Tag Archives: มุอามาลาต

การใช้บัตรเครดิตตามหลักการอิสลาม

บัตรเครดิต ใช้อย่างไรให้ถูกหลักศาสนาอิสลาม ธุรกรรมสมัยใหม่ที่เข้ามามีบทบาท ที่หลายๆคนรู้จักและใช้บริการอยู่ นั่นคือ บริการบัตรเครดิต จากธนาคารต่างๆ ที่เข้ามาให้บริการลูกค้าบัตรเครดิตนั้นเปรียบไปแล้วก็เหมือนกับวงเงินที่ธนาคารมอบให้แก่ผู้ที่มีเครดิต สามารถนำบัตรเครดิตไป ซื้อสินค้าและบริการแทนเงินสด ข้อดีและความสะดวกของการใช้บัตรเครดิต 1. ได้สิทธิ์รับส่วนลด ส่วนคืนเงินสด และแต้มสะสม เมื่อสมัครชำระค่าบริการรายเดือนต่างๆ ผ่านบัญชีบัตรเครดิตโดยอัตโนมัติ เช่น ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเอไอเอส จะให้ส่วนลด 5% แก่ลูกค้าที่จ่ายค่าบริการรายเดือนด้วยวิธีการนี้ เป็นต้น 2. รับสิทธิพิเศษ และสิทธิประโยชน์จากร้านค้า หรือผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโปรโมชั่นกับบัตรเครดิตที่ใช้  สิทธิพิเศษดีๆ ที่บางครั้งเงินก็ไม่สามารถซื้อได้ เช่นที่จอดรถพิเศษเฉพาะในห้างสรรพสินค้าชื่อดัง หรืออาจจะต้องชำระเงินเป็นหลักพันเพื่อให้ได้ใช้บริการ อย่างสิทธิ์ในการเข้าใช้ห้องพักรับรองที่สนามบิน ตลอดจนการ ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่ร้านอาหารบางร้านเข้าร่วมโดยเพียงใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตตรงตามเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ทางร้านหรือบัตรเครดิตของกำหนด ก็จะได้รับของแถม ส่วนลด หรือสิทธิพิเศษอื่นๆ ที่มากกว่าซึ่งในบางครั้งการชำระค่าใช้จ่ายด้วยเงินสดอาจจะไม่ได้รับอะไรเพิ่มเลย 3. ลดความยุ่งยากของการชำระค่าสาธารณูปโภค และค่าใช้จ่ายประจำที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์บ้าน ค่ามือถือ ค่าบริการอินเตอร์เน็ตรายเดือน และค่าบริการเคเบิ้ลทีวี ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้และต้องชำระทุกๆ เดือน ดังนั้นการทำเรื่องขอชำระค่าบริการรายเดือนผ่านบัตรเครดิตเพื่อจ่ายค่าสาธารณูปโภคทั้งหลายนอกจากจะช่วยทำ ให้ประหยัดเวลาที่จะต้องมาคอยเดินไล่จ่ายบิลค่าบริการของแต่ละที่ ไม่ต้องมาคอยนั่งจดจำเดดไลน์กำหนดชำระค่าบริการ และลดปัญหาความยุ่งยากในกรณีที่ลืมชำระค่าบริการอย่างเช่นค่าไฟฟ้านี่ หากลืมจ่ายจนเกิดเป็นยอดค้างชำระแล้ว จะต้องเดินทางไปชำระยอดค้างชำระนั้นๆโดยตรงที่สำนักงานการไฟฟ้าฯ ไม่สามารถชำระตามเคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือเคาน์เตอร์ธนาคารได้นอกจากนั้นในบางทีการสมัครชำระค่าบริการสาธารณูปโภคผ่านบัตรเครดิตยังจะได้รับข้อเสนอดีๆ เพิ่มขึ้นอีก 4. ใช้ทำธุรกรรมต่างๆ

Read more

บัยอฺ อัล มุอาฏอฮฺ (Bai al mu’ atah)

  บัยอฺ อัล มุอาฏอฮฺ (Bai al mu’ atah)( بيع المعاطاة ) เป็นการซื้อขายที่เราจะเห็นได้เป็นประจำในการใช้ชีวิตในทุกวันนี้ คือ การที่ผู้ซื้อ(buyer) เลือกหยิบสินค้าจากแผงโชว์สินค้า(Invitation to treat) โดยที่สินค้านั้นมีป้ายราคาแสดงไว้เรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อจึงนำเงินไปจ่ายให้แก่ผู้ขายตามป้ายราคานั้นที่จุดชำระเงิน จะเห็นได้ว่าการซื้อขายในรูปแบบนี้ไม่มีการทำคำการเสนอขาย(Ijab) และสนองรับ(Qabuul) เป็นคำพูดตามองค์ประกอบหลักการซื้อขายทั่วไปของอิสลาม บัยอฺ อัล มุอาฏอฮฺ (Bai al mu’ atah) มีการโชว์สินค้า(Invitation to treat) พร้อมด้วยป้ายราคา การเสนอขาย (Ijab) และ การสนองรับ(Qabuul) ด้วยกับการกระทำการที่ผู้ซื้อนำเงินมาจ่ายเท่ากับป้ายราคาของสินค้าที่ต้องการจะซื้อตามป้ายราคาของสินค้านั้นๆ ที่จุดชำระเงิน และการซื้อขายเกิดขึ้นเมื่อมีการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ตามความเห็นส่วนใหญ่ในมัซฮับชาฟีอีย์นั้นเห็นว่า ผู้ซื้อขายทั้งสองฝ่ายจะต้องกล่าวถ้อยคำเสนอขายและคำสนองรับบัยอฺ อัล มุอาฏอฮฺ (Bai al mu’ atah)จึงถือว่าใช้ไม่ได้ตามแนวทางดังกล่าวแต่นักวิชาการบางท่านในมัซฮับชาฟีอีย์ถือว่าการซื้อขายแบบบัยอฺ อัล มุอาฏอฮฺ (Bai al mu’ atah) มีผลใช้ได้กับสินค้าที่มีราคาเล็กน้อย อย่างไรก็ตามท่านอันนะวาวีย์ (ร.ฮ.) นักวิชาการสังกัดมัซฮับชาฟีอีย์มีความเห็นว่าบัยอฺ อัล มุอาฏอฮฺ (Bai

Read more

หลักการการซื้อขายในอิสลาม

การซื้อขาย ในภาษาอาหรับเรียกการซื้อขายว่า อัล-บัยอฺ (اَلْبَيْعُ) ตามหลักภาษา หมายถึง การแลกเปลี่ยนสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง หรือการให้สิ่งที่มีราคา (สินค้า) และเอาราคาหรือกลับกัน เรียกการซื้อว่า “อัชชิรออฺ” (اَلشِّرَاءُ) และเรียกผู้ซื้อว่า อัล-มุชตะรีย์ (اَلمُشْتَرِىْ) เรียกการขายว่า อัล-บัยอฺ (اَلْبَيْعُ) และเรียกผู้ขายว่า อัลบาอิอฺ (اَلْبَائِعُ) ส่วนนิยามในทางนิติศาสตร์ หมายถึง การทำข้อตกลงแลกเปลี่ยนสิ่งที่เป็นทรัพย์สินกับทรัพย์สินที่ใช้ประโยชน์ได้เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งครอบครองตลอดไป โดยมีคำเสนอและคำสนอง   บัญญัติว่าด้วยการซื้อขาย ข้อตกลงซื้อขายเป็นสิ่งที่อนุมัติในอิสลาม ดังมีหลักฐานปรากฏ ดังนี้ (1) หลักฐานจากอัลกุรฺอาน ระบุว่า: (وَأَحَلَّ اللهُ الْبَيْعَ وَحَرَّمَ الرِّبَا) “และอัลลอฮฺทรงอนุมัติการซื้อขายและทรงห้ามเรื่องดอกเบี้ย” (สูเราะฮฺ อัล-บะกอเราะฮฺ อายะฮฺที่ 275)   (2) หลักฐานจากอัล-หะดีษ ท่านนบีฯ (صلى الله عليه وسلم) ได้ถูกถามว่า : (أَيُّ الْكَسْبِ أَطْيَبُ فَقَالَ:عَمَلُ الرَّجُلِ بِيَدهِ

Read more