ซะกาตฟิตเราะห์
ประเภทของซะกาต (ทานบังคับ) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ซะกาตอาหาร และซะกาตทรัพย์สิน
ซะกาตอาหาร ภาษาอาหรับเรียกว่า “ซะกาตฟิตเราะห์” หมายถึง การที่มุสลิมทุกคน ต้องจ่ายทานบังคับให้แก่มุสลิม โดยใช้อาหารหลักของท้องถิ่นบริจาคตามพิกัดที่ถูกกำหนด สำหรับประเทศไทยซึ่งรับประทานข้าวให้บริจาคข้าวสาร จำนวน 2.75 ลิตร หรือ 4 ทะนาน หรือบริจาคเงินโดยคิดตามราคาข้าวสารในท้องถิ่นนั้น โดยผู้ที่ต้องจ่ายซะกาต คือ มุสลิมทุกคนทั้งชายและหญิงที่มีชีวิตอยู่ในวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน เพื่อนำไปมอบแก่มุสลิมที่มีความเหมาะสมที่จะรับซะกาต ซะกาตประเภทนี้ไม่ต้องรอกำหนดเวลา และไม่มีเงื่อนไขของจำนวนการบริจาค เพราะทุกคนต้องจ่ายเท่ากัน
เป้าหมายของการจ่ายซะกาตฟิตเราะห์
ความว่า จากอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุกล่าวว่า:ท่านรอซูล (ศ็อลฯ) ได้กำหนดฟัรฎูซะกาตฟิตเราะห์เพื่อเป็นการชำระผู้ถือศีลอดให้สะอาดบริสุทธิ์ จาก (ทั้งคำพูดและการกระทำ) ที่ไร้สาระและซากาต จะเป็นอาหารของคนยากจน ดังนั้น ผู้ใดที่จ่ายซะกาตก่อนละหมาดวันอีด จึงเป็นซะกาตที่อัลลอฮฺทรงตอบรับ และผู้ใดที่จ่ายซะกาตหลังจากละหมาดอีดแล้วถือว่าเป็นเศาะดาเกาะฮฺทั่วๆ ไป (มิใช่เป็นซะกาต) (รายงานโดย อิบนุ มาญะห์ 1827)
บทเรียนจากหะดีษข้างต้นจะเห็นได้ว่า
1. หุก่มของการจ่ายซะกาตฟิตเราะห์คือ วาญิบ
2. วิทยปัญญาของการจ่ายซะกาตฟิตเราะห์ที่หะดีษกล่าวไว้ คือ
§ ทำให้ผู้ถือศีลอดสะอาดจากคำพูดและการกระทำที่ชั่วร้ายและไม่มีประโยชน์
§ เป็นอาหารแก่คนยากจน
3. ระยะเวลาในการจ่ายซะกาตฟิตเราะห์คือตั้งแต่ต้นรอมฎอนจนถึงเช้าวันอีด (ก่อนละหมาดอีด)
4. เวลาที่ดีที่สุดในการจ่ายซะกาตฟิตเราะห์คือ เช้าของวันอีด
5. ผู้ ที่จ่ายซะกาตฟิตเราะห์ก่อนละหมาดวันอีดนั้นเป็น ซะกาตที่อัลลอฮรับฺ แต่หากจ่ายหลังจากละหมาดวันอีดแล้ว จะไม่ถือว่าเป็นซะกาต แต่จะเป็นการทำทานทั่วไป ดังนั้น เขายังคงมีภาระต้องจ่ายซะกาตอยู่
อ้างอิงเนื้อหาบางส่วนจาก: “ระบบซะกาต (ทานบังคับ) : เศรษฐกิจชุมชนในอิสลาม” โดย วรรณวดี พูลพอกสิน
:ชมรมมุสลิม ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา