Category Archives: การเงินอิสลาม

Maisir การพนันข้อห้ามการเงินอิสลาม

Maisir การพนันข้อห้ามการเงินอิสลาม การพนันเรียกในภาษาอาหรับว่า อัล-กิม๊ารฺ (اَلْقِمَارُ) หรือ อัล-มัยซิรฺ (اَلْمَيْسِرُ) หมายถึง การเล่น เอาเงินหรือสิ่งอื่นด้วยการเสี่ยงโชคหรือฝีมือ(Game of Chance) โดยการทำนายหรือคาดเดาผลที่เกิดขึ้นในอนาคต การพนันอาจแบ่งได้หลายอย่าง เช่น การพนันในการแข่งขัน ตัวอย่างเช่น เกมไพ่ เกมลูกเต๋า การพนันโดยการทำนายผลที่คาดว่าเกิดขึ้นในอนาคตเช่น การแทงบอล การเล่นหวย การแทงมวย การแทงม้า ศาสนาอิสลามห้ามการพนันทุกชนิด และถือว่าเป็นบาปอันใหญ่หลวง ผู้ที่เล่นการพนันจะมีความหมกมุ่นไม่ทำมาหากิน ทำให้หมดเนื้อหมดตัวแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาในสังคมอีกด้วย บทบัญญัติเกี่ยวกับการพนัน อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงบัญญัติห้ามการพนันในอัลกุรอาน ดังนี้ ความว่า : โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ! แท้ จริงแล้วสุรา การพนัน แท่นบูชายัญ และการเสี่ยงติ้วนั้นเป็นสิ่งโสมมที่เกิดจากการกระทำของชัยฏอน ดังนั้น พวกเจ้าจงหลีกเลี่ยงมันเสีย เผื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ (อัล-มาอิดะฮฺ : 90) ความว่า : ที่จริงชัยฏอนนั้นเพียงต้องการที่จะให้เกิดการเป็นศัตรูกันและการเกลียดชัง กันระหว่างพวกเจ้าในสุราและการพนัน เท่านั้น และมันจะหันเหพวกเจ้าออกจากการรำลึกถึงอัลลอฮ์ และการละหมาดแล้วพวกเจ้าจะยุติไหม? (อัลมาอิดะฮ  : 91) ความว่า

Read more

ประเภทของริบา(Riba) ตอนที่ 2

จากตอนที่ 1 ได้ทราบ ริบา อัลดุยุน (Riba al Duyun) คือ ริบาหรือ ดอกเบี้ยที่เกิดจากสัญญาหนี้ไปแล้ว ในตอนที่ 2 นี้จะกล่าวถึงริบา (ส่วนเพิ่ม) จากการค้าขาย เรียกว่า ริบา อัลบุยุอ์ (Riba al Buyu’u)  “اَلذَّهَبُ بِالذَّهَبِ ، وَالْفِضَّةُ بِالْفِضَّةِ ، وَالْبُرُّبِالْبُرِّ ،   وَالشَّعِيْرُ بِالشَّعِيْر  ،  وَالْمِلْحُ بِالْمِلْحِ  ،  مَثَلاً بِمَثَلٍ  ،  يَدً ابِيَدٍ  ،  فَمَنْ زَادَ أَوِاسْتَزَادَفَقَدْ أرْبى  ،  الآخِذُوَالْمُعْطِى فِيْهِ سَوَاءٌ” จากหลักฐานที่ท่านศาสดากล่าวว่า “ทองคำแลกกับทองคำ เงินแลกกับเงิน ข้าวสาลีแลกกับข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์แลกกับข้าวบาร์เลย์ อินทผลัมแห้งแลกกับอินทผลัมแห้ง เกลือแลกกับเกลือ สิ่งเดียวกันแลกกับสิ่งเดียวกัน ต้องแลกด้วยจำนวนที่เท่ากัน ต้องแลกด้วยมือต่อมือแต่หากสิ่งที่นำมำแลกต่างชนิดกัน

Read more

ประเภทของริบา(Riba) ตอนที่ 1

ริบาถือเป็นบาปใหญ่ประเภทหนึ่ง ดังได้ถูกห้ามและพระเจ้าได้ประกาศสงครามกับผู้ที่ยุ่งเกี่ยวกับดอกเบี้ย โดยระบุไว้ในอัลกรุอ่าน ความว่า  “โอ้ ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงอย่ากินริบา(ดอกเบี้ย) หลายเท่าที่ถูกทบทวี และพวกเจ้าพึงยำเกรงอัลลอฮฺเถิดเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ” (อาละอิมรอน: 130) ริบา(Riba)  นั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกคือ  ริบา อัลดุยุน (Riba al Duyun) คือ ดอกเบี้ยจากสัญญาหนี้ ประเภทที่สอง คือ ริบา อัลบุยุอ์ (Riba al Buyu’u)  คือ ดอกเบี้ยจากการค้าขาย ประเภทที่ 1 คือ  ริบา อัลดุยุน (Riba al Duyun) คือ ดอกเบี้ยจากสัญญาหนี้ ซึ่งประกอบด้วย  ริบาอัลกอร์ด (Riba al Qardh) คือ ดอกเบี้ยที่ถูกกำหนดล่วงหน้า ได้แก่ ส่วนเพิ่มจากการกู้ยืมที่มีการกำหนด เมื่อมีการทำสัญญา โดยผู้กู้ (Borrower) จะต้องจ่ายคืนเงินต้น พร้อมดอกเบี้ย (Principle + Interest) แก่ผู้ให้กู้ (Lender)

Read more

การเงินอิสลามคืออะไร?

การเงินอิสลาม(Islamic Finance) คือ ระบบการการเงินที่อยู่ภายใต้กรอบหลักศาสนาอิสลาม หรือ หลักชะรีอะห์ (Shariah Law) ในการทำธุรกรรมใดๆ หลักชะรีอะห์ (Shariah Law) หรือกฎหมายอิสลามนั้นนำไปใช้กับทุกๆด้านของชีวิตชาวมุสลิม รวมทั้งด้านการเงิน ระบบการเงินอิสลาม เป็นระบบการเงินทางเลือกจากระบบทั่วไป Conventional Finance ซึ่งมีพื้นฐานจากดอกเบี้ย ซึ่งเป็นข้อห้ามหลักทางศาสนาอิสลาม เนื่องจากมีผู้นับถือศาสนาอิสลามมากกว่า 2 พันล้านคนในโลกปัจจุบัน ตลาดการเงินอิสลามทั่วโลกมีการเติบโตแบบก้าวกระโดดเนื่องจากชาวมุสลิมต้องการบริการด้านการเงินที่สอดคล้องกับความหลักศาสนาอิสลาม ปัจจุบันการเงินอิสลามมีธุรกิจที่หลากหลายให้เป็นทางเลือกแก่มุสลิมในการรับบริการทางการเงินมากมายอาทิ เช่น -ธนาคารอิสลาม (Islamic Banking) -การลงทุนแบบอิสลาม (Islamic Investment) -ตลาดเงินตลาดทุนอิสลาม (Islamic Capital Market) -ตะกาฟูล (Takaful) -การวางแผนทางการเงินอิสลาม (Islamic Financial Planning) หมายเหตุ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ความรู้ในเรื่อง ด้วยการอ้างอิงถึง http://www.islamicfinancethai.com ด้วยครับ

Read more
Recent Entries »