Tag Archives: ซะกาต

สินทรัพย์ที่ต้องนำมาคำนวณซะกาต(Zakat assets) ตอนที่ 2 เงินสด หรือ ธนบัตร เหรียญเงินสกุลต่างๆ

สินทรัพย์ที่ต้องนำมาคำนวณซะกาต(Zakat assets) ตอนที่ 2 เงินสด หรือ ธนบัตร เหรียญเงินสกุลต่างๆ เงินตราสกุลต่างๆ ในปัจจุบันเช่น ริยาล ดอลลาร์ บาท เป็นต้น หุก่มเหมือนกับทองคำและโลหะเงิน หากถึงพิกัดทองหรือเงิน ถือว่าต้องจ่ายซะกาตจำนวน 2.5 % เมื่อครบรอบปีปฏิทินอิสลาม เงินสด หรือ ธนบัตร หรือ เหรียญที่จะนำมาคำนวณซะกาตก็คือ เงินสดที่เก็บไว้ในรูปของเงินสกุลใดก็ตาม อาจจะเก็บไว้ที่ บ้าน หรือ ในตู้นิรภัย ถือว่าจะต้องนำมาคำนวณเพื่อออกซะกาต หากมีการเก็บสะสมเงินสดไว้ครบรอบ 1 ปีปฏิทินอิสลาม แต่ถ้าหากเงินสดมีการใช้จ่ายหมุนเวียน คือ มีการได้มาและเบิกจ่าย ให้ใช้ยอดต่ำที่สุด (Lowest Balance) ในรอบปี เป็นยอดที่นำมาคำนวณ เนื่องจากเป็นจำนวนที่แสดงถึงความมั่งคั่งของทรัพย์สินประเภทเงินสด (Wealth) ในรอบปีที่ผ่านมา จากตัวอย่างในรูปภาพให้นำยอด 3,000 บาท ไปคำนวณการออกซะกาต ในกรณีที่ไม่มีเงินฝากในสถาบันการเงินใดๆ   หากไม่ได้มีการเก็บเงินสดไว้ นอกบัญชีธนาคารจำนวนมาก กล่าวคือ มีการใช้หมดเบิกใหม่จากธนาคารหรือตู้ ATM  หมุนเวียน หมดไปตลอดทุกเดือนหรือในรอบปีที่ผ่านมา โดยเก็บสะสมเงินไว้ในบัญชีธนาคารเป็นหลัก จะถือว่าให้พิจารณายอดในบัญชีธนาคารหรือสถาบันการเงิน

Read more

สินทรัพย์ที่ต้องนำมาคำนวณซะกาต(Zakat assets) ตอนที่ 1 เงินฝาก ธนาคาร สถาบันการเงิน สหกรณ์

สินทรัพย์ที่ต้องนำมาคำนวณซะกาต(Zakat assets) ตอนที่ 1 เงินฝาก ธนาคาร สถาบันการเงิน สหกรณ์ เงินฝากสถาบันการเงินต่างๆ เช่น ธนาคาร สหกรณ์ หรือสถาบันการเงินอื่นๆ หุก่มเหมือนกับทองคำและโลหะเงิน หากถึงพิกัดทองหรือเงิน ถือว่าต้องจ่ายซะกาตจำนวน 2.5 % เมื่อครบรอบปีปฏิทินอิสลาม เงินฝากที่ต้องนำมาคำนวณ ได้แก่ เงินฝากทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นบัญชรการออม บัญชีการลงทุนหรือบัญชีเงินเดือน คือ เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากประเภทลงทุน ฯลฯ ทั้งนี้หากฝากเงินกับสถาบันการเงินทั่วไป ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินอิสลาม ซึ่งได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเงินฝาก จะต้องไม่นำดอกเบี้ยมาคำนวณซะกาต เนื่องจากเป็นเงินบาป หรือรายได้ที่ฮารอมนั้นเอง วิธีการคำนวณ ซะกาต เงินฝาก  เปิดสมุดบัญชีธนาคาร โดยพิจารณาจากยอดเงินคงเหลือ (Balance) ตลอดปีที่ผ่านมาโดยไม่ต้องสนใจยอดการฝากหรือถอน ให้นำยอดคงเหลือที่ต่ำที่สุดในรอบปี ไปคำนวณซะกาต เนื่องจากเป็นจำนวนที่แสดงถึงความมั่งคั่งของทรัพย์สินประเภทเงินฝาก (Wealth) ในรอบปีที่ผ่านมา จากตัวอย่างข้างต้นยอดเงินฝากในรอบปีที่จะนำไปคำนวณซะกาต เท่ากับ 23,000บาท   หากมีเงินฝากอยู่หลายบัญชี ให้ทำการรวมยอดในแต่ละเดือน ให้พิจารณาจากยอดเงินคงเหลือ (Balance) ตลอดปีที่ผ่านมาโดยไม่ต้องสนใจยอดการฝากหรือถอน ให้นำยอดคงเหลือที่ต่ำที่สุดในรอบปี ไปคำนวณซะกาต เนื่องจากเป็นจำนวนที่แสดงถึงความมั่งคั่งของทรัพย์สินประเภทเงินฝาก (Wealth)

Read more

การคำนวณซะกาตจากความมั่งคั่งหรือร่ำรวยทางทรัพย์สิน(Zakat on Wealth)

  การคำนวณซะกาตจากความมั่งคั่งหรือร่ำรวยทางทรัพย์สิน(Zakat on Wealth)   ในซูเราะห์อัตเตาบะฮฺ อัลลอฮฺได้ทรงตรัสว่า: (โอ้มูฮำหมัด) เจ้าจงเอาจากทรัพย์สินของพวกเขาเป็นทานซะกาต ซึ่งจะทำให้พวกเขาสะอาด และจะทำให้พวกเขาบริสุทธิ์อีกด้วย (ซูเราะห์อัตเตาบะฮฺ 103) มีรายงานจากท่านนบี ว่าท่านนบีได้ส่งเศาะฮาบะฮฺไปยังหัวเมืองต่างๆเพื่อทำหน้าที่จัดเก็บและรวบรวมซะกาต ส่วนหนึ่งจากรายงานดังกล่าวคือ รายงานของท่านอิบนุอับบาส ได้รายงานว่าท่านนบีได้ส่งท่าน มุอ๊าซ อิบนุ ญะบัล ไปยังแค้วนเยเมน และท่านได้สั่งเสียมุอ๊าซไว้ตอนหนึ่งว่า: ความว่า: จงบอกพวกเขาว่าอัลลอฮฺได้ทรงกำหนดซะกาตเหนือพวกเขา โดยเก็บจากคนร่ำรวยของพวกเขา และจ่ายคืนให้แก่คนยากจนของพวกเขา (บุคอรีย์) เนื่องในปัจจุบันนั้นมีธุรกรรมและการลงทุนทางการเงิน มีชนิดและความซับซ้อนมากกว่าในสมัยของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) อันได้แก่ มีระบบธนาคาร มีการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ มีการลงทุนในกองทุน มีการลงทุนในศุกูก เป็นต้น ดังนั้นการคำนวณซะกาตนั้นจะต้องเป็นวิธีที่เหมาะสม ถูกต้อง และสอดคล้องกับธุรกรรมทางการเงินที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และจึงไม่ใช่ข้ออ้างของคนที่มีเงินทองมากเกินพิกัดขั้นต่ำ (นิศอบ)ที่นำเงินไปลงทุนแล้วไม่ยอมจ่ายซะกาต โดยอ้างว่าการจ่ายซะกาตเฉพาะเงินทองเท่านั้น เพราะความมั่งคั่งทางทรัพย์สิน (Wealth) ของบุคคล นั้นไม่ได้ลดลง เพียงแต่เปลี่ยนชนิดของสินทรัพย์เท่านั้น แต่ยังคงดำรงการเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนหรือสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงอยู่นั้นเอง ในทางตรงกันข้าม หนี้สินในปัจจุบันก็มีรูปแบบที่ซับซ้อน ขึ้นเช่นเดียวกัน และหนี้สินระยะสั้นและหนี้สินบางประเภท ก็มีผลทำให้ ความมั่งคั่งทางทรัพย์สิน(Wealth) ของบุคคลลดลงในรอบปีนั้นเช่นกัน ดังนั้นการคำนวณซะกาตจากความมั่งคั่งทางทรัพย์สิน(Zakat on Wealth) จึงเป็นรูปแบบที่เหมาะสมในการคำนวณซะกาตให้ถูกต้อง

Read more

นิศอบพิกัดทองคำ และโลหะเงินประจำเดือนพฤษภาคม 2557

สามารถอ่านรายละเอียดการเลือกใช้นิศอบเพื่อเป็นพิกัดขั้นต่ำในการจ่ายซะกาตได้ในหัวข้อ นิศอบพิกัดทองคำและโลหะเงินในการจ่ายซะกาต นิศอบพิกัดทองคำประจำเดือนเมษายน ฿109,892.51 บาท (ลดลงจากเดือน มีนาคม 2557 -0.05%) เป็นราคาเฉลี่ย 12 เดือน เพื่อสะท้อนถึงค่าครองชีพขั่นต่ำในรอบปีที่ผ่านมา สามารถดูนิศอบพิกัดทองคำย้อนหลังได้ มกราคม 2551 – เมษายน 2557 ได้ดังนี้ นิศอบพิกัดโลหะเงินประจำเดือนเมษายน ฿13,863.44 บาท (ลดลงจากเดือน มีนาคม 2557 -0.70%) เป็นราคาเฉลี่ย 12 เดือน เพื่อสะท้อนถึงค่าครองชีพขั่นต่ำในรอบปีที่ผ่านมา สามารถดูนิศอบพิกัดทองคำย้อนหลังได้ มกราคม 2551 – เมษายน 2557 ได้ดังนี้ วัลลอฮุอะลัม เรียบเรียงโดย Muhammad Azmii Mahamad หมายเหตุ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความด้วยการอ้างอิงถึง http://www.การเงินอิสลาม.com หรือ http://www.islamicfinancethai.com

Read more

นิศอบพิกัดทองคำ และโลหะเงินประจำเดือนเมษายน 2557

นิศอบพิกัดทองคำประจำเดือนเมษายน ฿109,950 บาท (ลดลงจากเดือน มีนาคม 2557 -0.31%) เป็นราคาเฉลี่ย 12 เดือน เพื่อสะท้อนถึงค่าครองชีพขั่นต่ำในรอบปีที่ผ่านมา สามารถดูนิศอบพิกัดทองคำย้อนหลังได้ มกราคม 2551 – เมษายน 2557 ได้ดังนี้   นิศอบพิกัดโลหะเงินประจำเดือนเมษายน ฿13,960 บาท (ลดลงจากเดือน มีนาคม 2557 -1.18%) เป็นราคาเฉลี่ย 12 เดือน เพื่อสะท้อนถึงค่าครองชีพขั่นต่ำในรอบปีที่ผ่านมา สามารถดูนิศอบพิกัดทองคำย้อนหลังได้ มกราคม 2551 – เมษายน 2557 ได้ดังนี้   สามารถอ่านรายละเอียดการเลือกใช้นิศอบเพื่อเป็นพิกัดขั้นต่ำในการจ่ายซะกาตได้ในหัวข้อ นิศอบพิกัดทองคำและโลหะเงินในการจ่ายซะกาต       วัลลอฮุอะลัม เรียบเรียงโดย Muhammad Azmii Mahamad หมายเหตุ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความด้วยการอ้างอิงถึง http://www.การเงินอิสลาม.com หรือ http://www.islamicfinancethai.com

Read more
« Older Entries Recent Entries »