องภายใต้หลักการร่วมลงทุน (ศัพท์เทคนิคเรียกว่า มุฎอรอบะฮ์) ระยะเวลาการลงทุนมีตั้งแต่ 1 วันถึง 12 เดือน อัตราผลตอบแทนขึ้นกับสัดส่วนการแบ่งผลตอบแทนที่ตกลงกันล่วงหน้า
ระบบเคลียร์ริ่งเช็คระหว่างธนาคาร
Bank Negara Malaysia ได้แยกระบบเคลียร์ริ่งเช็คระหว่างธนาคารอิสลามออกจากระบบปกติ โดยธนาคารที่ให้บริการทางการเงินอิสลามเฉพาะส่วนธนาคารอิสลามจะต้องมีบัญชีเคลียร์ริ่ง Bank Negara Malaysia เพื่อที่ Bank Negara Malaysia จะได้ทำการหักถอนบัญชีระหว่างธนาคาร และจัดการให้กับธนาคารที่มีเงินเกินไปยังธนาคารที่ขาดเงิน ซึ่งทำให้การลงทุนและการบริหารเงินของธนาคารอิสลามเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักการ
เปิดตลาดทุนอิสลาม
ตลาดทุนอิสลาม มีลักษณะคลายกับตลาดทุนทั่วไปคือเป็นตลาดลงทุนระยะยาว โดยเครื่องมือทางการเงินในตลาดทุนประกอบด้วย ตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชน ตราสารทุน หุ้นและตลาดสินค้าล่วงหน้า ภายใต้การบริหารจัดการและซื้อขายตามหลักชะรีอะฮ์ โดยสำนักงานกำกับหลักทรัพย์ได้ก่อตั้งฝ่ายตลาดทุนอิสลามในปี ค.ศ.1995
ที่มา : http://www.ibank.co.th/2010/th/shariah-information/shariah-knowledge-finance.aspx?ID=2
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย