Category Archives: ศุกูก(Sukuk)

กองทุนตราสารหนี้อิสลาม M-SUKUK เด่น 2 ปี ทำกำไรได้ 7 % กว่า

หากท่านยังไม่ทราบว่าตราสารศุกูก หรือตราสารหนี้อิสลามคืออะไร แตกต่างจากตราสารหนี้ทั่วไปซึ่งฮาราม โปรดอ่าน บทความนี้ก่อน ตาม link ด้านล่าง ตราสารศุกูกคืออะไร? กองทุนตราสารหนี้อิสลาม M-SUKUK เด่น 2 ปี ทำกำไรได้ 7.334 % ณวันที่ 20 ม.ค. 2021 ปัจจุบันมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 109,108,409.32   บาท ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งกองทุนที่ผู้จัดการกองทุนสามารถบริหารได้ค่อนข้างดี ซึ่งมีรายละเอียดของกองทุน M-Sukuk ดังนี้ 📊สรุปราคาปิดกองทุนรวมตามหลักศาสนาอิสลามในประเทศไทย(Islamic Fund) ทั้งกองทุนอิสลามที่สามารถลดหย่อนภาษีและกองทุนอิสลามทั่วไป ณ วันที่ 22-01-21 กองทุนรวมลงทุนเพื่อการออมและ/หรือลดหย่อนภาษีเงินได้ 💰กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อิสลามิกหุ้นระยะยาว ชนิดเพื่อการออม (MIFSSF)ราคาปิดวันนี้  12.6977 บาทมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 4,112,155.55   บาท  💰กองทุนเปิดกรุงไทยชาริอะฮ์เพื่อการเลี้ยงชีพ(KSRMF)ราคาปิดวันนี้ 20.2882 บาทมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 188,690,311.74  บาท กองทุนรวมลงทุนเพื่อการออม (ไม่ได้สิทธิเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีเงินได้) 💰กองทุนเปิดเอ็มเอฟซีอิสลามิก ฟันด์ (MIF)ราคาปิดวันนี้  9.1696 บาทมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 460,888,416.21  บาท 💰กองทุนเปิดเอ็มเอฟซีโกลบอล ศุกูก (M-SUKUK)ราคาปิดวันที่ 20/01/21  10.7344 บาทมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 109,108,409.32

Read more

ตราสาร“ศุกูก” -Sukuk คืออะไร?

ตราสาร “ศุกูก” (Sukuk) มาจากภาษาอาหรับ صكوك แปลว่า ใบรับรองทางการเงิน(Financial Instruments) ตราสาร “ศุกูก” (Sukuk) หรือตราสารหนี้อิสลาม ซึ่งเป็นตราสารการเงินที่ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ไม่อยู่ในรูปของดอกเบี้ยไม่เกี่ยวพันกับธุรกิจต้องห้ามต่างๆ และผลตอบแทนจากการลงทุนก็มาจากการมีส่วนร่วมในธุรกรรมและรับความเสี่ยงร่วม กัน เช่น การให้เช่าทรัพย์สิน ว่าจ้างทำของ ว่าจ้างให้บริหารจัดการเงินลงทุน ฯลฯ  ซึ่งเป็นไปตามหลักชะรีอะฮ์ (Shariah) ของศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้ลงทุนในประเทศอิสลามที่มีข้อจำกัดในการลงทุนไม่สามารถลงทุนในตราสารหนี้ปกติทั่วไปซึ่งเป็นสัญญากู้ยืมและมีผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย หรือลงทุนในสิ่งที่ขัดกับหลักศาสนาก็จะมีช่องทางในการลงทุนที่ตรงกับความต้องการได้ศุกูกไม่เพียงแต่จะตอบโจทย์ความต้องการลงทุนของชาวมุสลิมเท่านั้น ยังเป็นทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุนทั่วไปด้วย หลักศาสนาอิสลามกำหนดห้ามลงมุนกับธุรกิจต้องห้ามหรือฮารอม(Haram) ดอกเบี้ยหรือริบา(Riba)  ความไม่แน่นอน(Gharar) และการพนัน(Maisir) ซึ่งเป็นข้อห้ามหลักของการเงินอิสลาม  ตัวอย่างเช่น การผลิตสินค้า ที่เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สิ่งเสพติด สื่อและสิ่งพิมพ์ที่ใช้ภาพเปลือย การพนัน สุกร การค้า ที่เกี่ยวกับการค้าปลีกหรือค้าส่ง การค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สิ่งเสพติด สื่อและสิ่งพิมพ์ที่ใช้ภาพเปลือย การพนัน สุกร การบริการ เกี่ยวกับบ่อนการพนัน สถาบันการเงินที่มีการเรียกเก็บดอกเบี้ย บริษัทประกัน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการลงทุนในดอกเบี้ย ผับ บาร์ สนามม้า และด้วยข้อกำหนดข้างต้นนี้เองจึงทำให้มุสลิมไม่สามารถลงทุนในตราสารหนี้ทั่วไปเช่น พันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้ของบริษัทต่างๆ ได้ เนื่องจากมีการจ่ายรายได้เป็นดอกเบี้ยนั้นเอง อย่างไรก็ตามในระบบเศรษฐกิจก็ย่อมมีทั้งผู้มีเงินออมส่วนเกิน

Read more

Hongkong เอาด้วย! เดินหน้าพัฒนาตลาดพันธบัตรอิสลาม หรือตราสารศุกูก

แม้จะผ่านมาเกือบ 5 ปีแล้ว นับตั้งแต่นาย John Tsang Chun-wah รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังฮ่องกงได้ประกาศในปี 2550 ว่าจะเร่งพัฒนาฮ่องกงสู่การเป็นศูนย์กลางการเงินอิสลาม แต่การพัฒนาการเงินอิสลามในฮ่องกงยังไม่คืบหน้ามากนัก อย่างไรก็ดี ขณะนี้รัฐบาลฮ่องกงได้เสนอมติแก้ไขกฎหมายภาษีเพื่อหวังที่จะส่งเสริมให้วิสาหกิจในฮ่องกงเปิดจำหน่ายพันธบัตรอิสลามมากยิ่งขึ้น พันธบัตรอิสลาม (sukuk bonds) หรือ ตราสารศุกูก มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากพันธบัตรอื่นทั่วไป เนื่องจากตามกฎชาริอะห์ (sharia law) ของศาสนาอิสลาม ผู้ลงทุนที่นับถือศาสนาอิสลามจะไม่สามารถทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยได้ ดังนั้น การจำหน่ายพันธบัตรจึงต้องเริ่มจากการที่ผู้ระดมทุนต้องขายสินทรัพย์ให้กับ Special Purpose Vehicle (SPV) ที่จัดตั้งขึ้นเสมือนเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ระดมทุนจากนักลงทุน จากนั้น SPV จะเป็นผู้ออกพันธบัตรและเสนอขายให้กับนักลงทุนต่อไป โดยนักลงทุนจะมีสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น ในขณะที่ผู้ระดมทุนจะดำเนินการเช่าทรัพย์สินจาก SPV (ผลตอบแทนที่ได้รับจะอยู่ในรูป “ค่าเช่า” ซึ่งสอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลาม) และ SPV จะได้จัดสรรผลตอบแทนดังกล่าวให้กับนักลงทุนต่อไป สำหรับกรณีของพันธบัตรทั่วไปจะได้รับผลตอบแทนในรูป “ดอกเบี้ย” โดยจะได้รับการยกเว้นภาษีในฮ่องกง ซึ่งแตกต่างกับพันธบัตรอิสลามซึ่งจะได้รับผลตอนแทนในรูป “ค่าเช่า” ทำให้ผู้ถือพันธบัตรต้องชำระภาษีอากร ภาษีรายได้ หรือภาษีกำไร ดังนั้น รัฐบาลฮ่องกงจึงได้เสนอแก้ไขกฎหมายภาษีและอากรเพื่อให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ถือพันธบัตรอิสลาม 4 ประเภท ได้แก่ ijarah (พันธบัตรที่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน), musharakah (พันธบัตรที่มีการถือครองหลายฝ่าย), mudarabah (พันธบัตรที่มีการถือครองฝ่ายเดียว),

Read more