ความเป็นมาของธนาคารอิสลาม

 islamic banking

ระบบการเงินอิสลามได้เริ่มขึ้นจากในประเทศอิยิปต์ เมื่อปี ค.ศ. 1963 ในประเทศอิยิปต์ โดยดร. Dr. Ahmad Elnaggar นักเศรษฐศาสตร์ชาวอียิปต์ได้ผลักดันการจัดตั้ง Mit Ghamr Savings Bank หลังจากนั้นจึงทาให้เกิดธนาคาร Nazir Social Banks ซึ่งเป็นธนาคารปลอดดอกเบี้ยที่รัฐบาลอียิปต์เป็นผู้จัดตั้งในปี ค.ศ. 1971 ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1974 Islamic Development Bank ก็ได้ถูกจัดตั้งขึ้นโดยองค์การความร่วมมืออิสลาม หรือ OIC (Organization of Islamic Cooperation) ที่เมืองญิดดะฮ์ ประเทศซาอุดิอารเบีย โดยได้นำระบบชะรีอะฮ์ หรือกฎหมายของศาสนาอิสลามมาใช้ในการดำเนินงานของธนาคารอย่างเต็มรูปแบบ

หลังจากที่มีการจัดตั้ง Islamic Development Bank ประเทศมุสลิมอื่น ๆ ก็ได้หันมาใช้ระบบธนาคารอิสลามมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอิหร่าน ซูดาน ปากีสถาน รวมถึงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยประเทศมาเลเซียเป็นประเทศแรกที่ก่อตั้งธนาคารอิสลามขึ้นในปี ค.ศ. 1983 ที่มีความก้าวหน้าและยังเป็นประเทศแม่แบบในการดาเนินงานการเงินอิสลามให้กับประเทศอินโดนีเซีย บรูไน รวมถึงธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยอีกด้วย

ระบบการเงินอิสลามยังได้แพร่กระจายสู่ทวีปยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ทั้งหลายได้ขยายช่องทางการให้บริการในรูปแบบธนาคารอิสลามมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอังกฤษที่ปัจจุบันมีสถาบันการเงินอิสลาม 25 แห่ง ถือเป็นประเทศที่มีตลาดการเงินอิสลามที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศในแถบทวีปเอเชียอย่าง สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น และศรีลังกา ก็ให้ความสนใจระบบธนาคารอิสลามอย่างต่อเนื่องไม่แพ้กัน

ในปัจจุบันมีสถาบันการเงินอิสลามมากกว่า 350 แห่งใน 60 ประเทศทั่วโลก และยังคงมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเฉลี่ยร้อยละ 15-20% ต่อปี มูลค่าสินทรัพย์ระบบการเงินอิสลามประมาณ 2 ล้านล้านดอลล่าห์

 

วัลลอฮุอะลัม เรียบเรียงโดย Muhammad Azmii Mahamad

หมายเหตุ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความด้วยการอ้างอิงถึง

http://www.การเงินอิสลาม.com หรือ http://www.islamicfinancethai.com

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s