Tag Archives: ธนาคารอิสลาม

อิญาเราะฮ์ (Ijarah)

อิญาเราะฮ์ (Ijarah = Leasing) หรือในภาษาอาหรับ الإجارة คือ สัญญาจ้างหรือสัญญาเช่า หมายถึง การที่เจ้าของทรัพย์สินโอนสิทธิประโยชน์การใช้ทรัพย์สิน (Usufruct) ให้อีกฝ่ายหนึ่ง โดยมีค่าเช่าเป็นค่าตอบแทนภายในระยะเวลาที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน โดยกรรมสิทธิของทรัพย์สินยังคงเป็นของเจ้าของทรัพย์หรือผู้ให้เช่า โดยมีหลักฐานจากอัลกุรอ่าน สูเราะฮฺ อัล-เกาะศ็อศ อายะห์ที่ 26-27 ดังนี้ อิญาเราะฮ์ (Ijarah) หรือ การเช่ามี 2 ประเภทคือ 1.การเช่าดำเนินการ หรือ Operating leasing หมายถึง เจ้าของทรัพย์สินให้เช่าแก่ผู้เช่าภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน โดยเจ้าของทรัพย์สินจะนำทรัพย์สินที่เช่าไปใช้ประโยชน์ตามที่ระบุในสัญญาหรือที่ตกลงกันนั้นเท่านั้น ตัวอย่างที่พบกันทั่วไปคือ การจ้างงานหรือการทำงานได้รับเงินเดือน (การเช่าความรู้ความสามารถ) การเช่าหอพักอาศัย การเช่าอาคาร การเช่าเพื่อทำร้านค้า การเช่าห้องแถว เป็นต้น ภายใต้หลักการอิญาเราะฮ์ (Ijarah) แบบ การเช่าดำเนินการ (Operating leasing) ธนาคารหรือสถาบันการเงินอิสลามจะให้สินเชื่อกับลูกค้าโดยการซื้อทรัพย์สินตามที่ลูกค้าต้องการ แล้วนำมาให้ลูกค้าเช่าภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน โดยลูกค้าจะนำทรัพย์สินที่เช่าไปใช้ประโยชน์ตามที่ระบุในสัญญาเท่านั้น โดยที่ทรัพย์สินยังเป็นของสถาบันการเงินหรือธนาคารอาจจะนำทรัพย์สินนี้ไปขายทอดตลาดหรือนำไปให้เช่าต่อลูกค้ารายอื่น   2.การเช่าทางการเงิน หรือ Financial Lease เป็นรูปแบบที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอิสลามนำมาใช้เพื่อให้บริการการเช่าซื้อกับลูกค้า นั่นก็คือการที่ธนาคารให้สินเชื่อกับลูกค้าโดยธนาคารหรือสถาบันการเงินอิสลามซื้อทรัพย์สินตามที่ลูกค้าต้องการ แล้วนำมาให้ลูกค้าเช่าภายในระยะเวลาและค่าเช่าที่ตกลงกัน โดยสัญญาเช่าลักษณะนี้ โดยจะมีการโอนกรรมสิทธ์ในทรัพย์สิน

Read more

เงินฝากมุฎอเราะบะห์ ตอนที่ 1

เงินฝากมุฎอเราะบะห์ (บัญชีเงินฝากแบบการลงทุน) เงินฝากมุฎอเราะบะห์ (Mudharabah investment account) นั้นได้นำหลักการทำสัญญาตามหลักมุฎอเราะบะฮ์ มาประยุกต์ใช้  หมายถึง การทำสัญญาการร่วมทำธุรกิจหรือร่วมลงทุนระหว่าง  2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือเจ้าของทรัพย์สินหรือเงินทุน (Raab ul-mal: ร็อบบุลมาล) ซึ่งได้แก่ ผู้ฝากเงินแก่ธนาคาร ให้ทุนแก่อีกฝ่ายหนึ่งคือผู้ประกอบการหรือผู้เชี่ยวชาญในการทำธุรกิจนั้น (Mudarib: มุฎอริบ) ซึ่งได้แก่ ผู้ฝากเงินแก่ธนาคารอิสลาม สถาบันการเงินอิสลาม หรือสหกรณ์อิสลาม ที่รับฝากเงิน ที่มีความรู้ความสามารถเพื่อนำเงินทุนหรือเงินฝากนั้นไปบริหารจัดการและดำเนินธุรกิจที่ไม่ขัดหลักศาสนาอิสลามหรือหลักชะรีอะห์ โดยมีข้­­อตกลงในการแบ่งปันผลกำไรตามสัดส่วนที่ตกลงร่วมกัน(Mutual Consent) เช่น 50:50  60:40 70:30 หรือ 80 : 20 เป็นต้น ในกรณีที่ขาดทุน เจ้าของเงินฝากต้องยอมรับการขาดทุนในส่วนของเงินทุนฝ่ายเดียว ขณะที่สถาบันการเงินอิสลาม หรือธนาคารอิสลาม คือผู้ประกอบการหรือผู้เชี่ยวชาญรับผิดชอบหรือขาดทุน ในส่วนที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนจากการบริหารจัดการและมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการทั่วไป 1.ผู้ฝากเงิน (Raab ul-mal: ร็อบบุลมาล) นำเงินมาฝากกับสถาบันการเงินอิสลาม หรือธนาคารอิสลาม โดยการเปิดบัญชีเงินฝากการลงทุนภายใต้หลักการมุฎอเราะบะฮ์ 2.สถาบันการเงินอิสลามหรือธนาคารอิสลาม ในฐานะผู้ประกอบการหรือผู้เชี่ยวชาญในการทำธุรกิจนั้น (Mudarib: มุฎอริบ) ลงทุนด้วยการบริหารจัดการด้วยความเชี่ยวชาญ 3.การแบ่งปันผลกำไร(Profit Sharing) ตามสัดส่วนที่ตกลงร่วมกัน (Mutual

Read more

AAOIFI องค์กรการบัญชีและการตรวจสอบสำหรับสถาบันการเงินอิสลาม

องค์กรการบัญชีและการตรวจสอบสำหรับสถาบันการเงินอิสลาม หรือ The Accounting and Auditing Organization for Islamic Financial Institutions (AAOIFI) เป็นองค์กรที่ไม่ได้แสวงหากำไรที่กำหนดนโยบายการบัญชี การตรวจสอบ บรรษัทภิบาล จริยธรรม และมาตราฐานชะรีอะห์ สำหรับสถาบันและอุตสาหกรรมการเงินอิสลาม โดยมีเป้าหมายให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลทั่วโลก (Harmonization of Islamic finance practices) AAOIFI เป็นองค์กรอิสลามที่ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกกว่า 200 สถาบันจาก 40 ประเทศทั่วโลก ซึ่งได้แก่ธนาคารกลาง สถาบันการเงินอิสลาม ธนาคารอิสลาม และอุตสาหกรรมการเงินอิสลามทั่วโลก AAOIFI ถูกจัดตั้งขึ้นสิบเนื่องจากข้อตกลงระหว่างสถาบันการเงินอิสลามวันที่ 26 ก.พ 1990 ในแอลจีเรีย และมีการจดทะเบียนจัดตั้ง AAOIFI ในวันที่ 27 มี.ค. 1991 ในประเทศบาห์เรน มาตราฐาน  AAOIFI ได้ถูกใช้เต็มรูปแบบในประเทศบาห์เรน ดูไบ จอร์แดน เลบานอน การ์ตาร์ ซูดาน และซีเรีย นอกจากนี้หลายประเทศได้ใช้มาตราฐานและการประกาศของ AAOIFI เป็นแนวทาง (guidelines)

Read more

ทำความรู้จัก SAC กับ IFA

The Shariah Advisory Council หรือชื่อย่อ SAC เป็นสภาที่ปรึกษาชะรีอะห์ ของธนาคารกลางประเทศมาเลเซีย มีอำนาจในการตัดสินด้านกฏหมายอิสลามเกี่ยวกับธนาคารอิสลาม การเงินอิสลาม ตะกาฟูล และสถาบันการเงินอิสลามต่างๆ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่ามีองค์กรอิสระจากรัฐบาลมากำกับดูแลการเงินอิสลามให้อยู่ภายใต้หลักชะรีอะห์และมีหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ธนาคารกลางของมาเลเซียในเรื่องของธุรกรรมการเงินอิสลามในธุรกิจต่างๆ โดย SAC ได้รับการรับรองจาก พรบ. ธนาคารของมาเลเซียในปี 2009 เพื่อให้คำตัดสินของ SAC มีอำนาจเหนือที่ปรึกษาชะรีอะห์ของสถาบันการเงินอิสลามต่างๆ และมีผลด้านกฏหมาย และการศาล SAC ประกอบด้วยบรรดานักวิชาการที่มีชื่อเสียง นักนิติศาสตร์อิสลาม และนักการเงินอิสลาม ที่มีประสบการณ์ ในด้านธนาคาร การเงิน เศรษฐศาสตร์ กฏหมาย และ การประยุกต์ใช้หลักชะรีอะห์ในเรื่องการเงินอิสลาม สถาบันวินิจฉัยนิติศาสตร์อิสลาม หรือ Islamic Fiqh Academy: IFA ( อยู่ภายใต้การดูแลของ Organization of Islamic Conferences: OIC)  ก่อตั้งในการประชุมสุดยอดครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่ นครมักกะฮฺ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ปี ค.ศ.1981 โดยได้คัดเลือกคณะกรรมการมาจากผู้รู้ด้านศาสนา นักกฎหมายอิสลาม นักคิด ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และสาขาวิชาต่างๆ 

Read more

Singapore กับการพัฒนาการเงินอิสลาม

การเงินอิสลามมีการพัฒนาที่โดดเด่นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่อยู่ภายใต้หลักชะรีอะห์จากมุสลิมทั่วโลก ปัจจุบันมีสถาบันการเงินอิสลามแล้วกว่า 300 สถาบัน ใน 75 ประเทศทั่วโลก เป็นที่น่าสนใจว่าการเงินอิสลามได้รับความสนใจจากประเทศที่ไม่ใช้ประเทศมุสลิม ฮ่องกงคือตัวอย่างหนึ่งที่ต้องการจะเป็นผู้นำทางการเงินอิสลามให้กับยักษ์ใหญ่อย่างจีน ขณะที่ลอนดอนต้องการจะเป็นศูนย์กลางการเงินอิสลามของยุโรปเช่นกัน  นอกจากนี้สิงค์โปรก็มีแนวคิดที่จะพัฒนาการเงินอิสลามก้าวเป็นชั้นนำในเอเซียเช่นกัน สิงค์โปร์(Singapore) เป็นประเทศเล็กๆที่มีพื้นที่ไม่มาก มีประชากรเพียง 5.08 ล้านคน ประกอบด้วยประชากรเชื้อชาติจีน มาเลย์ และอินเดีย ตามลำดับ ถึงแม้จะมีประชากรและทรัพยากรไม่มากแต่ประเทศสิงค์โปร์เป็นประเทศที่ประชาชนมีรายได้ที่สูงและมีการเจริญเติบโตของ GDP ที่สูงเช่นกัน ประเทศสิงคโปร์ เป็นประเทศที่เป็นศูนย์กลางด้านการเงิน และบริการทางการเงิน ดังนั้นการพัฒนาในเรื่องการเงินอิสลาม (Islamic Finance) ของสิงค์โปรจึงเป้าหมายที่น่าสนใจ การเงินอิสลามในสิงค์โปร(Islamic Finance in Singapore) รัฐบาลสิงค์โปรได้ออก พรบ.  ธนาคารอิสลามในปี 2005 และกระทรวงการคลังของสิงค์โปรได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการเงินอิสลามในสิงค์โปร โดยการแก้ไขปัญหาเรื่องภาษีที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบการเงินอิสลาม(Islamic Financial System) ในประเทศ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับระบบการเงินสากลได้ (Conventional Financial System) จากการช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐบาลทำให้สถาบันการเงินต่างๆของสิงค์โปรได้ ตั้ง Islamic windows หรือ Islamic Banking unit ขึ้นมาให้บริการได้อย่างแพร่หลาย โดยธนาคารที่ริเริ่มในการทำธุรกรรมในระบบการเงินอิสลามก็คือ HSBC Singapore

Read more
« Older Entries Recent Entries »