Category Archives: การเงินอิสลาม

หลักชะรีอะฮ์ และเจตนารมณ์ของหลักชะรีอะฮ์

หลักชะรีอะฮ์(Shariah Law) หรือกฎหมายอิสลาม หมายถึง “หลักธรรมอันเป็นข้อกำหนดต่างๆในชีวิตมนุษย์ ซึ่งอัลลอฮ์ (พระผู้เป็นเจ้า)  ประทานเป็นธรรมบัญญัติให้มนุษย์ปฏิบัติตาม ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ การกระทำ หรือเกณฑ์จริยธรรมสำหรับมนุษย์” ทั้งนี้ หลักธรรมอันเป็นข้อกำหนดต่างๆที่กล่าวถึงประกอบขึ้นมาจากแหล่งอ้างอิงสำคัญ 4 แหล่ง คือ คัมภีร์อัล-กุรอาน คำสอน การปฏิบัติ และการเห็นชอบของท่านศาสดามูฮัมมัด ซ.ล. (อัล-ฮะดีษหรืออัส-ซุนนะฮ์) ความเห็นอันเป็นเอกฉันท์ของนักวิชาการ (อัล-อิจญมาอ์) การเทียบเคียงกรณีใหม่ๆ เข้ากับกรณีเดิมที่ปรากฏอยู่ในคำสอนทางศาสนา ที่มีมูลเหตุเดียวกัน หรือ ธรรมชาติของกรณีนั้นๆ ที่เหมือนกันในทางชะรีอะฮ์ (การเทียบเคียงดังกล่าวเรียกว่า อัล-กิยาส) สำหรับธุรกรรมของการลงทุนในหุ้น อาจหมายถึง กฏเกณฑ์ ข้อบังคับ มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติของศาสนาอิสลามที่บังคับใช้กับธุรกรรมทางการเงิน ที่ได้มาจากการกิยาสแล้ว เจตนารมย์ของชะรีอะฮ์(Maqasid al-Shar’iyah) ดุรุริยาต (Dururiyat) : หลักประกันพื้นฐาน หลักประกันความมั่นคงด้านศาสนา/ความเชื่อ (Din) หลักประกันความมั่นคงด้านชีวิต (Nafs) หลักประกันความมั่นคงด้านการสืบสายพันธุ์ (Nasl) หลักประกันความมั่นคงด้านทรัพย์สิน (Mal) หลักประกันความมั่นคงด้านสติปัญญา (‘Aql) เจตนารมณ์แห่งชารีอะฮ์ระดับแรก แสดงถึงการให้ความสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานของชีวิตมนุษย์ โดยได้เน้นย้ำในการนำเสนอหลักประกันความมั่นคงของมนุษย์ เป็นพื้นฐานสำหรับโลกนี้(ดุนยา)และโลกหน้า(อาคีเราะฮ์)

Read more

การใช้บัตรเครดิตตามหลักการอิสลาม

บัตรเครดิต ใช้อย่างไรให้ถูกหลักศาสนาอิสลาม ธุรกรรมสมัยใหม่ที่เข้ามามีบทบาท ที่หลายๆคนรู้จักและใช้บริการอยู่ นั่นคือ บริการบัตรเครดิต จากธนาคารต่างๆ ที่เข้ามาให้บริการลูกค้าบัตรเครดิตนั้นเปรียบไปแล้วก็เหมือนกับวงเงินที่ธนาคารมอบให้แก่ผู้ที่มีเครดิต สามารถนำบัตรเครดิตไป ซื้อสินค้าและบริการแทนเงินสด ข้อดีและความสะดวกของการใช้บัตรเครดิต 1. ได้สิทธิ์รับส่วนลด ส่วนคืนเงินสด และแต้มสะสม เมื่อสมัครชำระค่าบริการรายเดือนต่างๆ ผ่านบัญชีบัตรเครดิตโดยอัตโนมัติ เช่น ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเอไอเอส จะให้ส่วนลด 5% แก่ลูกค้าที่จ่ายค่าบริการรายเดือนด้วยวิธีการนี้ เป็นต้น 2. รับสิทธิพิเศษ และสิทธิประโยชน์จากร้านค้า หรือผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโปรโมชั่นกับบัตรเครดิตที่ใช้  สิทธิพิเศษดีๆ ที่บางครั้งเงินก็ไม่สามารถซื้อได้ เช่นที่จอดรถพิเศษเฉพาะในห้างสรรพสินค้าชื่อดัง หรืออาจจะต้องชำระเงินเป็นหลักพันเพื่อให้ได้ใช้บริการ อย่างสิทธิ์ในการเข้าใช้ห้องพักรับรองที่สนามบิน ตลอดจนการ ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่ร้านอาหารบางร้านเข้าร่วมโดยเพียงใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตตรงตามเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ทางร้านหรือบัตรเครดิตของกำหนด ก็จะได้รับของแถม ส่วนลด หรือสิทธิพิเศษอื่นๆ ที่มากกว่าซึ่งในบางครั้งการชำระค่าใช้จ่ายด้วยเงินสดอาจจะไม่ได้รับอะไรเพิ่มเลย 3. ลดความยุ่งยากของการชำระค่าสาธารณูปโภค และค่าใช้จ่ายประจำที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์บ้าน ค่ามือถือ ค่าบริการอินเตอร์เน็ตรายเดือน และค่าบริการเคเบิ้ลทีวี ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้และต้องชำระทุกๆ เดือน ดังนั้นการทำเรื่องขอชำระค่าบริการรายเดือนผ่านบัตรเครดิตเพื่อจ่ายค่าสาธารณูปโภคทั้งหลายนอกจากจะช่วยทำ ให้ประหยัดเวลาที่จะต้องมาคอยเดินไล่จ่ายบิลค่าบริการของแต่ละที่ ไม่ต้องมาคอยนั่งจดจำเดดไลน์กำหนดชำระค่าบริการ และลดปัญหาความยุ่งยากในกรณีที่ลืมชำระค่าบริการอย่างเช่นค่าไฟฟ้านี่ หากลืมจ่ายจนเกิดเป็นยอดค้างชำระแล้ว จะต้องเดินทางไปชำระยอดค้างชำระนั้นๆโดยตรงที่สำนักงานการไฟฟ้าฯ ไม่สามารถชำระตามเคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือเคาน์เตอร์ธนาคารได้นอกจากนั้นในบางทีการสมัครชำระค่าบริการสาธารณูปโภคผ่านบัตรเครดิตยังจะได้รับข้อเสนอดีๆ เพิ่มขึ้นอีก 4. ใช้ทำธุรกรรมต่างๆ

Read more

ธุรกิจต้องห้าม(Haram Business) ในระบบการเงินอิสลาม

โดยทั่วไปการดำเนินธุรกิจ หรือการทำธุรกรรมในศาสนาอิสลามตามหลักชะรีอะห์นั้นจะต้องไม่ไปเกี่ยวข้องกับธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ไม่ถูกหลักศาสนาอิสลามตามหลักชะรีอะห์ ระบบการเงินอิสลามก็เช่นเดียวกันที่ยึดตามหลักชะรีอะห์ในไม่ยุ่งเกี่ยวกับธุรกิจต้องห้ามต่างๆ (Haram Business) เช่นธนาคารหรือสถาบันการเงิน จะไม่อำนวยสินเชื่อให้ธุรกิจต้องห้ามหรือรับเงินฝากจากธุรกิจต้องห้าม หรือ กองทุนอิสลาม จะไม่ไปซื้อหุ้นของบริษัทต้องห้าม เป็นต้น ธุรกิจต้องห้ามหลักๆ (Haram Business)ที่มักถูกกล่าวถึงในระบบการเงินอิสลามมีดังต่อไปนี้ คือ 1. ธุรกิจเครื่องดื่มมึนเมา(Alcoholic beverages)  เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ ที่ทำให้ขาดสติ หรืออาการมึนเมา  ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น บริษัทขายเหล้า เบียร์ สุรา หรือไวน์  บริษัทที่ผลิตขายบรรจุภัณฑ์สุรา เหล้า เบีบร์ หรือไวน์ เป็นต้น 2. ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวกับสุกร (Pork products) ได้แก่ อาหารที่ทำจากหมูหรือสุกร อาหารที่มีส่วนผสมของสุกร เครื่องสำอางค์ เวชสำองค์ ที่มีส่วนผสมของสุกร เป็นต้น 3.  ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับยาสูบ(Tobacco products) เช่น บุหรี่ หรือยาสูบซึ่งมีอันตรายต่อสุขภาพ  หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยาสูบ หรือบุหรี่ เป็นต้น 4.  ธุรกิจเกี่ยวข้องกับการผลิตและจำหน่ายดนตรี(Production and Distribution of Music media)ได้แก่ ธุรกิจผลิตดนตรีเพลงหรือเกี่ยวข้องกับการผลิตดนตรี ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายดนตรี

Read more

หน่วยงานที่สำคัญของระบบการเงินอิสลาม

หน่วยงานที่สำคัญของระบบการเงินอิสลาม ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาระบบการเงินอิสลามมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับมีการพัฒนาหน่วยงานต่างๆ ขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตอของระบบการเงินอิสลาม เพื่อให้มีความเป็นสากลและมีมาตรฐานที่ดีเยี่ยมในระดับนานาชาติ หน่วยงานที่สำคัญต่างๆของระบบการเงินอิสลามมีดังต่อไปนี้   ปี 1975 มีการก่อตั้ง ธนาคารการพัฒนาอิสลาม (Islamic Development Bank หรือ IDB) เป็นธนาคารแรกเริ่มที่มีความสำคัญกับระบบการเงินอิสลาม มีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมุสลิม โดยเป็นธนาคารแรกที่ดำเนินภายใต้หลักชะรีอะฮ์ ปี 1988 จัดตั้ง สถาบันนิติศาสตร์แห่งโอไอซี(OIC Fiqh Academy) เพื่อศึกษาปัญหาอันเนื่องมาจากธุรกรรมสมัยใหม่โดยพิจารณาภายใต้หลักชะรีอะฮ์ และตัดสินและหาทางออกภายใต้หลักชะรีอะฮ์ ปี 1991จัดตั้ง องค์กรการบัญชีและการตรวจสอบสำหรับสถาบันการเงินอิสลาม (AAOIFI หรือAccounting and Auditing Organization for Islamic Financial Institutions)เพื่อสร้างมาตราฐานการบัญชี การตรวจสอบ บรรษัทภิบาล จริยธรรม และมาตรฐานด้านชะรีอะฮ์ สำหรับอุตสาหกรรมและสถาบันการเงินอิสลาม ปี 2001 จัดตั้ง สภาธนาคารและสถาบันการเงินอิสลาม(General Council for Islamic Banks and Financial Institutions หรือ CIBAFI) ทำหน้าที่สนับสนุนและส่งเสริม

Read more

อัพเดตสถานะระบบการเงินอิสลามปี 2013 ที่ผ่านมา

ในปี 2013 ที่ผ่านมาระบบการเงินอิสลามยังคงมีการพัฒนาในหลายๆประเทศ อย่างต่อเนื่อง จากรูปภาพจะเห็นว่าประเทศที่แกนหลักของระบบการเงินอิสลามนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศแถบตะวันออกกลาง แอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากแผนที่โลกข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีประเทศมากกว่าครึ่งโลกที่เข้ามามีส่วนร่วมกับระบบการเงินอิสลาม มิใช่จำกัดอยู่เฉพาะเพียงแต่ในเฉพาะประเทศมุสลิมเท่านั้น สินทรัพย์รวมของระบบการเงินอิสลามทั้งโลก(Global Islamic Assets)เติบโตจากช่วงปี 1990 ที่มีมูลค่าเพียง 150 พันล้านเหรียญดอลล่าสหรัฐ สู่ระดับมูลค่าสินทรัพย์รวม ฯ 1.8 ล้านล้านเหรียญดอลล่าสหรัฐในปี 2013 เป็นการเติบโตเฉลี่ย 16% ในทุกๆปี และมีการคาดการณ์ว่าในปี 2020 ระดับมูลค่าสินทรัพย์รวม ฯ จะมีมูลค่าสูงถึง 6.5 ล้านล้านเหรียญดอลล่าสหรัฐ จากมูลค่าสินทรัพย์รวมของระบบการเงินอิสลาม(Islamic Financial System) 1.8 ล้านล้านเหรียญดอลล่าสหรัฐ ในปี 2013 อันดับหนึ่งมาจากมูลค่าสินทรัพย์ของระบบธนาคารอิสลาม(Islamic Banking) 80 % หรือประมาณ 1.44 ล้านล้านเหรียญดอลล่าสหรัฐ อันดับที่สอง มูลค่าจากพันธบัตรอิสลามหรือตราสารศุกูก(Sukuk) 15% หรือประมาณ 0.27 ล้านล้านเหรียญดอลล่าสหรัฐ อันดับที่สาม มูลค่าจากกองทุนอิสลาม(Islamic Funds) 4 % หรือประมาณ 0.072 ล้านล้านเหรียญดอลล่าสหรัฐ

Read more
« Older Entries