หน่วยงานที่สำคัญของระบบการเงินอิสลาม
หน่วยงานที่สำคัญของระบบการเงินอิสลาม
ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาระบบการเงินอิสลามมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับมีการพัฒนาหน่วยงานต่างๆ ขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตอของระบบการเงินอิสลาม เพื่อให้มีความเป็นสากลและมีมาตรฐานที่ดีเยี่ยมในระดับนานาชาติ หน่วยงานที่สำคัญต่างๆของระบบการเงินอิสลามมีดังต่อไปนี้
ปี 1975 มีการก่อตั้ง ธนาคารการพัฒนาอิสลาม (Islamic Development Bank หรือ IDB) เป็นธนาคารแรกเริ่มที่มีความสำคัญกับระบบการเงินอิสลาม มีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมุสลิม โดยเป็นธนาคารแรกที่ดำเนินภายใต้หลักชะรีอะฮ์
ปี 1988 จัดตั้ง สถาบันนิติศาสตร์แห่งโอไอซี(OIC Fiqh Academy) เพื่อศึกษาปัญหาอันเนื่องมาจากธุรกรรมสมัยใหม่โดยพิจารณาภายใต้หลักชะรีอะฮ์ และตัดสินและหาทางออกภายใต้หลักชะรีอะฮ์
ปี 1991จัดตั้ง องค์กรการบัญชีและการตรวจสอบสำหรับสถาบันการเงินอิสลาม (AAOIFI หรือAccounting and Auditing Organization for Islamic Financial Institutions)เพื่อสร้างมาตราฐานการบัญชี การตรวจสอบ บรรษัทภิบาล จริยธรรม และมาตรฐานด้านชะรีอะฮ์ สำหรับอุตสาหกรรมและสถาบันการเงินอิสลาม
ปี 2001 จัดตั้ง สภาธนาคารและสถาบันการเงินอิสลาม(General Council for Islamic Banks and Financial Institutions หรือ CIBAFI) ทำหน้าที่สนับสนุนและส่งเสริม อุตสาหกรรมการเงินอิสลาม ผ่านทางข้อมูล มิเดีย การวิจัยและการพัฒนา การให้คำปรึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สำหรับระบบการเงินอิสลาม
ปี 2002 ก่อตั้ง International Islamic Financial Market หรือ ตลาดการเงินอิสลามระหว่างประเทศ เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์การเงินอิสลาม รวมถึงเอกสารและกระบวนการที่เกี่ยวข้อง
ปี 2002 จัดตั้ง คณะกรรมการการบริการทางการเงินอิสลาม (Islamic Financial Service Board หรือ IFSB)มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนเสถียรภาพของอุตสาหกรรมการเงินอิสลาม โดยการออกมาตรฐานที่ครอบคลุม และออกคำแนะนำหลักการที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมการเงินอิสลาม
ปี 2005 จัดตั้ง หน่วยงานจัดอันดับสถาบันการเงินอิสลามนานาชาติหรือ International Islamic Rating Agencyมีหน้าที่จัดอันดับสถาบันการเงินอิสลามด้านความแข็งแกร่งและศักยภาพ ให้เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและระหว่างประเทศใน ด้วยมาตรฐานที่ดีเยี่ยมในการเปิดเผยข้อมูลและความโปรงใส
ปี 2005 จัดตั้ง ศูนย์ยุติข้อพิพาทและชี้ขาดอิสลามนานาชาติ หรือ International Islamic Center for Reconciliation & Arbitrationมีหน้าที่ยุติข้อโต้แย้งด้านการเงินและการค้าที่เกิดขึ้นในระบบการเงินอิสลาม ด้วยการไกล่เกลี่ยและชี้ชาด
ปี 2008 จัดตั้ง สถาบันวิจัยชะรีอะฮ์นานาชาติสำหรับการเงินอิสลาม(International Shariah Research Academy for Islamic Finance หรือ ISRA) เพื่อส่งเสริมงานด้านวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหลักชะรีอะฮ์ และการเงินอิสลาม
ปี 2010 จัดตั้ง องค์การบริหารสภาพคล่องอิสลามนานาชาติ (International Islamic Liquidity Management Corporation)โดยมีหน้าที่เสริมสร้างและออกเครื่องมือการบริหารสภาพคล่องภายใต้หลักชะรีอะห์ เพื่อการบริหารสภาพคล่องอย่างมีประสิทธิภาพ
วัลลอฮุอะลัม เรียบเรียงโดย Muhammad Azmii Mahamad (Isares Mahamad)
หมายเหตุ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความด้วยการอ้างอิงถึง
http://www.การเงินอิสลาม.com หรือ http://www.islamicfinancethai.com