รากฐานของหลักการเงินอิสลาม
รากฐานของการเงินอิสลาม
ระบบการเงินอิสลาม(Islamic Finance) มีหลักการที่วางอยู่บนรากฐานของความยุติธรรมและเป็นธรรม (Justice&Fairness) ตามหลักการที่ปรากฏในอัลกุรอ่าน
ดังอัลกุรอานได้กล่าวว่า
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ لاَ تَأْكُلُواْ أَمْوَالَكُمْ بَيْنَكُمْ بِالْبَاطِلِ إِلاَّ أَن تَكُونَ تِجَارَةً عَن تَرَاضٍ مِّنكُمْ
“ผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงอย่ากินทรัพย์ของพวกเจ้าในระหว่างพวกเจ้าโดยมิชอบ นอกจากมันจะเป็นการค้าที่เกิดจากความพอใจของทั้งสองฝ่าย…” (อัล-นิสาอ์ 4: 29)
จึงได้มีข้อห้ามหลักๆ ในการทำธุรกรรมสำหรับการเงินอิสลาม อาทิเช่น
- ห้ามริบา(Riba) หรือดอกเบี้ย ซึ่งเป็นการเอารัดเอาเปรียบ และซ้ำเติมลูกหนี้
- ห้ามความไม่โปรงใส หรือ Gharar ซึ่งจะนำไปสู่การขัดแย้ง และเสียเปรียบเกิดขึ้นระหว่างคู่ค้า หรือผู้ร่วมทำธุรกรรม
- ห้ามการพนัน หรือ Maisir จะนำไปสู่การสูญเสียซึ่งทรัพย์สิน และความการเสี่ยงโชคที่ไม่สามารถควบคุมได้
- ห้ามการกักตุนสินค้า เพื่อเก็งกำไร ซึ่งนำไปสู่การปั่นหรือบิดเบือนราคา ทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น เพื่อทำกำไร บนความเดือดร้อนของผู้อื่น
ซึ่งจะเห็นได้ว่าข้อห้ามข้างต้นทำให้การเงินอิสลามมีความแตกต่างจากการเงินกระแสหลักหรือ Conventional System เพื่อให้เป็นทางเลือกแก่มุสลิมและบุคคลทั่วไปที่ต้องการระบบการเงินที่อยู่บนพื้นฐานของของความยุติธรรมและเป็นธรรม (Justice &Fairness)