ทำไมอิสลามถึงห้ามใช้ธุรกิจประกันทั่วไป ?
ธุรกิจประกันทั่วไป(Conventional Insurance) ทั้งธุรกิจประกันชีวิตหรือประกันภัยนั้น มีรูปแบบที่ขัดกับหลักศาสนาอิสลามหรือหลักชะรีอะฮ์ (Shariah Law) ดังนี้
- ความคลุมเครือ หรือ ความไม่แน่นอน (gharar) ในสัญญาซื้อขายประกัน
การซื้อขายของประกันภัยสากลทั่วไป(Conventional Insurance)นั้น การเป็นสินค้าและราคาของหลักประกันนั้นไม่มีความชัดเจน (gharar) และมีความคลุมเครือ (gharar) เนื่องจากผู้ซื้อและผู้ขายประกันไม่สามารถรับรู้ได้ทั้งสองฝ่ายว่าจะได้รับและส่งมอบหลักประกันได้เมื่อใดเพราะเป็นการซื้อขายที่วางอยู่บนเงื่อนไขของเวลาและเหตุการณ์ในอนาคต ผู้ซื้อหรือผู้รับประโยชน์และผู้ขายประกันไม่สามารถหยั่งรู้ได้ล่วงหน้าว่าเหตุการณ์ที่นำมาซึ่งการสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อใด - การพนัน (maisir) ในสัญญาประกัน ตามทัศนะของนักวิชาการอิสลามมีความเห็นว่า การประกันภัยสากลมีองค์ประกอบของการพนันหรืือเกมแห่งโอกาส การเอาหลักประกันนั้นขึ้นอยู่กับ โอกาส หรือ ความน่าจะเป็น ถือได้ว่าเป็นธุรกิจการพนันโอกาสที่จะเกิดขึ้น ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ โดยบริษัทรับประกันเป็นผู้ได้ประโยชน์
- ริบาหรือ ดอกเบี้ย (riba) และรายได้จากการลงทุนในธุรกิจที่ขัดกับหลักศาสนา บริษัทประกันจะนำเงินเบี้ยประกันไปลงทุนเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในการจ่ายการเคลมประกัน ซึ่งรายได้จากการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนเป็นส่วนใหญเป็นดอกเบี้ย จากหุ้นกู้ พันธบัตร หรือเงินฝากบางประเภท และอาจจะมีรายได้จากการลงทุนในบริษัทที่ขัดกับหลักการชะรีอะห์ เช่น ธนาคาร ประกัน สุรา เหล้า เบียร์ ยาสูบ การพนัน บันเทิง เป็นต้น