Category Archives: ธนาคารคารอิสลาม

มุซาเราะกะฮฺ มูตานากีเศาะฮ(Musharakah Mutanaqisah)

มุซาเราะกะฮฺ มูตานากีเศาะฮ(Musharakah Mutanaqisah) หรือ Diminishing Musharakah (การร่วมลงทุนแบบถดถอย)ตามหลักวิชาการ  หมายถึง รูปแบบหนึ่งของการร่วมทุนตามหลักมุซาเราะกะฮฺ (Musharakah)  โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่าหุ้นส่วนฝ่ายหนึ่งสามารถซื้อหุ้นส่วนของอีกฝ่ายหนึ่งออกจากการเป็นหุ้นส่วนร่วมไปเรื่อยๆเพื่อการครอบครองกรรมสิทธ์ในกิจการทีทำธุรกิจร่วมกันแต่เพียงผู้เดียว การดำเนินธุรกิจของธนาคารภายใต้หลัก มุซาเราะกะฮฺ มูตานากีเศาะฮ(Musharakah Mutanakisah) มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมทุนในกิจการของลูกค้าโดยธนาคารอิสลามยินยอมให้ลูกค้าซื้อหุ้นส่วนของธนาคารในกิจการดังกล่าวไปเรื่อยๆจนหมดสิ้น เพื่อการครอบครองกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว องค์ประกอบของหลักการมุซาเราะกะฮฺ มูตานากีเศาะฮ(Musharakah Mutanaqisah)  1.คู่สัญญาทำการเป็นหุ้นส่วน ที่จะทำข้อตกลงกันทั้งสองฝ่ายด้วยความสมัครใจและจะต้องเป็นบุคคลที่บรรลุศาสนภาวะ มีสติปัญญาสมบูรณ์สามารถดูแลทรัพย์สินของตนเองได้เป็นอย่างดี และผู้ทำสัญญาทั้งสองฝ่ายต้องกระทำโดยเจตนาและสมัครใจ  2.ถ้อยคำการหุ้นส่วน ได้แก่ ถ้อยคำที่บอกถึงเจตนาของการหุ้นส่วนของทั้งสองฝ่ายและจะต้องกล่าวจำนวนเงินที่จะทำการหุ้นส่วยอย่างชัดเจนในสัญญา  3. ราคาของหุ้นส่วน ได้แก่การกำหนดราคาของหุ้นส่วนของทั้งสองฝ่ายและแบ่งจำนวนหุ้นอย่างชัดเจน  4. สินค้าหรือสินทรัพย์ที่จะทำการหุ้นส่วน ธนาคารอิสลามนิยมใช้หลักการนี้ในการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย(Home Financing) เช่น ลูกค้าประสงค์จะซื้อบ้านโดยขอสินเชื่อธนาคารอิสลาม เมื่อธนาคารพิจารณาอนุมัติ ทั้ง 2 ฝ่ายจะทำสัญญาร่วมลงทุนกันซื้อบ้านด้วยหลักการมุซาเราะกะฮฺ มูตานากีเศาะฮ(Musharakah Mutanaqisah)  โดยลูกค้าจะลงทุน 10 % และธนาคารลงทุนอีก 90% ของราคาบ้าน เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เท่ากับธนาคารอิสลามจะมีส่วนเป็นเจ้าของ 90 %  และลูกค้ามีส่วนเป็นเจ้าของ 10% หลังจากนั้น ลูกค้าก็อาศัยบ้านที่ได้ซื้อร่วมกันในฐานะผู้เช่าบ้าน(Lessee) แต่ละเดือนลูกค้าจะชำระค่าเช่าบ้านเข้าบัญชีของธนาคาร ซึ่งค่าเช่านั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งคือค่าความเป็นเจ้าของบ้าน

Read more

หลักการมุชาเราะกะฮ์(Musharakah)

มูชารอกะฮฺ   ภาษาอาหรับมาจาก  مشاركة  หมายถึง ต่างฝ่ายต่างเป็นหุ้นส่วนซึ่งกันและกัน มุชาเราะกะฮ์(Musharakah)  หรือ partnership คือการเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างบุคคล 2 ฝ่ายหรือมากกว่า ในการร่วมทุนดำเนินธุรกิจ โดยที่แต่ละฝ่ายจะต้องลงทุนไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเงิน หรือ ทรัพย์สิน กรณีที่ธุรกิจมีกำไร จะถูกแบ่งกันตามสัดส่วนที่ตกลง หากธุรกิจเกิดขาดทุน จะต้องแบ่งความเสียหายตามสัดส่วนการลงทุนด้วยเช่นกัน  มุชาเราะกะฮ์(Musharakah)  เป็นการร่วมกันลงทุน ร่วมกันลงแรง ช่วยกันบริหารทำให้ธุรกิจเกิดผลกำไร จากนั้นก็แบ่งรายได้ตามสัดส่วนที่ตกลงกันไว้ มุชาเราะกะฮ์ (Musharakah) เป็นการให้สินเชื่อโดยที่ธนาคารลงทุนร่วมกับลูกค้าในกิจการหนึ่งและแบ่งปันผลกำไรตามสัดส่วนที่ตกลงกัน โดยผลกำไรนี้อาจเป็นไปตามอัตราส่วนของการลงทุนหรือไม่ก็ได้ซึ่งขึ้นอยากับการทำการตกลงร่วมกัน(Mutual Consent) แต่ถ้าในกรณีที่ธุรกิจขาดทุนต่างฝ่ายต่างรับภาระร่วมกันตามอัตราส่วนที่ได้ลงทุนไป(Capital Contribution) เช่น ลูกค้า(Customer)ลงทุน 40% ธนาคารอิสลาม(Islamic Bank)ลงทุนอีก 60% รายได้ที่เกิดจากการประกอบธุรกิจก็จะแบ่งกันตามสัดส่วนที่ตกลงกัน (Mutual Consent) ซึ่งอาจจะตกลงแบ่งผลกำไรกันที่ ลูกค้า(Customer)  50% ธนาคารอิสลาม(Islamic Bank)50% เป็นต้น ดังที่แสดงในรูปภาพ การร่วมลงทุนมุชาเราะกะฮ์ (Musharakah)  จะแตกต่างกับ การร่วมทุนหรือมุฎอรอบะฮ์ (Mudharabah) หลักการมุชารอกะฮ์ (Musharakah) หรือการร่วมลงทุน นั้นลูกค้าและธนาคารต้องลงทุนร่วมกัน (partnership) ทั้งด้านเงินทุนหรือทรัพย์สิน หากเกิดการขาดทุน ทั้ง

Read more

หลักการซื้อขายมุรอบาฮะฮ์ (Murabahah)

หลักการซื้อขายมุรอบาฮะฮ์ (Murabahah) หลักการซื้อขายที่การธนาคารอิสลาม(Islamic Banking) ทั่วโลกนำมาใช้ คือ การซื้อมาขายไป (Murabahah หรือ มุรอบาฮะฮ์) ซึ่งเป็นการขายบนต้นทุนบวกกำไร (Cost plus Profit) โดยมีการเปิดเผยต้นทุนกับกำไรให้ลูกค้าทราบ หลักของการซื้อขายในศาสนาอิสลาม มีองค์ประกอบสำคัญ คือ ผู้ซื้อ ผู้ขาย ทรัพย์สิน ราคาขาย โดยเงื่อนไขของการซื้อขายตามหลักมุรอบาฮะฮ์ (Murabahah) นั้นสินค้าต้องเป็นกรรมสิทธิของผู้ขาย (Ownership) และสามารถส่งมอบได้ทันที สินค้าต้องเป็นสิ่งที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติอิสลาม เช่น ห้ามซื้อขายสุกร สุรา อุปกรณ์การพนัน   และราคาซื้อขายก็ต้องเป็นราคาที่เห็นชอบร่วมกันทั้งสองฝ่าย (Mutual Consent) อีกด้วย การซื้อขายตามหลักมุรอบาฮะฮ์(Murabahah) จึงเป็นการซื้อขายที่ยุติธรรม เพราะมีการบอกต้นทุนและกำไรที่ชัดเจนในการซื้อขาย ซึ่งธนาคารอิสลามทั่วโลกได้นำหลักนี้มาใช้ การซื้อขายแบบมุรอบาฮะฮ์ คือการซื้อขายที่ผู้ขายสินค้าแจ้งให้ผู้ซื้อสินค้าทราบทั้งต้นทุนของสินค้าที่ซื้อและกำไรที่ผู้ขายต้องการ หรือการขายที่ยืนอยู่บนหลักการของต้นทุนสินค้า+กำไร (Cost-plus, Mark-up) โดยราคาขายของมุรอบาฮะฮ์จะเป็นการจ่ายเงินทันที (Spot-sale) หรือการผ่อนจ่าย (Deferred Sale) ก็ได้ โดยปกติแล้ว Spot-sale ราคาจะถูกกว่า Deferred sale เช่น การซื้อขายรถยนต์ ก็จะเริ่มต้นด้วยการที่ลูกค้าต้องการรถยนต์หนึ่งคันและเข้าไปหาธนาคาร ธนาคารก็จะแต่งตั้งให้ลูกค้าเป็นตัวแทนธนาคารไปซื้อรถยนต์

Read more

อิญาเราะฮ์ (Ijarah)

อิญาเราะฮ์ (Ijarah = Leasing) หรือในภาษาอาหรับ الإجارة คือ สัญญาจ้างหรือสัญญาเช่า หมายถึง การที่เจ้าของทรัพย์สินโอนสิทธิประโยชน์การใช้ทรัพย์สิน (Usufruct) ให้อีกฝ่ายหนึ่ง โดยมีค่าเช่าเป็นค่าตอบแทนภายในระยะเวลาที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน โดยกรรมสิทธิของทรัพย์สินยังคงเป็นของเจ้าของทรัพย์หรือผู้ให้เช่า โดยมีหลักฐานจากอัลกุรอ่าน สูเราะฮฺ อัล-เกาะศ็อศ อายะห์ที่ 26-27 ดังนี้ อิญาเราะฮ์ (Ijarah) หรือ การเช่ามี 2 ประเภทคือ 1.การเช่าดำเนินการ หรือ Operating leasing หมายถึง เจ้าของทรัพย์สินให้เช่าแก่ผู้เช่าภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน โดยเจ้าของทรัพย์สินจะนำทรัพย์สินที่เช่าไปใช้ประโยชน์ตามที่ระบุในสัญญาหรือที่ตกลงกันนั้นเท่านั้น ตัวอย่างที่พบกันทั่วไปคือ การจ้างงานหรือการทำงานได้รับเงินเดือน (การเช่าความรู้ความสามารถ) การเช่าหอพักอาศัย การเช่าอาคาร การเช่าเพื่อทำร้านค้า การเช่าห้องแถว เป็นต้น ภายใต้หลักการอิญาเราะฮ์ (Ijarah) แบบ การเช่าดำเนินการ (Operating leasing) ธนาคารหรือสถาบันการเงินอิสลามจะให้สินเชื่อกับลูกค้าโดยการซื้อทรัพย์สินตามที่ลูกค้าต้องการ แล้วนำมาให้ลูกค้าเช่าภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน โดยลูกค้าจะนำทรัพย์สินที่เช่าไปใช้ประโยชน์ตามที่ระบุในสัญญาเท่านั้น โดยที่ทรัพย์สินยังเป็นของสถาบันการเงินหรือธนาคารอาจจะนำทรัพย์สินนี้ไปขายทอดตลาดหรือนำไปให้เช่าต่อลูกค้ารายอื่น   2.การเช่าทางการเงิน หรือ Financial Lease เป็นรูปแบบที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอิสลามนำมาใช้เพื่อให้บริการการเช่าซื้อกับลูกค้า นั่นก็คือการที่ธนาคารให้สินเชื่อกับลูกค้าโดยธนาคารหรือสถาบันการเงินอิสลามซื้อทรัพย์สินตามที่ลูกค้าต้องการ แล้วนำมาให้ลูกค้าเช่าภายในระยะเวลาและค่าเช่าที่ตกลงกัน โดยสัญญาเช่าลักษณะนี้ โดยจะมีการโอนกรรมสิทธ์ในทรัพย์สิน

Read more

เงินฝากมุฎอเราะบะห์ ตอนที่ 1

เงินฝากมุฎอเราะบะห์ (บัญชีเงินฝากแบบการลงทุน) เงินฝากมุฎอเราะบะห์ (Mudharabah investment account) นั้นได้นำหลักการทำสัญญาตามหลักมุฎอเราะบะฮ์ มาประยุกต์ใช้  หมายถึง การทำสัญญาการร่วมทำธุรกิจหรือร่วมลงทุนระหว่าง  2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือเจ้าของทรัพย์สินหรือเงินทุน (Raab ul-mal: ร็อบบุลมาล) ซึ่งได้แก่ ผู้ฝากเงินแก่ธนาคาร ให้ทุนแก่อีกฝ่ายหนึ่งคือผู้ประกอบการหรือผู้เชี่ยวชาญในการทำธุรกิจนั้น (Mudarib: มุฎอริบ) ซึ่งได้แก่ ผู้ฝากเงินแก่ธนาคารอิสลาม สถาบันการเงินอิสลาม หรือสหกรณ์อิสลาม ที่รับฝากเงิน ที่มีความรู้ความสามารถเพื่อนำเงินทุนหรือเงินฝากนั้นไปบริหารจัดการและดำเนินธุรกิจที่ไม่ขัดหลักศาสนาอิสลามหรือหลักชะรีอะห์ โดยมีข้­­อตกลงในการแบ่งปันผลกำไรตามสัดส่วนที่ตกลงร่วมกัน(Mutual Consent) เช่น 50:50  60:40 70:30 หรือ 80 : 20 เป็นต้น ในกรณีที่ขาดทุน เจ้าของเงินฝากต้องยอมรับการขาดทุนในส่วนของเงินทุนฝ่ายเดียว ขณะที่สถาบันการเงินอิสลาม หรือธนาคารอิสลาม คือผู้ประกอบการหรือผู้เชี่ยวชาญรับผิดชอบหรือขาดทุน ในส่วนที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนจากการบริหารจัดการและมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการทั่วไป 1.ผู้ฝากเงิน (Raab ul-mal: ร็อบบุลมาล) นำเงินมาฝากกับสถาบันการเงินอิสลาม หรือธนาคารอิสลาม โดยการเปิดบัญชีเงินฝากการลงทุนภายใต้หลักการมุฎอเราะบะฮ์ 2.สถาบันการเงินอิสลามหรือธนาคารอิสลาม ในฐานะผู้ประกอบการหรือผู้เชี่ยวชาญในการทำธุรกิจนั้น (Mudarib: มุฎอริบ) ลงทุนด้วยการบริหารจัดการด้วยความเชี่ยวชาญ 3.การแบ่งปันผลกำไร(Profit Sharing) ตามสัดส่วนที่ตกลงร่วมกัน (Mutual

Read more
« Older Entries