Hongkong เอาด้วย! เดินหน้าพัฒนาตลาดพันธบัตรอิสลาม หรือตราสารศุกูก

Hongkongแม้จะผ่านมาเกือบ 5 ปีแล้ว นับตั้งแต่นาย John Tsang Chun-wah รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังฮ่องกงได้ประกาศในปี 2550 ว่าจะเร่งพัฒนาฮ่องกงสู่การเป็นศูนย์กลางการเงินอิสลาม แต่การพัฒนาการเงินอิสลามในฮ่องกงยังไม่คืบหน้ามากนัก อย่างไรก็ดี ขณะนี้รัฐบาลฮ่องกงได้เสนอมติแก้ไขกฎหมายภาษีเพื่อหวังที่จะส่งเสริมให้วิสาหกิจในฮ่องกงเปิดจำหน่ายพันธบัตรอิสลามมากยิ่งขึ้น

พันธบัตรอิสลาม (sukuk bonds) หรือ ตราสารศุกูก มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากพันธบัตรอื่นทั่วไป เนื่องจากตามกฎชาริอะห์ (sharia law) ของศาสนาอิสลาม ผู้ลงทุนที่นับถือศาสนาอิสลามจะไม่สามารถทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยได้ ดังนั้น การจำหน่ายพันธบัตรจึงต้องเริ่มจากการที่ผู้ระดมทุนต้องขายสินทรัพย์ให้กับ Special Purpose Vehicle (SPV) ที่จัดตั้งขึ้นเสมือนเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ระดมทุนจากนักลงทุน จากนั้น SPV จะเป็นผู้ออกพันธบัตรและเสนอขายให้กับนักลงทุนต่อไป โดยนักลงทุนจะมีสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น ในขณะที่ผู้ระดมทุนจะดำเนินการเช่าทรัพย์สินจาก SPV (ผลตอบแทนที่ได้รับจะอยู่ในรูป “ค่าเช่า” ซึ่งสอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลาม) และ SPV จะได้จัดสรรผลตอบแทนดังกล่าวให้กับนักลงทุนต่อไป

สำหรับกรณีของพันธบัตรทั่วไปจะได้รับผลตอบแทนในรูป “ดอกเบี้ย” โดยจะได้รับการยกเว้นภาษีในฮ่องกง ซึ่งแตกต่างกับพันธบัตรอิสลามซึ่งจะได้รับผลตอนแทนในรูป “ค่าเช่า” ทำให้ผู้ถือพันธบัตรต้องชำระภาษีอากร ภาษีรายได้ หรือภาษีกำไร ดังนั้น รัฐบาลฮ่องกงจึงได้เสนอแก้ไขกฎหมายภาษีและอากรเพื่อให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ถือพันธบัตรอิสลาม 4 ประเภท ได้แก่ ijarah (พันธบัตรที่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน), musharakah (พันธบัตรที่มีการถือครองหลายฝ่าย), mudarabah (พันธบัตรที่มีการถือครองฝ่ายเดียว), และ murabahah (พันธบัตรที่ผู้ถือครองมีหนี้สินจากการขายสินค้า) ทั้งนี้ รัฐบาลฮ่องกงจะยื่นร่างกฎหมายฉบับใหม่เพื่อให้สมาชิกสภานิติบัญญัติพิจารณาในเดือนตุลาคมปีนี้

นาย Chan Ka-keung ตำแหน่ง Secretary of Financial Services ให้ความเห็นว่า  การปรับแก้กฎหมายภาษีดังกล่าวจะทำให้พันธบัตรอิสลามสามารถดึงดูดนักลงทุนได้มากขึ้น และจะช่วยพัฒนาตลาดพันธบัตรอิสลามในฮ่องกง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความหลากหลายในตลาดการเงินของฮ่องกงมากขึ้น รวมทั้งเป็นการส่งเสริมบทบาทด้านการเป็นศูนย์กลางการเงินในภูมิภาคเอเชียของฮ่องกงด้วย

อย่างไรก็ดี นาย Joseph Tong-tang กรรมการบริหาร บริษัท Sun Hung Kai Financial ให้ความเห็นว่า การที่พันธบัตรอิสลามยังไม่สามารถดึงดูดนักลงทุนได้มากนัก เนื่องจากนักลงทุนชาวฮ่องกงยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างและลักษณะเฉพาะของพันธบัตรอิสลาม โดยนักลงทุนส่วนใหญ่ได้ให้ความสนใจกับการลงทุนในพันธบัตรติ่มซำ (พันธบัตรเงินหยวน) มากกว่า โดยเฉพาะในช่วงที่รัฐบาลจีนกำลังผลักดันเงินหยวนสู่การเป็นสกุลเงินระหว่างประเทศ

นาย Chim Pui-chung สมาชิกสภานิติบัญญัติฮ่องกง ให้ความเห็นว่า ฮ่องกงควรพัฒนาให้ทันตลาดการเงินในสหราชอาณาจักรและมาเลเซีย ซึ่งมีการลงทุนในพันธบัตรอิสลามและให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง โดยนาย Ben Kwong Man-bun หัวหน้าระดับปฏิบัติการ ธนาคาร KGI Asia ได้ให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า นักลงทุนน่าจะให้ความสนใจลงทุนในพันธบัตรอิสลามมากขึ้น หากได้รับผลตอบแทนในอัตราที่สูงขึ้น

ที่มา: http://www.thaibizchina.com

วัลลอฮุอะลัม เรียบเรียงโดย Muhammad Azmii Mahamad

หมายเหตุ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความด้วยการอ้างอิงถึง

http://www.การเงินอิสลาม.com หรือ http://www.islamicfinancethai.com

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s