มะฮัรตามซุนนะห์(Sunnah Mahar) อิสลามได้กำหนดเงื่อนไขที่ทำให้การแต่งงานใช้ได้หรือไม่ ด้วยการที่เจ้าบ่าวต้องจ่ายมะฮัรแก่เจ้าสาว แม้ว่าฝ่ายเจ้าสาวจะยินยอมแต่งโดยไม่คิดค่าสินสอดก็ตาม ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่า “พวกเจ้าจงมอบปัจจัยทานเป็นของขวัญแก่เหล่าสตรีเถิด” (อันนิสาอฺ : 4) “มะฮัร” ตามหลักการของศาสนานั้น หมายถึง “ทรัพย์ที่ทางเจ้าบ่าวจะมอบแก่เจ้าสาวของตนในพิธีสมรส ไม่ใช่สินสอดที่ให้แก่บิดามารดาของเธอ” แต่เมื่อเธอได้รับมันแล้ว เธอก็สามารถที่จะมอบทรัพย์บางส่วนแก่ใครก็ได้ที่เธอต้องการ เนื่องจากเป็นสิทธิ์ของเธอแล้ว อิสลามไม่กำหนดมะฮัร แต่ได้มอบหมายให้กับความพร้อมของฝ่ายชายและความสบายใจของฝ่ายหญิง ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละสังคมที่แตกต่างกันไป ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้กล่าวแก่ชายคนหนึ่งที่ต้องการแต่งงานกับสตรีนางหนึ่งว่า “จงหาค่ามะฮัรถึงแม้จะเป็นแหวนเหล็กเพียงวงหนึ่งก็ตาม แต่ชายคนนั้นไม่สามารถหาได้เช่นเดียวกัน ท่านนะบี จึงแต่งงานด้วยการให้ชายคนนั้นสอนบางซูเราะฮ์ในอัลกุรอานให่แก่สตรีที่จะแต่งงานด้วย” (รายงานโดยอัลบุคอรีย์/5135) ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้ทำการสมรสบรรดาบุตรีและภรรยาของท่านจำนวน 500 ดิรฮัม ดังนั้นโต๊ะครูสมัยก่อนได้ตีราคามะฮัรจำนวน 500 ดิรฮัมว่า 1 ดิรฮัมเท่ากับ 1 สลึง (ซึ่งในสมัยนั้น 1 สลึง ก็มีค่าพอสมควร)4 สลึงเป็น 1 บาท เอา 4 หารด้วยกับ 500 = 125 บาท บรรดาผู้ใหญ่สมัยก่อนจึงกำหนดมะฮัรที่ฝ่ายชายต้องมอบให้แก่ฝ่ายหญิงเป็นจำนวน 125 บาท ซึ่งก็ถือว่ามีจำนวนมากอยู่(ที่นาสมัยก่อนราคาไม่กี่ร้อยบาท) ซึ่งธรรมเนียมดังกล่าวก็ได้สืบทอดมาถึงปัจจุบัน แต่เนื่องจากสมัยท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)
Read more