Singapore กับการพัฒนาการเงินอิสลาม
การเงินอิสลามมีการพัฒนาที่โดดเด่นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่อยู่ภายใต้หลักชะรีอะห์จากมุสลิมทั่วโลก ปัจจุบันมีสถาบันการเงินอิสลามแล้วกว่า 300 สถาบัน ใน 75 ประเทศทั่วโลก
เป็นที่น่าสนใจว่าการเงินอิสลามได้รับความสนใจจากประเทศที่ไม่ใช้ประเทศมุสลิม ฮ่องกงคือตัวอย่างหนึ่งที่ต้องการจะเป็นผู้นำทางการเงินอิสลามให้กับยักษ์ใหญ่อย่างจีน ขณะที่ลอนดอนต้องการจะเป็นศูนย์กลางการเงินอิสลามของยุโรปเช่นกัน นอกจากนี้สิงค์โปรก็มีแนวคิดที่จะพัฒนาการเงินอิสลามก้าวเป็นชั้นนำในเอเซียเช่นกัน
สิงค์โปร์(Singapore) เป็นประเทศเล็กๆที่มีพื้นที่ไม่มาก มีประชากรเพียง 5.08 ล้านคน ประกอบด้วยประชากรเชื้อชาติจีน มาเลย์ และอินเดีย ตามลำดับ ถึงแม้จะมีประชากรและทรัพยากรไม่มากแต่ประเทศสิงค์โปร์เป็นประเทศที่ประชาชนมีรายได้ที่สูงและมีการเจริญเติบโตของ GDP ที่สูงเช่นกัน ประเทศสิงคโปร์ เป็นประเทศที่เป็นศูนย์กลางด้านการเงิน และบริการทางการเงิน ดังนั้นการพัฒนาในเรื่องการเงินอิสลาม (Islamic Finance) ของสิงค์โปรจึงเป้าหมายที่น่าสนใจ
การเงินอิสลามในสิงค์โปร(Islamic Finance in Singapore)
รัฐบาลสิงค์โปรได้ออก พรบ. ธนาคารอิสลามในปี 2005 และกระทรวงการคลังของสิงค์โปรได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการเงินอิสลามในสิงค์โปร โดยการแก้ไขปัญหาเรื่องภาษีที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบการเงินอิสลาม(Islamic Financial System) ในประเทศ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับระบบการเงินสากลได้ (Conventional Financial System) จากการช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐบาลทำให้สถาบันการเงินต่างๆของสิงค์โปรได้ ตั้ง Islamic windows หรือ Islamic Banking unit ขึ้นมาให้บริการได้อย่างแพร่หลาย
โดยธนาคารที่ริเริ่มในการทำธุรกรรมในระบบการเงินอิสลามก็คือ HSBC Singapore ที่ออกกองทุน Takaful Global Fund ในปร 1995 และธนาคาร Maybank จากมาเลเซียได้เข้ามาตั้งกองทุนชะรีอะห์ Trust Ethical Growth Fund ในปี 2001 และ Maybank ได้ให้บริการออน์ไลน์ด้านเงินออมทรัพย์และกระแสรายวันแบบอิสลาม ในปี 2005 ในปี 2007ธนาคาร DBS ได้เปิดธนาคารอิสลามแห่งแรกในสิงค์โปรชื่อ Islamic Bank of Asia นอกจากนี้สิงคโปรได้ออกพันธบัตรอิสลามหรือศุกูกมูลค่า $134 ล้าน เป็นครั้งแรกออกสู่ตลาดการเงินในปี 2009 และล่าสุดได้จัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์อิสลามหรือ Islamic REIT ในชื่อว่า Sabana REIT
อนาคตการเงินอิสลามของสิงค์โปร (The Future of Islamic Finance in Singapore)
ถึงแม้ว่าสิงคโปรไม่ใช่ประเทศที่มีมุสลิมมากนักแต่ด้วยความได้เปรียบในเรื่องของพื้นฐานการเงินการธนาคารของประเทศและการเมืองมั่นคงที่ไม่ค่อยมีปัญหาในประเทศ สิงค์โปรมองโอกาสคือตลาดตะวันออกกลางที่มีกำลังซื้อสูง และการเปิดประชาคมอาเซียน AEC ที่จะทำให้ธุรกรรมของการเงินอิสลามมีมากมายมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิงค์โปรจะอาศัยความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศโดยเฉพาะกับมาเลเซียและอินโดนีเซีย ในความร่วมมือในการพัฒนาตลาดการเงินอิสลามทั้งในด้านบุคลากรและกฏหมายที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งในแง่ของความเชื่อมั่นในระบบการเงินที่เป็นผู้นำในภูมิภาคนี้จะทำให้สิงคโปรมีภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือในสายตาของนานาชาติ ในการให้บริการทางการเงินในสองระบบหรือ dual system ในอนาคตอันใกล้
วัลลอฮุอะลัม เรียบเรียงโดย Muhammad Azmii Mahamad
หมายเหตุ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความด้วยการอ้างอิงถึง
http://www.การเงินอิสลาม.com หรือ http://www.islamicfinancethai.com