Tag Archives: ธนาคารอิสลาม

หน่วยงานที่สำคัญของระบบการเงินอิสลาม

หน่วยงานที่สำคัญของระบบการเงินอิสลาม ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาระบบการเงินอิสลามมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับมีการพัฒนาหน่วยงานต่างๆ ขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตอของระบบการเงินอิสลาม เพื่อให้มีความเป็นสากลและมีมาตรฐานที่ดีเยี่ยมในระดับนานาชาติ หน่วยงานที่สำคัญต่างๆของระบบการเงินอิสลามมีดังต่อไปนี้   ปี 1975 มีการก่อตั้ง ธนาคารการพัฒนาอิสลาม (Islamic Development Bank หรือ IDB) เป็นธนาคารแรกเริ่มที่มีความสำคัญกับระบบการเงินอิสลาม มีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมุสลิม โดยเป็นธนาคารแรกที่ดำเนินภายใต้หลักชะรีอะฮ์ ปี 1988 จัดตั้ง สถาบันนิติศาสตร์แห่งโอไอซี(OIC Fiqh Academy) เพื่อศึกษาปัญหาอันเนื่องมาจากธุรกรรมสมัยใหม่โดยพิจารณาภายใต้หลักชะรีอะฮ์ และตัดสินและหาทางออกภายใต้หลักชะรีอะฮ์ ปี 1991จัดตั้ง องค์กรการบัญชีและการตรวจสอบสำหรับสถาบันการเงินอิสลาม (AAOIFI หรือAccounting and Auditing Organization for Islamic Financial Institutions)เพื่อสร้างมาตราฐานการบัญชี การตรวจสอบ บรรษัทภิบาล จริยธรรม และมาตรฐานด้านชะรีอะฮ์ สำหรับอุตสาหกรรมและสถาบันการเงินอิสลาม ปี 2001 จัดตั้ง สภาธนาคารและสถาบันการเงินอิสลาม(General Council for Islamic Banks and Financial Institutions หรือ CIBAFI) ทำหน้าที่สนับสนุนและส่งเสริม

Read more

มุซาเราะกะฮฺ มูตานากีเศาะฮ(Musharakah Mutanaqisah)

มุซาเราะกะฮฺ มูตานากีเศาะฮ(Musharakah Mutanaqisah) หรือ Diminishing Musharakah (การร่วมลงทุนแบบถดถอย)ตามหลักวิชาการ  หมายถึง รูปแบบหนึ่งของการร่วมทุนตามหลักมุซาเราะกะฮฺ (Musharakah)  โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่าหุ้นส่วนฝ่ายหนึ่งสามารถซื้อหุ้นส่วนของอีกฝ่ายหนึ่งออกจากการเป็นหุ้นส่วนร่วมไปเรื่อยๆเพื่อการครอบครองกรรมสิทธ์ในกิจการทีทำธุรกิจร่วมกันแต่เพียงผู้เดียว การดำเนินธุรกิจของธนาคารภายใต้หลัก มุซาเราะกะฮฺ มูตานากีเศาะฮ(Musharakah Mutanakisah) มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมทุนในกิจการของลูกค้าโดยธนาคารอิสลามยินยอมให้ลูกค้าซื้อหุ้นส่วนของธนาคารในกิจการดังกล่าวไปเรื่อยๆจนหมดสิ้น เพื่อการครอบครองกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว องค์ประกอบของหลักการมุซาเราะกะฮฺ มูตานากีเศาะฮ(Musharakah Mutanaqisah)  1.คู่สัญญาทำการเป็นหุ้นส่วน ที่จะทำข้อตกลงกันทั้งสองฝ่ายด้วยความสมัครใจและจะต้องเป็นบุคคลที่บรรลุศาสนภาวะ มีสติปัญญาสมบูรณ์สามารถดูแลทรัพย์สินของตนเองได้เป็นอย่างดี และผู้ทำสัญญาทั้งสองฝ่ายต้องกระทำโดยเจตนาและสมัครใจ  2.ถ้อยคำการหุ้นส่วน ได้แก่ ถ้อยคำที่บอกถึงเจตนาของการหุ้นส่วนของทั้งสองฝ่ายและจะต้องกล่าวจำนวนเงินที่จะทำการหุ้นส่วยอย่างชัดเจนในสัญญา  3. ราคาของหุ้นส่วน ได้แก่การกำหนดราคาของหุ้นส่วนของทั้งสองฝ่ายและแบ่งจำนวนหุ้นอย่างชัดเจน  4. สินค้าหรือสินทรัพย์ที่จะทำการหุ้นส่วน ธนาคารอิสลามนิยมใช้หลักการนี้ในการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย(Home Financing) เช่น ลูกค้าประสงค์จะซื้อบ้านโดยขอสินเชื่อธนาคารอิสลาม เมื่อธนาคารพิจารณาอนุมัติ ทั้ง 2 ฝ่ายจะทำสัญญาร่วมลงทุนกันซื้อบ้านด้วยหลักการมุซาเราะกะฮฺ มูตานากีเศาะฮ(Musharakah Mutanaqisah)  โดยลูกค้าจะลงทุน 10 % และธนาคารลงทุนอีก 90% ของราคาบ้าน เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เท่ากับธนาคารอิสลามจะมีส่วนเป็นเจ้าของ 90 %  และลูกค้ามีส่วนเป็นเจ้าของ 10% หลังจากนั้น ลูกค้าก็อาศัยบ้านที่ได้ซื้อร่วมกันในฐานะผู้เช่าบ้าน(Lessee) แต่ละเดือนลูกค้าจะชำระค่าเช่าบ้านเข้าบัญชีของธนาคาร ซึ่งค่าเช่านั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งคือค่าความเป็นเจ้าของบ้าน

Read more

หลักการมุชาเราะกะฮ์(Musharakah)

มูชารอกะฮฺ   ภาษาอาหรับมาจาก  مشاركة  หมายถึง ต่างฝ่ายต่างเป็นหุ้นส่วนซึ่งกันและกัน มุชาเราะกะฮ์(Musharakah)  หรือ partnership คือการเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างบุคคล 2 ฝ่ายหรือมากกว่า ในการร่วมทุนดำเนินธุรกิจ โดยที่แต่ละฝ่ายจะต้องลงทุนไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเงิน หรือ ทรัพย์สิน กรณีที่ธุรกิจมีกำไร จะถูกแบ่งกันตามสัดส่วนที่ตกลง หากธุรกิจเกิดขาดทุน จะต้องแบ่งความเสียหายตามสัดส่วนการลงทุนด้วยเช่นกัน  มุชาเราะกะฮ์(Musharakah)  เป็นการร่วมกันลงทุน ร่วมกันลงแรง ช่วยกันบริหารทำให้ธุรกิจเกิดผลกำไร จากนั้นก็แบ่งรายได้ตามสัดส่วนที่ตกลงกันไว้ มุชาเราะกะฮ์ (Musharakah) เป็นการให้สินเชื่อโดยที่ธนาคารลงทุนร่วมกับลูกค้าในกิจการหนึ่งและแบ่งปันผลกำไรตามสัดส่วนที่ตกลงกัน โดยผลกำไรนี้อาจเป็นไปตามอัตราส่วนของการลงทุนหรือไม่ก็ได้ซึ่งขึ้นอยากับการทำการตกลงร่วมกัน(Mutual Consent) แต่ถ้าในกรณีที่ธุรกิจขาดทุนต่างฝ่ายต่างรับภาระร่วมกันตามอัตราส่วนที่ได้ลงทุนไป(Capital Contribution) เช่น ลูกค้า(Customer)ลงทุน 40% ธนาคารอิสลาม(Islamic Bank)ลงทุนอีก 60% รายได้ที่เกิดจากการประกอบธุรกิจก็จะแบ่งกันตามสัดส่วนที่ตกลงกัน (Mutual Consent) ซึ่งอาจจะตกลงแบ่งผลกำไรกันที่ ลูกค้า(Customer)  50% ธนาคารอิสลาม(Islamic Bank)50% เป็นต้น ดังที่แสดงในรูปภาพ การร่วมลงทุนมุชาเราะกะฮ์ (Musharakah)  จะแตกต่างกับ การร่วมทุนหรือมุฎอรอบะฮ์ (Mudharabah) หลักการมุชารอกะฮ์ (Musharakah) หรือการร่วมลงทุน นั้นลูกค้าและธนาคารต้องลงทุนร่วมกัน (partnership) ทั้งด้านเงินทุนหรือทรัพย์สิน หากเกิดการขาดทุน ทั้ง

Read more

หลักการซื้อขายมุรอบาฮะฮ์ (Murabahah)

หลักการซื้อขายมุรอบาฮะฮ์ (Murabahah) หลักการซื้อขายที่การธนาคารอิสลาม(Islamic Banking) ทั่วโลกนำมาใช้ คือ การซื้อมาขายไป (Murabahah หรือ มุรอบาฮะฮ์) ซึ่งเป็นการขายบนต้นทุนบวกกำไร (Cost plus Profit) โดยมีการเปิดเผยต้นทุนกับกำไรให้ลูกค้าทราบ หลักของการซื้อขายในศาสนาอิสลาม มีองค์ประกอบสำคัญ คือ ผู้ซื้อ ผู้ขาย ทรัพย์สิน ราคาขาย โดยเงื่อนไขของการซื้อขายตามหลักมุรอบาฮะฮ์ (Murabahah) นั้นสินค้าต้องเป็นกรรมสิทธิของผู้ขาย (Ownership) และสามารถส่งมอบได้ทันที สินค้าต้องเป็นสิ่งที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติอิสลาม เช่น ห้ามซื้อขายสุกร สุรา อุปกรณ์การพนัน   และราคาซื้อขายก็ต้องเป็นราคาที่เห็นชอบร่วมกันทั้งสองฝ่าย (Mutual Consent) อีกด้วย การซื้อขายตามหลักมุรอบาฮะฮ์(Murabahah) จึงเป็นการซื้อขายที่ยุติธรรม เพราะมีการบอกต้นทุนและกำไรที่ชัดเจนในการซื้อขาย ซึ่งธนาคารอิสลามทั่วโลกได้นำหลักนี้มาใช้ การซื้อขายแบบมุรอบาฮะฮ์ คือการซื้อขายที่ผู้ขายสินค้าแจ้งให้ผู้ซื้อสินค้าทราบทั้งต้นทุนของสินค้าที่ซื้อและกำไรที่ผู้ขายต้องการ หรือการขายที่ยืนอยู่บนหลักการของต้นทุนสินค้า+กำไร (Cost-plus, Mark-up) โดยราคาขายของมุรอบาฮะฮ์จะเป็นการจ่ายเงินทันที (Spot-sale) หรือการผ่อนจ่าย (Deferred Sale) ก็ได้ โดยปกติแล้ว Spot-sale ราคาจะถูกกว่า Deferred sale เช่น การซื้อขายรถยนต์ ก็จะเริ่มต้นด้วยการที่ลูกค้าต้องการรถยนต์หนึ่งคันและเข้าไปหาธนาคาร ธนาคารก็จะแต่งตั้งให้ลูกค้าเป็นตัวแทนธนาคารไปซื้อรถยนต์

Read more

Maisir การพนันข้อห้ามการเงินอิสลาม

Maisir การพนันข้อห้ามการเงินอิสลาม การพนันเรียกในภาษาอาหรับว่า อัล-กิม๊ารฺ (اَلْقِمَارُ) หรือ อัล-มัยซิรฺ (اَلْمَيْسِرُ) หมายถึง การเล่น เอาเงินหรือสิ่งอื่นด้วยการเสี่ยงโชคหรือฝีมือ(Game of Chance) โดยการทำนายหรือคาดเดาผลที่เกิดขึ้นในอนาคต การพนันอาจแบ่งได้หลายอย่าง เช่น การพนันในการแข่งขัน ตัวอย่างเช่น เกมไพ่ เกมลูกเต๋า การพนันโดยการทำนายผลที่คาดว่าเกิดขึ้นในอนาคตเช่น การแทงบอล การเล่นหวย การแทงมวย การแทงม้า ศาสนาอิสลามห้ามการพนันทุกชนิด และถือว่าเป็นบาปอันใหญ่หลวง ผู้ที่เล่นการพนันจะมีความหมกมุ่นไม่ทำมาหากิน ทำให้หมดเนื้อหมดตัวแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาในสังคมอีกด้วย บทบัญญัติเกี่ยวกับการพนัน อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงบัญญัติห้ามการพนันในอัลกุรอาน ดังนี้ ความว่า : โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ! แท้ จริงแล้วสุรา การพนัน แท่นบูชายัญ และการเสี่ยงติ้วนั้นเป็นสิ่งโสมมที่เกิดจากการกระทำของชัยฏอน ดังนั้น พวกเจ้าจงหลีกเลี่ยงมันเสีย เผื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ (อัล-มาอิดะฮฺ : 90) ความว่า : ที่จริงชัยฏอนนั้นเพียงต้องการที่จะให้เกิดการเป็นศัตรูกันและการเกลียดชัง กันระหว่างพวกเจ้าในสุราและการพนัน เท่านั้น และมันจะหันเหพวกเจ้าออกจากการรำลึกถึงอัลลอฮ์ และการละหมาดแล้วพวกเจ้าจะยุติไหม? (อัลมาอิดะฮ  : 91) ความว่า

Read more
« Older Entries