Category Archives: ข่าวโลกการเงินอิสลาม

อัพเดตสถานะระบบการเงินอิสลามปี 2013 ที่ผ่านมา

ในปี 2013 ที่ผ่านมาระบบการเงินอิสลามยังคงมีการพัฒนาในหลายๆประเทศ อย่างต่อเนื่อง จากรูปภาพจะเห็นว่าประเทศที่แกนหลักของระบบการเงินอิสลามนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศแถบตะวันออกกลาง แอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากแผนที่โลกข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีประเทศมากกว่าครึ่งโลกที่เข้ามามีส่วนร่วมกับระบบการเงินอิสลาม มิใช่จำกัดอยู่เฉพาะเพียงแต่ในเฉพาะประเทศมุสลิมเท่านั้น สินทรัพย์รวมของระบบการเงินอิสลามทั้งโลก(Global Islamic Assets)เติบโตจากช่วงปี 1990 ที่มีมูลค่าเพียง 150 พันล้านเหรียญดอลล่าสหรัฐ สู่ระดับมูลค่าสินทรัพย์รวม ฯ 1.8 ล้านล้านเหรียญดอลล่าสหรัฐในปี 2013 เป็นการเติบโตเฉลี่ย 16% ในทุกๆปี และมีการคาดการณ์ว่าในปี 2020 ระดับมูลค่าสินทรัพย์รวม ฯ จะมีมูลค่าสูงถึง 6.5 ล้านล้านเหรียญดอลล่าสหรัฐ จากมูลค่าสินทรัพย์รวมของระบบการเงินอิสลาม(Islamic Financial System) 1.8 ล้านล้านเหรียญดอลล่าสหรัฐ ในปี 2013 อันดับหนึ่งมาจากมูลค่าสินทรัพย์ของระบบธนาคารอิสลาม(Islamic Banking) 80 % หรือประมาณ 1.44 ล้านล้านเหรียญดอลล่าสหรัฐ อันดับที่สอง มูลค่าจากพันธบัตรอิสลามหรือตราสารศุกูก(Sukuk) 15% หรือประมาณ 0.27 ล้านล้านเหรียญดอลล่าสหรัฐ อันดับที่สาม มูลค่าจากกองทุนอิสลาม(Islamic Funds) 4 % หรือประมาณ 0.072 ล้านล้านเหรียญดอลล่าสหรัฐ

Read more

UAE ตั้งเป้าผู้นำพัฒนามาตราฐานการเงินอิสลาม และเมืองหลวงการเงินอิสลามของโลก

Sheikh Mohammed bin Rashid รองประธานาธิบดี และเจ้านครรัฐดูไบ(Dubai) ได้เปิดเผยว่า สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(UAE) มีวิสัยทัศน์ เป็นเมืองหลวงการเงินอิสลามของโลก รองรับมูลค่าการเติบโตของผลิตภัณฑ์การเงินอิสลามที่เข้าสู่ระดับ 2 ล้านล้านดอลลาร์ โดยจะมีการจัดตั้งสภาชะรีอะห์ของโลก เพื่อสร้างมาตราฐานในระดับนานาชาติสำหรับการเงินอิสลาม และเป็นการสร้างความเป็นผู้นำด้านการเงินอิลสามแซงหน้าประเทศมาเลเซียและบาเรน นอกจากนี้ UAE จะผลักดันมาตราฐานระดับนานาชาติสำหรับการเงินอิสลาม ธนาคารอิสลาม เพื่อให้ลดความแตกต่างในเรื่องมาตราฐานการปฏิบัติในแต่ละประเทศในโลกของการเงินอิสลาม อุตสาหกรรมการเงินอิสลามใน UAE นั้นมีการเจริญเติบโตอย่างมาก โดยในปี 2012 มีการออกขายพันธบัตรอิสลามหรือศุกูก(Sukuk) เป็นสถิติใหม่ในคาบสมุทรอาหรับด้วยมูลค่าถึง $21.2 พันล้านจากบรรดาบริษัทในคาบสมุทรอาหรับ การตั้งวิสัยทัศน์ของ UAE ในครั้งนี้เพื่อจะพัฒนามาตราฐานระดับนานาชาตก่อนปี 2015 ซึ่ง Standard & Poor’s มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2015 มูลค่าการเติบโตของผลิตภัณฑ์การเงินอิสลามจะมีมูลค่าถึง 2.6 ล้านล้านดอลลาร์  จะต้องติดตามกันต่อไปว่า UAE จะสามารถรวมมาตราฐานการเงินอิสลามเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งโลกได้หรือไม่ เพื่อแข่งขันและเป็นทางเลือกจากระบบการเงินทั่วไป(Conventional Finance) ต่อไปในอนาคต ที่มา :http://www.thenational.ae เรียบเรียงโดย Muhammad Azmii Mahamad หมายเหตุไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความด้วยการอ้างอิงถึง http://www.การเงินอิสลาม.com หรือ http://www.islamicfinancethai.com

Read more

Australia การเงินอิสลามช่วยพัฒนาประเทศ

Australia โอกาสทองกับการเงินอิสลาม เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านรัฐบาลของออสเตรเลียนำโดยภาคการเงินได้พิจารณาที่จะเปลี่ยนแปลงกฏหมายและภาษีที่จำเป็นเพื่อจะพัฒนาเป็นศูนย์กลางการเงินอิสลามแห่งภูมิภาค Asia-Pacific การเมืองและสังคมของออสเตรเลียค่อนข้างมั่นคงและมีตลาดทางการเงินที่ก้าวหน้าทำให้มีความน่าสนใจสำหรับการสร้างระบบการเงินอิสลามอย่างมืออาชีพ เพื่อเป็นศูนย์กลางการให้บริการไม่เพียงเฉพาะประชากรมุสลิมของออสเตรเลียเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการทำธุรกรรมข้ามประเทศกับอินโดนีเซียและมาเลเซียอีกด้วย Hatim El Tahir ผู้อำนวยการของบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินอย่าง  Deloitte ในประเทศ Bahrain ได้กล่าวว่าออสเตรเลียมีเศรษฐกิจที่ดี มีการลงทุนทั้งการเกษตร การลงทุน เหมืองแร่ ที่จะสินทรัพย์ที่ดีในระบบการเงินอิสลาม                    นาย Alex Regan ผู้เชียวชาญทางการเงินของบริษัท Corrs Chambers Westgarth ได้เปิดเผยว่าออสเตรเลียมีระบบการเงินอิสลามที่ดีในการพัฒนาเครื่องมือทางการเงินอิสลาม อันได้แก่ การซื้อขาย(Murabahah) การเช่า(Ijarah) การร่วมลงทุนแบบจำกัด(Mudarabah)และการใช้พันธบัตรอิสลามหรือตราสารศุกูก สำหรับโครงการใหญ่ๆ และระบบการเงินอิสลามได้มีบทบาทในการระดมทุนเพื่อพัฒนาระบบสาธารณูปโภคในออสเตรเลียเป็นอย่างมาก  หลายประเทศในตะวันออกกลางได้จับตาว่าออสเตรเลียจะเป็นประเทศที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินอิสลามเป็นอย่างมาก ที่มา : http://www.globalislamicfinancemagazine.com   เรียบเรียงโดย Muhammad Azmii Mahamad หมายเหตุไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความด้วยการอ้างอิงถึง http://www.การเงินอิสลาม.com หรือ http://www.islamicfinancethai.com

Read more

ธนาคารโลกหรือ World Bank เปิดศูนย์พัฒนาการเงินอิสลาม

ธนาคารโลกหรือ World Bank  ได้เปิดตัวศูนย์การเงินอิสลามที่เมืองอิสตันบูล(Istanbul) ด้วยความร่วมมือกับรัฐบาลตุรกี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2013 ที่ผ่านมา โดยมีนายกรัฐมนตรีของตุรกีนาย Ali Babacan และ Jim Yong Kim ประธานธนาคารโลกได้ร่วมกันเปิดงานที่อาคาร Borsa Istanbul building ที่เมืองอิสตันบูล(Istanbul) นาย Yong Kim ประธานธนาคารโลกได้เปิดเผยว่า “นับเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ที่ธนาคารโลกได้ร่วมมือกับตุรกีในร่วมมือกันพัฒนาระบบการเงินอิสลาม(Islamic Financial system) เพื่อให้การบริการด้านคำปรึกษาและการพัฒนาสาธารณูปโภคด้านระบบการเงินอิสลาม” นายกรัฐมนตรีของตุรกีนาย Ali Babacan ได้เน้นย้ำกว่า “ระบบการเงินที่ปราศจากดอกเบี้ย(interest-free finance system) เป็นแก่นของระบบการเงินอิสลาม ไม่เพียงแต่สร้างความมั่นคงทางการเงินแต่ยังจำกัดความเสี่ยงที่ไม่จำเป็นอีกด้วย เพราะว่าระบบการเงินอิสลามนั้นเน้นการสร้างทรัพย์สินที่แท้จริงและมีมูลค่า นอกจากนี้ IMF  ได้รายงานว่าข้อดีของระบบการเงินอิสลาม คือการเป็นระบบที่ปราศจากดอกเบี้ย (interest-free finance system) อีกด้วย” จะเห็นได้ว่าในตอนนี้แม้แต่ธนาคารโลกและ IMF ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจับตาและพัฒนา การเงินอิสลามแล้ว เนื่องด้วยการเจริญเติบโตและกระแสการเงินอิสลามที่โดดเด่นและน่าจับตามองทั่วโลก   ที่มา : http://www.globalislamicfinancemagazine.com เรียบเรียงโดย Muhammad Azmii

Read more

การเงินอิสลามอาจช่วยโลกได้

            รัฐบาลอังกฤษตัดสินใจที่จะออกพันธบัตรอิสลามหรือศุกูก(Sukuk) ซึ่งเป็นตราสารที่ภายใต้หลักชะรีอะห์ มีคำถามที่ถูกถามขึ้นก็คือ ประเทศที่ไม่ใช่ประเทศมุสลิมอย่างอังกฤษหรือประเทศอื่นๆทำไมถึงได้สนใจการเงินอิสลาม?                     รัฐบาลอังกฤษมีแผนที่จะออกพันธบัตรอิสลามหรือศุกูก(Sukuk) มูลค่า $323 ล้าน เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเป็นศูนย์กลางการเงินอิสลามของยุโรป George Osborne รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง กล่าวแก่ Financial Times ว่า “รัฐบาลอังกฤษต้องการที่จะออกพันธบัตรอิสลามหรือศุกูก (Sukuk) ซึ่งเป็นการออกพันธบัตรอิสลามนอกประเทศมุสลิมเป็นครั้งแรก แต่ประเทศเยอรมัน ได้เป็นประเทศแรกไปแล้วในการออกพันธบัตรอิสลามในปี 2004   พันธบัตรอิสลามหรือศุกูก(Sukuk) จะต้องมีทรัพย์สินอ้างอิง (Underlying assets) เสมอ   โดยทรัพย์สินอ้างอิง (Underlying assets) จะเป็นทรัพย์สินที่สร้างกระแสรายได้สำหรับการระดมทุน ซึ่งแตกต่างกับพันธบัตรทั่วไปซึ่งเป็นในลักษณะการกู้ยืมโดยมีดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทน ซึ่งอาจจะสร้างความเสียหายได้กับระบบเศรษฐกิจเฉกเช่น วิกฤตการเงินปี 2008 Subprime Crisis เป็นการนำหนี้ที่ไม่มีคุณภาพ และอนุพันธ์ (Derivatives) มาอ้างอิง ซึ่งเป็นข้อห้ามของการเงินอิสลาม การเงินอิสลามอาจจะเป็นบางสิ่งบางอย่างที่โลกนี้ต้องการ และผู้คนทั่วไปสามารถที่จะเข้าใจระบบของมันได้” ที่มา Bloomberg เรียบเรียงโดย Muhammad Azmii

Read more
« Older Entries