Category Archives: หลักการมุชาเราะกะฮ์(Musharakah)

มุซาเราะกะฮฺ มูตานากีเศาะฮ(Musharakah Mutanaqisah)

มุซาเราะกะฮฺ มูตานากีเศาะฮ(Musharakah Mutanaqisah) หรือ Diminishing Musharakah (การร่วมลงทุนแบบถดถอย)ตามหลักวิชาการ  หมายถึง รูปแบบหนึ่งของการร่วมทุนตามหลักมุซาเราะกะฮฺ (Musharakah)  โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่าหุ้นส่วนฝ่ายหนึ่งสามารถซื้อหุ้นส่วนของอีกฝ่ายหนึ่งออกจากการเป็นหุ้นส่วนร่วมไปเรื่อยๆเพื่อการครอบครองกรรมสิทธ์ในกิจการทีทำธุรกิจร่วมกันแต่เพียงผู้เดียว การดำเนินธุรกิจของธนาคารภายใต้หลัก มุซาเราะกะฮฺ มูตานากีเศาะฮ(Musharakah Mutanakisah) มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมทุนในกิจการของลูกค้าโดยธนาคารอิสลามยินยอมให้ลูกค้าซื้อหุ้นส่วนของธนาคารในกิจการดังกล่าวไปเรื่อยๆจนหมดสิ้น เพื่อการครอบครองกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว องค์ประกอบของหลักการมุซาเราะกะฮฺ มูตานากีเศาะฮ(Musharakah Mutanaqisah)  1.คู่สัญญาทำการเป็นหุ้นส่วน ที่จะทำข้อตกลงกันทั้งสองฝ่ายด้วยความสมัครใจและจะต้องเป็นบุคคลที่บรรลุศาสนภาวะ มีสติปัญญาสมบูรณ์สามารถดูแลทรัพย์สินของตนเองได้เป็นอย่างดี และผู้ทำสัญญาทั้งสองฝ่ายต้องกระทำโดยเจตนาและสมัครใจ  2.ถ้อยคำการหุ้นส่วน ได้แก่ ถ้อยคำที่บอกถึงเจตนาของการหุ้นส่วนของทั้งสองฝ่ายและจะต้องกล่าวจำนวนเงินที่จะทำการหุ้นส่วยอย่างชัดเจนในสัญญา  3. ราคาของหุ้นส่วน ได้แก่การกำหนดราคาของหุ้นส่วนของทั้งสองฝ่ายและแบ่งจำนวนหุ้นอย่างชัดเจน  4. สินค้าหรือสินทรัพย์ที่จะทำการหุ้นส่วน ธนาคารอิสลามนิยมใช้หลักการนี้ในการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย(Home Financing) เช่น ลูกค้าประสงค์จะซื้อบ้านโดยขอสินเชื่อธนาคารอิสลาม เมื่อธนาคารพิจารณาอนุมัติ ทั้ง 2 ฝ่ายจะทำสัญญาร่วมลงทุนกันซื้อบ้านด้วยหลักการมุซาเราะกะฮฺ มูตานากีเศาะฮ(Musharakah Mutanaqisah)  โดยลูกค้าจะลงทุน 10 % และธนาคารลงทุนอีก 90% ของราคาบ้าน เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เท่ากับธนาคารอิสลามจะมีส่วนเป็นเจ้าของ 90 %  และลูกค้ามีส่วนเป็นเจ้าของ 10% หลังจากนั้น ลูกค้าก็อาศัยบ้านที่ได้ซื้อร่วมกันในฐานะผู้เช่าบ้าน(Lessee) แต่ละเดือนลูกค้าจะชำระค่าเช่าบ้านเข้าบัญชีของธนาคาร ซึ่งค่าเช่านั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งคือค่าความเป็นเจ้าของบ้าน

Read more

หลักการมุชาเราะกะฮ์(Musharakah)

มูชารอกะฮฺ   ภาษาอาหรับมาจาก  مشاركة  หมายถึง ต่างฝ่ายต่างเป็นหุ้นส่วนซึ่งกันและกัน มุชาเราะกะฮ์(Musharakah)  หรือ partnership คือการเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างบุคคล 2 ฝ่ายหรือมากกว่า ในการร่วมทุนดำเนินธุรกิจ โดยที่แต่ละฝ่ายจะต้องลงทุนไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเงิน หรือ ทรัพย์สิน กรณีที่ธุรกิจมีกำไร จะถูกแบ่งกันตามสัดส่วนที่ตกลง หากธุรกิจเกิดขาดทุน จะต้องแบ่งความเสียหายตามสัดส่วนการลงทุนด้วยเช่นกัน  มุชาเราะกะฮ์(Musharakah)  เป็นการร่วมกันลงทุน ร่วมกันลงแรง ช่วยกันบริหารทำให้ธุรกิจเกิดผลกำไร จากนั้นก็แบ่งรายได้ตามสัดส่วนที่ตกลงกันไว้ มุชาเราะกะฮ์ (Musharakah) เป็นการให้สินเชื่อโดยที่ธนาคารลงทุนร่วมกับลูกค้าในกิจการหนึ่งและแบ่งปันผลกำไรตามสัดส่วนที่ตกลงกัน โดยผลกำไรนี้อาจเป็นไปตามอัตราส่วนของการลงทุนหรือไม่ก็ได้ซึ่งขึ้นอยากับการทำการตกลงร่วมกัน(Mutual Consent) แต่ถ้าในกรณีที่ธุรกิจขาดทุนต่างฝ่ายต่างรับภาระร่วมกันตามอัตราส่วนที่ได้ลงทุนไป(Capital Contribution) เช่น ลูกค้า(Customer)ลงทุน 40% ธนาคารอิสลาม(Islamic Bank)ลงทุนอีก 60% รายได้ที่เกิดจากการประกอบธุรกิจก็จะแบ่งกันตามสัดส่วนที่ตกลงกัน (Mutual Consent) ซึ่งอาจจะตกลงแบ่งผลกำไรกันที่ ลูกค้า(Customer)  50% ธนาคารอิสลาม(Islamic Bank)50% เป็นต้น ดังที่แสดงในรูปภาพ การร่วมลงทุนมุชาเราะกะฮ์ (Musharakah)  จะแตกต่างกับ การร่วมทุนหรือมุฎอรอบะฮ์ (Mudharabah) หลักการมุชารอกะฮ์ (Musharakah) หรือการร่วมลงทุน นั้นลูกค้าและธนาคารต้องลงทุนร่วมกัน (partnership) ทั้งด้านเงินทุนหรือทรัพย์สิน หากเกิดการขาดทุน ทั้ง

Read more