การร่วมลงทุนแบบมุฎอเราะบะห (Mudarabah)

การร่วมลงทุนมุฎอเราะบะฮ์

การทำสัญญาตามหลักมุฎอเราะบะฮ์ (مضاربۃ) หมายถึง การทำสัญญาการร่วมทำธุรกิจหรือร่วมลงทุนระหว่าง  2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือเจ้าของทรัพย์สินหรือเงินทุน (Raab ul-mal: ร็อบบุลมาล) ให้ทุนแก่อีกฝ่ายหนึ่งคือผู้ประกอบการหรือผู้เชี่ยวชาญในการทำธุรกิจนั้น (Mudarib: มุฎอริบ) ที่มีความรู้ความสามารถเพื่อนำเงินทุนไปบริหารจัดการและดำเนินธุรกิจที่ไม่ขัดหลักศาสนาอิสลามหรือหลักชะรีอะห์ โดยมีข้อตกลงในการแบ่งปันผลกำไรตามสัดส่วนที่ตกลงร่วมกัน(Mutual Consent) เช่น 50:50  60:40 70:30 หรือ 80 : 20 เป็นต้น ในกรณีที่ขาดทุน เจ้าของทรัพย์หรือเงินทุนต้องยอมรับการขาดทุนในส่วนของเงินทุนฝ่ายเดียว ขณะที่ผู้ประกอบการหรือผู้เชี่ยวชาญรับผิดชอบหรือขาดทุน ในส่วนที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนจากการบริหารจัดการและเสียต้นทุนของเวลาและแรงที่ลงทุนไปในการบริหารจัดการ ดังนั้นเจ้าของทรัพย์สินหรือเงินทุน (Raab ul-mal: ร็อบบุลมาล) โดยทั่วไปมักจะต้องการสัดส่วนจากกำไรมากกว่าเพื่อมาชดเชยความเสี่ยงในกรณีที่ขาดทุน

มุฏอเราะห์บะห์

มุฏอเราะห์บะห์

1.เจ้าของทรัพย์สินหรือเงินทุน (Raab ul-mal: ร็อบบุลมาล) ให้ลงทุนโดยการให้เงินทุน

2.ผู้ประกอบการหรือผู้เชี่ยวชาญในการทำธุรกิจนั้น (Mudarib: มุฎอริบ) ลงทุนด้วยการบริหารจัดการด้วยความเชี่ยวชาญ

3.การแบ่งปันผลกำไร(Profit Sharing) ตามสัดส่วนที่ตกลงร่วมกัน (Mutual Consent) เช่น 50:50  60:40 70:30 หรือ 80 : 20 เป็นต้น ในกรณีที่ขาดทุน เจ้าของทรัพย์หรือเงินทุนต้องยอมรับการขาดทุนในส่วนของเงินทุนฝ่ายเดียว ขณะที่ผู้ประกอบการหรือผู้เชี่ยวชาญรับผิดชอบหรือขาดทุน ในส่วนที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนจากการบริหารจัดการและเสียต้นทุนของเวลาและแรงที่ลงทุนไป

ลักษณะของการทำสัญญาแบบมุฎอเราะบะห์ (Mudarabah)

1. เจ้าของทรัพย์สินหรือเงินทุน (Raab ul-mal) สามารถกำหนดเงื่อนไขให้กับผู้ประกอบการตามตกลง แต่เจ้าของทรัพย์สินหรือเงินทุน (Raab ul-mal) ไม่มีสิทธิที่จะก้าวก่ายการบริหารจัดการของผู้ประกอบการ

2. การทำสัญญาแบบมุฎอเราะบะห์ (Mudarabah) เป็นหลักการที่เกี่ยวกับความไว้วางใจ (Amanah) ผู้ประกอบการจะต้องทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริต และไม่กระธุรกิจทำโดยประมาทเลินเล่อให้เกิดความเสียหาย

ประโยชน์ของการทำสัญญาแบบมุฎอเราะบะห์ (Mudarabah)

1.เป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการที่มีความสามารถหรือเชี่ยวชาญแต่ไม่มีเงินทุนเพียงพอ

2.เป็นทางเลือกสำหรับผู้มีเงินทุน แต่ไม่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจเพียงพอ ได้ทำการลุงทุนเพื่อต้องการเพิ่มพูนความมั่งคั่ง(wealth)

credit

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s