คำนิยามศัพท์การเงินตามหลักชะรีอะฮ์ที่พบบ่อยๆ (Islamic Financial term)

นิยาม

Bai’ Bithaman Ajil – บัยอ์ บิซะมัน อาญิล (การขายแบบผ่อนชำระ) คือ การขายทรัพย์สินลักษณะผ่อนชำระรายงวดภายในระยะเวลาที่ตกลง โดยมีราคาขายเท่ากับราคาทุนบวกด้วยกำไร ตามที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกัน

Bai’ al-Inah – บัยอ์ อัลอีนะฮ์ (การขายและซื้อคืนทันที) คือ การขายและซื้อคืนทรัพย์สิน ซึ่งมีผู้ขายและ   ผู้ซื้อคืนทรัพย์สินเป็นบุคคลคนเดียวกัน นั่นคือ ผู้ขายจะขายทรัพย์สินให้กับผู้ซื้อก่อนโดยรับชำระเป็นเงินสด และผู้ขายจะซื้อทรัพย์สินเดียวกันนั้นคืนทันทีโดยการผ่อนชำระ ซึ่งราคาขายโดยการผ่อนชำระ จะสูงกว่าราคาขายที่เป็นเงินสด และสามารถเป็นได้ในลักษณะกลับกัน คือ ขายทรัพย์สินก่อนโดยรับชำระแบบผ่อน และขายทรัพย์สินคืนชำระด้วยเงินสดซึ่งมีราคาต่ำกว่า

Bai’ al-Istijrar – บัยอ์ อัลอิสติจรอร์ด (การขายส่ง) คือ การขาย ที่ผู้ซื้อผู้ขายตกลงซื้อขายสินค้าเป็นระยะเวลาต่อเนื่องเป็นประจำ เช่นทุกวัน ทุกสัปดาห์ ตามรายการ ราคา จำนวน และวิธีการชำระ สินค้า ที่ระบุไว้ในสัญญา

Bai’ as-Salam – บัยอ์ อัสซะลัม (การซื้อขายล่วงหน้า) คือ การซื้อขาย ที่มีการชำระเงินค่าสินค้าทั้งหมด ณ วันที่ทำสัญญา โดยที่การส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ จะเกิดขึ้นในอนาคตตามรูปแบบ คุณลักษณะ และกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา

Bai’ al-Wafa’ – บัยอ์ อัลวาฟาอ์ (การขายฝาก) คือ การซื้อขายที่มีเงื่อนไขว่า เมื่อผู้ขายชำระเงินคืนค่าทรัพย์สินที่ขายไปแล้ว ผู้ซื้อจะส่งมอบทรัพย์สินคืนให้แก่ผู้ขาย โดยระหว่างที่ทรัพย์สินอยู่ภายใต้การครอบครองของผู้ซื้อ ผู้ซื้อมีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นได้จนกว่าจะมีการซื้อคืน

Ijarah – อิญาเราะฮ์ (การเช่า) คือ การเช่าที่ผู้มีสิทธิในทรัพย์สินตกลงให้อีกฝ่ายหนึ่งเช่าทรัพย์สิน ในอัตราค่าเช่าและระยะเวลาการเช่า ที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน

Ijarah Wal Iqtina – อิญาเราะฮ์วัลอิกตินาอ์ (การเช่าซื้อ) คือ การเช่าที่ผู้มีสิทธิในทรัพย์สินตกลงให้อีกฝ่ายหนึ่งเช่าทรัพย์สิน ในอัตราค่าเช่าและระยะเวลาการเช่า ที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน และเมื่อครบกำหนดการเช่าแล้ว กรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้เช่าทันทีโดยไม่ต้องมีสัญญาจะซื้อเป็นเงื่อนไข โดยอัตราค่าเช่าจะบวกราคาขายเข้าไปด้วย

Ijarah Thumma al-Bai’ – อิญาเราะฮ์ ซุมมา อัล บัยอ์ (การเช่าและซื้อ) คือ สัญญาที่ประกอบด้วยสัญญาเช่า (Ijarah) ซึ่งผู้ให้เช่าตกลงให้เช่าทรัพย์สินแก่ผู้เช่า ในอัตราค่าเช่าและระยะเวลาการเช่าที่ตกลงกัน และสัญญาซื้อ (Bai’) ซึ่งเป็นสัญญาจะซื้อทรัพย์สินจากผู้ให้เช่าในราคาที่ตกลงเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเช่า

Istisna – อิสติสนา (การว่าจ้างทำของ) คือ การซื้อทรัพย์สินตามการสั่งซื้อ และการส่งมอบจะเกิดขึ้นในอนาคต การซื้อขายลักษณะนี้ ผู้ซื้อจะกำหนดให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง (ผลิตหรือทำของ) ส่งมอบทรัพย์สินที่ต้องผลิตหรือจัดทำตามรูปแบบและคุณลักษณะที่ระบุในสัญญา โดยที่ราคาซื้อขายเป็นไปตามที่ตกลงกัน ส่วนการชำระอาจล่าช้าออกไปตามงวดงานก็ได้

Mudharabah – มุฎอเราะบะฮ์ (การแบ่งปันกำไร) คือ สัญญาที่ทำขึ้นระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือเจ้าของทุน (rab al-mal) หรือผู้ลงทุน ซึ่งอยู่ในรูปเงินลงทุนเท่านั้น และอีกฝ่ายหนึ่งคือผู้ประกอบการ/ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจ (mudharib) เพื่อดำเนินธุรกิจกัน กรณีที่ธุรกิจมีกำไร กำไรจะถูกแบ่งกันตามสัดส่วนที่ตกลง หากธุรกิจเกิดขาดทุน ผู้ลงทุนจะต้องรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเงินลงทุน

Murabahah – มุรอบาฮะฮ์ (การขายแบบบวกกำไร) คือ การซื้อขายทรัพย์สิน ที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงชำระราคาต้นที่ถูกเปิดเผยบวกด้วยกำไรที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน

Musharakah – มุชารอกะฮ์ (การเป็นหุ้นส่วนคือ การเป็นหุ้นส่วนระหว่างบุคคล 2 ฝ่ายหรือมากกว่า ในการร่วมทุนดำเนินธุรกิจ โดยที่แต่ละฝ่ายจะต้องลงทุนไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเงิน หรือ ทรัพย์สิน กรณีที่ธุรกิจมีกำไร จะถูกแบ่งกันตามสัดส่วนที่ตกลง หากธุรกิจเกิดขาดทุน จะต้องแบ่งความเสียหายตามสัดส่วนการลงทุนด้วยเช่นกัน

Qardhul Hasan – ก็อดดุล ฮาซัน (เงินกู้ไม่หวังผลตอบแทน) คือ การกู้ ระหว่างบุคคลสองฝ่าย ในลักษณะเป็นการช่วยเหลือเพื่อการเป็นอยู่ที่ดีของสังคม หรือเพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้กู้ที่มีปัญหาทางการเงินระยะสั้น การชำระเงินกู้คืนต้องมีจำนวนเท่ากันกับตอนที่กู้ อย่างไรก็ตามผู้กู้สามารถชำระเงินกู้คืนในจำนวนที่เกินกว่า แต่ต้องไม่มีการระบุหรือตกลงในสัญญา

Bai’ al-Dayn – บัยอ์ อัลดัยน์ (การซื้อขายหนี้) คือ ธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือตราสารหนี้ที่ไม่ขัดกับหลักชะรีอะฮ์ โดยที่หลักทรัพย์หรือตราสารหนี้นั้นเป็นการออกโดยลูกหนี้เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันการเป็นหนี้การค้า

Bai’ Muzayadah – บัยอ์ มุซายาดะฮ์ (การซื้อขายด้วยวิธีประกวดราคา) คือ การขายทรัพย์สินให้กับผู้สนใจจะซื้อด้วยวิธีการประกวดราคา ทรัพย์สินจะถูกขายให้กับบุคคลที่ให้ราคาซื้อสูงที่สุด การซื้อขายลักษณะนี้เหมือนการประมูล

Kafalah – กะฟาละฮ์ (การค้ำประกัน) คือ การจัดทำสัญญาค้ำประกันระหว่างคู่สัญญา กับบุคคลที่สาม เพื่อค้ำประกันภายใต้เงื่อนไขที่ระบุตามสัญญาในระยะเวลาที่ตกลงกันโดยคู่สัญญา

Hibah – ฮิบะฮ์ (การให้) คือ การให้ที่บุคคลหนึ่งประสงค์จะมอบให้อีกฝ่ายหนึ่ง

Hiwalah – ฮิวาละฮ์ (การโอน) คือ การโอนเงิน/หนี้ จากบัญชีผู้โอน/บัญชีลูกหนี้ ไปยังบัญชีผู้รับโอน/บัญชีเจ้าหนี้

Ibra’ – อิบรออ์ (การปลดหนี้) คือ การที่บุคคลหนึ่งถอนสิทธิในการเรียกเก็บเงินทั้งหมดหรือบางส่วนจากอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีหน้าที่ต้องจ่ายหนี้ที่ค้างอยู่

Ittifaq Dhimni – อิตติฟาก ดิมนี (การตกลง) คือ การขาย และการซื้อคืนทรัพย์สินที่มีการตกลงราคากันไว้ล่วงหน้าก่อนที่สัญญาจะเสร็จสิ้น ซึ่งการตกลงนี้ต้องยุติก่อนที่สัญญาจะเสร็จสิ้นเพื่อใช้ในกระบวนการประกวดราคา

Rahnu – เราะฮ์นู (การจำนำ) คือ การที่ลูกหนี้นำทรัพย์สินมีค่ามาวางเป็นหลักประกัน หากเกิดมีการผิดนัดชำระหนี้สามารถนำหลักทรัพย์นั้นไปขายเพื่อชำระหนี้ได้

Ujr – อัจร (ค่าจ้าง) คือ ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากการให้บริการ ซึ่งอาจเป็นรูปแบบของเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง ค่า-นายหน้า เป็นต้น

Wakalah – วะกาละฮ์ (การเป็นตัวแทน) คือ สัญญาซึ่งมอบอำนาจให้กับบุคคลหนึ่ง เพื่อกระทำการแทนตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ตกลงกัน

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s