Tag Archives: การเงินอิสลาม

มะฮัรตามซุนนะห์ ประจำเดือนสิงหาคม 2557

มะฮัรตามซุนนะห์ของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) คือ 500 ดิรฮัม จึงใช้การคำนวณมูลค่า 500 ดิรฮัมจากราคาของโลหะเงินในตลาดโลก ซึ่ง 500 ดิรฮัม จะเท่ากับโลหะเงิน 1487.50 กรัม จะสามารถคำนวณมะฮัรซุนนะห์ ของเดือน สิงหาคม 2557 ได้ดังนี้ สามารถอ่านรายละเอียดเรื่องมะฮัรตามซุนนะหฺ ได้ที่ข้อหัว มะฮัรตามซุนนะห์ สามารถตรวจสอบมะฮัรตามซุนนะห์ย้อนหลังตั้งแต่มกราคม 2552 – สิงหาคม 2557 ได้ดังนี้

Read more

นิศอบพิกัดทองคำ และโลหะเงินประจำเดือนสิงหาคม 2557

สามารถอ่านรายละเอียดการเลือกใช้นิศอบเพื่อเป็นพิกัดขั้นต่ำในการจ่ายซะกาตได้ในหัวข้อ นิศอบพิกัดทองคำและโลหะเงินในการจ่ายซะกาต สามารถดูนิศอบพิกัดทองคำย้อนหลังได้ มกราคม 2551 – สิงหาคม 2557 ได้ดังนี้ สามารถดูนิศอบพิกัดทองคำย้อนหลังได้ มกราคม 2551 – สิงหาคม 2557 ได้ดังนี้  

Read more

โปรแกรมคำนวณซะกาตออนไลน์(Zakat Calculator Online)

พบกับ WEB APP “โปรแกรมคำนวณซะกาตออนไลน์(Zakat Calculator Online)” ที่แรกในประเทศไทย พร้อมด้วยคู่มือคำอธิบายการคำนวณสินทรัพย์และหนี้สินที่จะต้องนำมาคำนวณซะกาตในแต่ละรอบปี เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องมุสลิมในการคำนวณซะกาต หวังว่าโปรแกรมคำนวณซะกาตออนไลน์นี้จะสามารถทำให้สามารถคำนวณซะกาตได้อย่างถูกต้องและเกิดความยุติธรรมและเป็นธรรม ทั้งผู้ที่มีหน้าที่จ่ายซะกาตและผู้ที่มีสิทธิรับซะกาต อินชาอัลลอฮฺ   สามารถ คำนวณซะกาตจากความมั่งคั่ง(Zakat On Wealth) ผ่านทาง WEB APP  (อัพเดตนิศอบพิกัดทองคำและ นิศอบพิกัดโลหะเงินทุกๆเดือน) ได้ที่…     สามารถ Download โปรแกรมคำนวณซะกาตในรูปแบบโปรแกรม Excel ได้ทุกๆเดือน (เพื่ออัพเดตนิศอบพิกัดทองคำและนิศอบพิกัดโลหะเงิน) ได้ที่…   คู่มือการคำนวณซะกาตจากความมั่งคั่ง (Zakat On Wealth)                        

Read more

ตัวอย่างการคำนวณซะกาตจากความมั่งคั่ง(Zakat On wealth)

ตัวอย่างการคำนวณ ซะกาตจากความมั่งคั่ง หรือความร่ำรวยทางทรัพย์สิน(Zakat On wealth) คำอธิบาย รายการทรัพย์สิน รายการที่ 1 ,2 ,3 และ 9  บ้าน เฟอร์นิเจอร์ เครื่องประดับบ้าน และรถยนต์ ไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ต้องนำมาคำนวณซะกาต จนกว่าจะมีเจตนานำมาค้าขาย เนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่เอาไว้ใช้ประโยชน์ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม รายการที่ 4 ทองคำแท่ง ต้องนำมาคำนวณซะกาตเนื่องจากไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่นำาใช้ประโยชน์ แต่เป็นสินทรัพย์สำหรับการลงทุนและมีสภาพคล่อง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม รายการที่ 5 ทองรูปพรรณ เครื่องประดับ ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่เอาไว้ใช้ประโยชน์และไม่ได้มีมากเกินกว่าค่านิยมในสังคม ไม่ต้องนำมาคำนวณซะกาต อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม รายการที่ 6 เงินฝากธนาคาร ต้องนำมาคำนวณซะกาต โดยหากมีดอกเบี้ยรับจะต้องหักออกจากการคำนวณซะกาต ในกรณีที่มีดอกเบี้ยรวมอยู่ในยอดเงินฝากที่ผู้คำนวณซะกาตยังไม่ได้หักออก เนื่องจากเป็นทรัพย์ที่ไม่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม หรือเงินปาบ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม รายการที่ 7 หุ้นสามัญเพื่อค้า จะต้องนำคำนวณซะกาต ด้วยมูลค่าพอร์ตที่ต่ำสุดในรอบปี หากไม่สามารถหาได้ ให้ใช้มูลค่าตลาด ณ วันที่ คำนวณซะกาต อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม รายการที่ 8 กองทุน LTF และ RMF เป็นการลงทุนที่ควรนำมาคำนวณซะกาตหากผู้คำนวณซะกาตไม่มีความยากลำบากในการจ่ายซะกาตในช่วงเวลาการออมและลงทุน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

Read more

สินทรัพย์ที่ต้องนำมาคำนวณซะกาต (Zakat Assets) ตอนที่ 4 หุ้น กองทุน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ซะกาตหุ้น ซะกาตการลงทุนในหุ้นสามัญ(ซึ่งอาจจะอยู่ในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่ก็ตาม) นักวิชาการได้ให้ความเห็นว่า (Majma al-Fiqh al-Islami, in its Fourth Session held in Jeddah) กรณีที่ลงทุนในหุ้นสามัญ แบบระยะยาวเพื่อรับปันผลจากบริษัท ในทุกๆปี ไม่ต้องนำหุ้นสามัญที่ลงทุนระยะยาว มาคำนวณซะกาต เนื่องจากผู้ลงทุนไม่ได้ถือหุ้นเพื่อการขายเอากำไร (Trading) เสมือนการถือครองที่ดิน หรืออาคาร เพื่อเอาค่าเช่า ส่วนในเรื่องของเงินปันผลนั้น ก็คือเงินสด หากมีการเก็บไว้ครอบรอบ 1 ปี ก็ต้องนำมาคำนวณซะกาตตามปกติ ในเรื่องของเงินสดหรือเงินฝากนั้นเอง กรณีที่ลงทุนในหุ้นสามัญ เพื่อการค้าเอากำไรส่วนต่าง หรือ Capital gain หากสามารถหามูลค่าต่ำที่สุดลของพอร์ตการลงทุนในรอบปีได้ ให้นำมูลค่าต่ำสุดมาคำนวณซะกาต หรือหากไม่ได้มีการบันทึกไว้หรือไม่สามารถหาได้ ให้นำมาคำนวณซะกาตด้วยราคาตลาด (Market Value) ณ วันที่คำนวณซะกาต ยกเว้นการถือหุ้นที่ไม่ถูกหลักศาสนาเช่น สามารถดูรายละเอียดได้ที่ ธุรกิจต้องห้ามในศาสนาอิสลาม จะไม่สามารถนำมาคำนวณซะกาตได้เพราะถือว่าเป็นการ ลงทุนหรือถือหุ้น เป็นเจ้าของบริษัทที่ไม่ถูกตามหลักของศาสนาอิสลาม ซะกาตกองทุน กองทุนทั่วไป (Mutual Fund) นั้นเป็นการลงทุนสมัยใหม่ในอีกรูปแบบหนึ่ง การคำนวณซะกาตให้ใช้ราคาตลาด (Market Value) ณ วันที่คำนวณซะกาต มาคำนวณซะกาตรวมกับสินทรัพย์อื่นๆ

Read more
« Older Entries