Tag Archives: การลงทุนอิสลาม

Maisir การพนันข้อห้ามการเงินอิสลาม

Maisir การพนันข้อห้ามการเงินอิสลาม การพนันเรียกในภาษาอาหรับว่า อัล-กิม๊ารฺ (اَلْقِمَارُ) หรือ อัล-มัยซิรฺ (اَلْمَيْسِرُ) หมายถึง การเล่น เอาเงินหรือสิ่งอื่นด้วยการเสี่ยงโชคหรือฝีมือ(Game of Chance) โดยการทำนายหรือคาดเดาผลที่เกิดขึ้นในอนาคต การพนันอาจแบ่งได้หลายอย่าง เช่น การพนันในการแข่งขัน ตัวอย่างเช่น เกมไพ่ เกมลูกเต๋า การพนันโดยการทำนายผลที่คาดว่าเกิดขึ้นในอนาคตเช่น การแทงบอล การเล่นหวย การแทงมวย การแทงม้า ศาสนาอิสลามห้ามการพนันทุกชนิด และถือว่าเป็นบาปอันใหญ่หลวง ผู้ที่เล่นการพนันจะมีความหมกมุ่นไม่ทำมาหากิน ทำให้หมดเนื้อหมดตัวแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาในสังคมอีกด้วย บทบัญญัติเกี่ยวกับการพนัน อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงบัญญัติห้ามการพนันในอัลกุรอาน ดังนี้ ความว่า : โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ! แท้ จริงแล้วสุรา การพนัน แท่นบูชายัญ และการเสี่ยงติ้วนั้นเป็นสิ่งโสมมที่เกิดจากการกระทำของชัยฏอน ดังนั้น พวกเจ้าจงหลีกเลี่ยงมันเสีย เผื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ (อัล-มาอิดะฮฺ : 90) ความว่า : ที่จริงชัยฏอนนั้นเพียงต้องการที่จะให้เกิดการเป็นศัตรูกันและการเกลียดชัง กันระหว่างพวกเจ้าในสุราและการพนัน เท่านั้น และมันจะหันเหพวกเจ้าออกจากการรำลึกถึงอัลลอฮ์ และการละหมาดแล้วพวกเจ้าจะยุติไหม? (อัลมาอิดะฮ  : 91) ความว่า

Read more

การลงทุนในกองทุนเปิดแบบอิสลาม

การลงทุนในกองทุนเปิดแบบอิสลาม นอกจากกองทุนรวมประเภท Islamic LTF และ RMF ที่เคยนำเสนอไปแล้วนั้นในประเทศไทยยังมีกองทุนรวมเปิดแบบอิสลาม ที่สามารถซื้อขายโดยไม่มีเงื่อนไขมากนักแบบ LTF หรือ RMF แต่กองทุนประเภทนี้ไม่สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้เหมือนกับ Islamic LTF และ RMF  เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่นิยมลงทุนหุ้นเป็นรายตัว จึงฝากให้ผู้จัดการกองทุนบริหารเงินลงทุนแทน กองทุนเปิด (Opened – End Fund) คือ กองทุนรวมชนิดที่อาจมีการกำหนดอายุโครงการหรือไม่ก็ได้ แต่ที่สำคัญก็คือ บลจ. สามารถที่จะขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมและต่อเนื่องได้ หลังจากที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนในครั้งแรกไปแล้ว รวมถึงสามารถรับซื้อคืนหน่วยลงทุนจากผู้ลงทุนเมื่อใดก็ได้ตลอดเวลา โดยในทางปฏิบัติ บลจ. มักจะมีการกำหนดระยะเวลาในการขาย ตลอดจนการรับซื้อคืนไว้ก่อนล่วงหน้า โดยอาจเปิดให้ทำการซื้อขายได้ทุกวันทำการ สัปดาห์ละครั้ง เดือนละครั้ง หรืออาจจะเป็นปีละ 2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ได้กำหนดขึ้น ผู้ลงทุนเองก็สามารถนำหน่วยลงทุนมาขายคืนให้กับ บลจ. หรือตัวแทนสนับสนุนการขาย กองทุนประเภทนี้จึงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน กองทุนเปิดจะลงทุนในกรอบของชะรีอะห์ และมีการตั้งที่ปรึกษาด้านศาสนาหรือชะรีอะห์มากำกับการลงทุน  โดยมีกรอบการลงทุนดังนี้ ห้ามลงทุนที่เกี่ยวข้องกับริบา(Riba) หรือดอกเบี้ย กองทุนไม่สามารถที่จะซื้อหุ้นสามัญของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ รวมถึงบริษัทเช่าซื้อต่างๆ ซึ่งมีรายได้หลักจากการเรียกเก็บดอกเบี้ยจากการกู้ยืม ห้ามลงทุนที่เกี่ยวข้องกับความไม่แน่นอน(Gharar)กองทุนจึงไม่สามารถลงทุนหุ้นสามัญของบริษัทประกันภัยทั่วไป ที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ได้ เพราะธุรกิจประกันภัยทั่วไป นั้นมีความไม่แน่นอนในเรื่องของการการเคลมประกัน ซึ่งเราไม่ทราบว่าจะเกิดความเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุขึ้นเมื่อใด ห้ามลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการพนัน(Maisir)กองทุนจึงห้ามการลงทุนซื้อหุ้นสามัญของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการพนัน เช่น

Read more

ธนาคารโลกหรือ World Bank เปิดศูนย์พัฒนาการเงินอิสลาม

ธนาคารโลกหรือ World Bank  ได้เปิดตัวศูนย์การเงินอิสลามที่เมืองอิสตันบูล(Istanbul) ด้วยความร่วมมือกับรัฐบาลตุรกี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2013 ที่ผ่านมา โดยมีนายกรัฐมนตรีของตุรกีนาย Ali Babacan และ Jim Yong Kim ประธานธนาคารโลกได้ร่วมกันเปิดงานที่อาคาร Borsa Istanbul building ที่เมืองอิสตันบูล(Istanbul) นาย Yong Kim ประธานธนาคารโลกได้เปิดเผยว่า “นับเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ที่ธนาคารโลกได้ร่วมมือกับตุรกีในร่วมมือกันพัฒนาระบบการเงินอิสลาม(Islamic Financial system) เพื่อให้การบริการด้านคำปรึกษาและการพัฒนาสาธารณูปโภคด้านระบบการเงินอิสลาม” นายกรัฐมนตรีของตุรกีนาย Ali Babacan ได้เน้นย้ำกว่า “ระบบการเงินที่ปราศจากดอกเบี้ย(interest-free finance system) เป็นแก่นของระบบการเงินอิสลาม ไม่เพียงแต่สร้างความมั่นคงทางการเงินแต่ยังจำกัดความเสี่ยงที่ไม่จำเป็นอีกด้วย เพราะว่าระบบการเงินอิสลามนั้นเน้นการสร้างทรัพย์สินที่แท้จริงและมีมูลค่า นอกจากนี้ IMF  ได้รายงานว่าข้อดีของระบบการเงินอิสลาม คือการเป็นระบบที่ปราศจากดอกเบี้ย (interest-free finance system) อีกด้วย” จะเห็นได้ว่าในตอนนี้แม้แต่ธนาคารโลกและ IMF ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจับตาและพัฒนา การเงินอิสลามแล้ว เนื่องด้วยการเจริญเติบโตและกระแสการเงินอิสลามที่โดดเด่นและน่าจับตามองทั่วโลก   ที่มา : http://www.globalislamicfinancemagazine.com เรียบเรียงโดย Muhammad Azmii

Read more