พื้นฐานเรื่องซะกาต (การบริจาคภาคบังคับ)

Zakat

 

“และพระองค์ได้ให้พวกเจ้าเป็นตัวแทนในหน้าแผ่นดินและได้ยกย่องบางคนของพวกเจ้าเหนือกว่าอีกบางคนหลายขั้นเพื่อพระองค์จะทดสอบพวกเจ้าในสิ่งที่พระองค์ประทานแก่พวกเจ้า”(อันอาม/165)

        อันเป็นที่ชัดเจนว่าผู้ที่มีทรัพย์สินมากกว่าจากการได้รับริสกีจากอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา มีหน้าที่และความรับผิดชอบจากพระผู้เป็นเจ้ามากกว่าผู้ที่ได้รับทรัพย์สินน้อยกว่าคือ มุสลิมทุกคนได้รับอามานะห์(amanah)หรือความไว้วางใจจากอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาในการบริหารจัดการทรัพย์ของเขาให้เกิดประโยชน์สูงสุดและจะได้รับการสอบสวนจากการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของเขาในวันกิยามัตอย่างแน่นอนดังนั้นหน้าที่ของบรรดามุสลิมคือ การบริหารจัดการทรัพย์สินต่างๆ นอกจากการใช้จ่ายส่วนตัวแล้ว ยังมีหน้าที่ทำการสร้างความจำเจริญรุ่งเรืองในสังคมและการสร้างสรรค์และพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจให้ดียิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นการพัฒนาสังคม การขจัดความยากจน การสร้างงาน การลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนเป็นหน้าที่พื้นฐานของมุสลิมผู้มีตำแหน่งเป็นคอลีฟะฮ์หรือตัวแทนของพระเจ้าในสังคมที่อาศัยอยู่ตามศักยภาพของตนเอง

ซะกาต (การบริจาคภาคบังคับ)

 เป็นที่ทราบกันดีว่าซะกาตคือหนึ่งในเสาหลักที่สำคัญของศาสนาอิสลาม หลักปฏิบัติของอิสลาม ( รุก่นอิหม่าม) มี 5 ประการ คือ การกล่าวปฏิญาณ การละหมาด การจ่ายซะกาต การถือศิลอด และการทำฮัจย์ จะเห็นได้ว่าซะกาตถือเป็นหลักปฏิบัติในศาสนาอิสลามที่สำคัญรองลงมาจากการกล่าวคำปฏิญาณ และการละหมาดซะกาตเป็นรุก่น(หลักบัญญัติ)ที่สามของหลักปฏิบัติ(ห้าประการ)ในอิสลาม

คำว่า ซะกาต แปลว่า การทำให้สะอาดบริสุทธิ์ (purification) ละการเจริญเติบโต

วัตถุประสงค์ในการจ่ายซะกาตก็เพื่อเป็นการยืนยันถึงความศรัทธาและเพื่อซักฟอกทรัพย์สินและจิตใจของผู้จ่ายให้มีความสะอาดบริสุทธิ์ หมดจากความโลภ ตระหนี่ถี่เหนียว ซึ่งถือเป็นสิ่งสกปรกทางใจอย่างหนึ่งรวมทั้งยังเป็นการกระจายทรัพย์สินให้กลุ่มคนที่ยากไร้ 

เรื่องซะกาตนั้นเป็นเรื่องเดียวในรุก่น 5 ประการ (หลักบัญญัติ) ของอิสลาม ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือการเงิน ดังนั้นการจ่ายซะกาต จะทำให้ทรัพย์สินของมุสลิมนั้นมีความบริสุทธิ์ เพราะซะกาตเป็นสิทธิ์ของบุคคลที่ถูกกำหนดให้มีสิทธิรับซะกาตได้เท่านั้น หากไม่มีการจ่ายซะกาตตามที่กำหนดถือว่าผู้ที่มีหน้าที่จ่ายซะกาตนั้นได้ยักยอกทรัพย์สินของอัลลอฮฺและของผู้ที่มีสิทธิ์รับซะกาตทั้งหมด ซึ่งคัมภีร์อัลกุรอานได้กำหนดไว้ซะกาตนั้นถือเป็นภาระหน้าที่สำหรับผู้มีทรัพย์สินครบตามเงื่อนไขซึ่งจำเป็นต้องจ่ายให้กับผู้ที่มีสิทธิและมีคุณสมบัติจะได้รับมัน อัลลอฮฺ ซ.บ. ได้ตรัสในอัลกุรอานว่า

 ความว่า “และบรรดาผู้ที่ในทรัพย์สินของพวกเขามีส่วนที่ถูกกำหนดไว้ สำหรับผู้ที่เอ่ยขอและผู้ที่ไม่เอ่ยขอ” (อัล-มะอาริจญ์ 24-25)

หากไม่มีการจ่ายซะกาตรวมอยู่ในหลักการทั้งห้าประการนี้ อิสลามก็ไม่ใช่ศาสนาที่สมบูรณ์อีกต่อไป การที่ผู้ครอบครองทรัพย์สินครบตามเงื่อนไขแต่ปฏิเสธหรือละเลยที่จะจ่ายซะกาตก็ย่อมหมายความว่าเขาได้ปฏิเสธหน้าที่ความรับผิดชอบของตนที่ถูกกำหนดไว้ชัดเจนในบทบัญญัติอิสลาม ซึ่งจะนำไปสู่มูลเหตุที่ทำให้เขาต้องได้รับโทษจากอัลลอฮ ซ.บ. ทรงวางโทษของคนมีทรัพย์ที่ไม่ยอมบริจาคในแนวทางของพระองค์ไว้ว่า

 

“และพวกที่สะสมทองคำและเงิน โดยไม่บริจาคซะกาต และไม่นำออกมาใช้จ่ายในวิถีทางศาสนาอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลามุฮัมหมัดจงแจ้งข่าวการทรมานอันสาหัสที่เป็นข่าวดีสำหรับพวกนั้น ณ วันที่ไฟนรก “ญะฮันนัม” จะทำให้เกิดความร้อนแรง แล้วมันจะถูกนำมารีดบนหน้าผาก สีข้าง และหลังของพวกนั้น  นี้แหละผลร้ายของพวกเจ้าทั้งหลายที่พยายามสะสมไว้สำหรับการส่วนตัวของพวกเจ้า โดยไม่ยอมบริจาคซะกาต ดังนั้น พวกเจ้าจงลิ้มรสทรัพย์ที่พวกเจ้าได้สะสมมันไว้ โดยไม่ยอมบริจาคเถิด” (ซูเราะฮฺ อัต-เตาบะฮฺ (9) : 35)

 

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s